12 เม.ย. 2023 เวลา 03:00

บ้านอยู่แล้วสบาย สไตล์ Passive วิถีธรรมชาติ

“อยู่สบาย” เป็นคำที่นักออกแบบและเจ้าของบ้านทุกท่านต่างก็ต้องการ การออกแบบบ้านให้ผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วสบาย ก็มีหลายวิธี ทั้งวิธีการแบบที่ใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น แต่วิธีการแบบนี้ก็ค่อนข้างใช้พลังงานสูง และอีกวิธี คือการที่ใช้วิถีทางธรรมชาติหรือแบบ Passive Architecture
.
โดยเป็นการคำนึงถึงผู้คนที่อยู่อาศัย ให้คนในบ้านอยู่อย่างสบายที่สุด เป็นการออกแบบโดยอาศัยธรรมชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศ ทิศทางลมและแสงแดด รวมถึงสภาพแวดล้อมรอบๆ บ้าน ที่จะทำให้คนในบ้านรู้สึกสบาย ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำกันครับ
.
[การวางผังเรือนเป็นเรื่องสำคัญ]
ในระบบการออกแบบของคนไทยสมัยก่อน จะสอนถ่ายทอดกันมานาน ว่าเราจะปลูกเรือนตามตะวัน หรือก็คือการวางด้านยาวของอาคารไปทางตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้ด้านที่รับแสงแดดมีไม่มาก และเป็นการรับลมประจำฤดูกาลของประเทศไทยได้ดี เป็นแนวคิดที่ยังสามารถนำมาใช้ได้จนปัจจุบัน
.
2
[ช่องเปิด และชายคา]
ปัจจัยที่จะช่วยถ่านเทอากาศได้ดี ก็คือการที่มีช่องเปิดกว้าง และวางช่องเปิดที่ตรงกัน จะเป็นการช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดีอีกด้วย เป็นการออกแบบ Ventilation และก็เหมาะกับยุคปัจจุบันที่การป้องกันโรคภัยไข้เจ็บหรือไวรัสต่างๆได้ดี คือการให้ภายในอาคารได้มีการถ่ายเทอากาศ และยังช่วยระบายความชื้นได้ดีอีกด้วย
.
นอกจากนี้การที่มีช่องเปิดกว้างและเยอะ ก็ยังช่วยเรื่องการนำแสงสว่างเข้ามาในอาคารอีกด้วย แต่อย่างไรก็ดี เราก็ต้องมีการระมัดระวังเรื่องของความร้อนและฝนสาดที่มักจะตามเข้ามากับช่องเปิดอยู่เสมอ
.
ปัจจัยการออกแบบเรือนให้มีชายคายื่นยาวจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ในบรรดาอาคารที่ออกแบบให้เหมาะกับสภาพอากาศไทย ทั้งเรือนไทยสมัยก่อน หรือจะอาคารแบบ Tropical Modern ก็จะมีการออกแบบให้อาคารมีชายคายื่นยาวออกไป ช่วยสร้างร่มเงา Shading แก่อาคารและยังเป็นการป้องกันฝนที่ตกหนักของภูมิภาคนี้อีกด้วย
.
[Insulation ฉนวนต่างๆ]
ข้อแนะนำของบรรดาบ้านในต่างประเทศหลัก ๆ มักจะเป็นเรื่องของฉนวนในอาคารเพื่อกันความหนาวเย็นและไม่ต้องเปลืองพลังงานกับฮีตเตอร์มาก แต่ของบ้านเราอาจจะต้องเน้นเรื่องของฉนวนกันความร้อนเป็นหลัก ซึ่งหลายโครงการจะมีการปูฉนวนกันความร้อนที่ใต้หลังคา ป้องกันความร้อนที่อาจเกิดขึ้น
และอีกจุดก็คือการทำเปลือกอาคารเป็นสองชั้น บางโครงการอาจจะมีการทำระแนงเป็นฟาสาดหุ้มรอบอาคาร บางคนก็จะก่อผนังสองชั้น ให้ช่องว่างระหว่างผนังอิฐเป็นฉนวนกันความร้อนอีกประเภทหนึ่ง อากาศที่อยู่ตรงกลางสามารถช่วยทำหน้าที่กันความร้อนได้
.
[การเลือกใช้วัสดุพิเศษเพิ่มเติม]
การเลือกใช้วัสดุก็สำคัญไม่แพ้กัน เช่น การเลือกกระเบื้องของ Kenzai อย่างกระเบื้องรุ่น Thermic Tile ที่มีความโมเดิร์น สวยงาม ทนทาน ทำความสะอาดได้ง่าย เมื่อนำมาประดับที่ผิวภายนอกของอาคาร ก็เป็นกระเบื้องที่ตอบโจทย์การใช้งานและการออกแบบสไตล์ Passive Architecture สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้บ้านของทุกท่านอยู่สบาย
.
ด้วยการออกแบบให้มีช่องว่างตรงกลาง ให้อากาศไหลผ่านได้ สามารถเป็นส่วนหนึ่งของฉนวนกันความร้อนจากแสงแดดที่กระทบที่ผิวภายนอกอาคารได้ ลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคารโดยตรง นอกจากนี้ยังช่วยลดอุณหภูมิความร้อนได้ และยังช่วยปกป้องผิวอาคารได้ดีอีกด้วย
.
และด้วยการออกแบบของเรา ท่านสามารถวางลูกเล่นสร้างแพทเทิร์นและมิติแสงเงากับ Thermic Tile และเงาที่เกิดบนตัวกระเบื้องเหล่านี้เป็นการ Self Shading เป็นอีกส่วนที่ลดความร้อนเข้าสู่อาคารได้อย่างดี
.
1
ทางเพจเราขอขอบคุณข้อมูลและเนื้อหาบางส่วนจาก บ้านและสวน, Breathe, และ Domus และจากบทความจากคุณ Eric Baldwin จาก Architizer
.
หากท่านใดสนใจกระเบื้อง Thermic Tile ของทาง Kenzai สามารถติดต่อสอบถามกับทางเราได้เลยครับ
Tel : 02 692 5080-90
#เคนไซตัวจริงเรื่องกระเบื้องภายนอก
#เคนไซผู้ผลิตกระเบื้องภายนอกรายแรกในไทย
#นึกถึงกระเบื้องภายนอกนึกถึงเคนไซ
#Kenzaiceramics #Floortile #Walltile
โฆษณา