14 เม.ย. 2023 เวลา 17:37

กฎข้อที่ 3 ทำให้ง่าย Atomic Habits

ก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆแค่อย่าถอยหลัง Atomic Habits กฎข้อ 3 ทำให้ง่าย
ปริมาณ หรือ คุณภาพ ?
Jerry Uelsman ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฟลอริดา
ได้แบ่งนักศึกษาในกลุ่มถ่ายภาพเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่ม "ปริมาณ"
ให้นักศึกษาส่งงานถ่ายภาพจนจบการศึกษาตามเงื่อนไข
100 ภาพเกรด A
90 เกรด B
80 เกรด C และลงไปเรื่อยๆ
กลุ่ม "คุณภาพ"
จะเน้นการสอนทางทฤษฎีและถ่ายภาพ1 ภาพเท่านั้นเพื่อแลกเกรด A แต่ต้องเป็นรูปที่มีคุณภาพสูง
ผลลัพธ์คือรูปที่ส่งมาแล้วมีคุณภาพ ล้วนแล้วมาจากกลุ่มนักศึกษากลุ่มปริมาณ
คำถามคือทำไมถึงเป็นแบบนั้น ?
แต่ก่อนตอบคำถามมีนอกเรื่อง
สิ่งที่ดีที่สุดคือศัตรูตัวฉกาจของสิ่งที่ดี
Voltaire ปราชญ์ฝรั่งเศส
แน่นอนว่าการวางแผนนั้นสำคัญพอๆกับการลงมือทำ
ควรออกกำลังกายแบบไหน?
ควรเรียนยังไง ?
ในทางกลับกันเราอาจใช้มันในการเลื่อนการลงมือทำ
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยแก้ไขและพัฒนาอย่างตรงจุด
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่กลัวความผิดพลาดและคำวิจารณ์
ถ้าการวางแผนของเราเป็นการผลัดวันประกันพรุ่งบางทีต้องเปลี่ยนแปลง
การสร้างนิสัยไม่จำเป็นต้องรู้สิ่งที่ดีที่สุดแต่เป็นการทำให้บ่อยที่สุด
นั่นคือความจริงที่หนังสืออยากเล่า
เอาล่ะ !!มาเข้าเรื่อง
เมื่อเราฝึกนิสัยมันคือการเสริมวงจรการสื่อประสาทในส่วนที่สร้างนิสัยให้แข็งแรงขึ้น ว่าง่ายๆคือทำให้เก่งขึ้นและชินจนทำได้อัตโนมัติและมันปรับเปลี่ยนโครงสร้างสมองเราด้วย
Donald Hebb's :เซลล์ประสาทที่ยิงเข้าด้วยกันจะเชื่อมโยงกัน
ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมกลุ่มปริมาณถึงได้รูปที่มีคุณภาพมากกว่า เพราะพวกเขาต้องทดลองเรียนรู้ในหลายๆเทคนิค ซึ่งมันเสริมกำลังวงจรการฝึก
เหมือนกับนักดนตรีฝึกหัดที่รู้สึกว่าเครื่องดนตรีเล่นยากในช่วงแรกและเมื่อการเชื่อมต่อประสาทแข็งแรงจะสามารถเล่นได้แบบไม่ต้องพยายาม
แล้วก็วงจรประสาทที่ว่าจะส่งผลให้สมองเปลี่ยนแปลง เช่น
สำหรับคนขับแท็กซี่ จะมีสมองส่วนHippocampus ที่จำเส้นทางใหญ่กว่าคนปกติอย่างชัดเจน และจะค่อยๆเล็กลงหลังเลิกอาชีพนี้
แทนที่จะถามว่านานแค่ไหนถึงจะเกิดนิสัย ควรเป็นบ่อยแค่ไหน
มีกราฟLearning Curveที่แสดงความอัตโนมัติของนิสัย การเดิน 10 นาทีหลังกินข้าวของผู้ร่วมทดลองและจะเป็นไปตามนี้
ภาพจาก Atomic Habits บท 3
ความอัตโนมัติมี 3 ระดับ
1 .คือต้องฝืน
2.ระดับการฝืนลดลงสามารถทำได้ง่ายขึ้น
3.สามารถทำได้แบบไม่ต้องคิดหรือฝืน
สิ่งที่เรารู้คือนิสัยหรือความสามารถใหม่เกิดขึ้นได้แน่ๆ แต่เราต้องไปอยู่ในจุดที่อัตโนมัติเพื่อให้มันง่าย จนบางทีเราท้อจนเลิกเพราะมันยากเกินไป กฎข้อที่ 3 ทำให้มันง่ายถึงกำเนิดขึ้น
กฎที่ใช้ความพยายามน้อยสุด
40-50%ของพฤติกรรมต่อวันมักเกิดจากนิสัย ซึ่งมนุษย์จะพยายามใช้พลังงานให้น้อยที่สุด (The law of Least Effort) ทำให้นิสัยเสียต่างๆที่เราเป็นจะเห็นได้บ่อยๆ
เช่น ติดโทรศัพท์ เพราะมันใช้พลังงานน้อยและทำง่ายกว่าอ่านหนังสือ และอื่นๆ
การสร้างนิสัยควรจะเริ่มจากอะไรเล็กๆเมื่อเราเคยชินเราจะเพิ่มความหนักจากนั้น
ถึงเป็นแบบนั้นแต่เรามักเห็นการเปลี่ยนแปลงที่หนักหน่วง
ตัวผมเอง 2 ปีก่อนผมอยากอ่านหนังสือ Mastermind :How to think like Sherlock Holmes เป็นไฟล์ PDF 836 หน้าเป็นภาษาอังกฤษเป็นเล่มแรก ตั้งเป้าว่าจะอ่านให้หมด ใน 1 เดือน ต้องอ่านและสรุป 28 หน้า/วัน ซึ่งใช้เวลา 1 ชม.ในการอ่านเก็บข้อมูลให้ครบ
การฝึกอ่านหนังสือของคนที่ไม่เคยอ่านหนังสือเลยมาทั้งชีวิตแล้วมันเป็นภาษาอังกฤษ ที่จะต้องสลับTranslateเรื่อยๆมันหนักเกินไป
ผมยอมแพ้ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2 ปีก่อน แล้วผมสรุปได้แค่ 427 หน้า แทนที่จะเป็น 476
สิ่งที่ผมควรจะทำในตอนนั้นคือการสร้างนิสัยรักการอ่าน การอ่านหนังสือต้องไม่สร้างความทุกข์ให้ผม ผมควรลดเป็นอ่านวันละ 5-15 นาที/วัน แล้วหลังจากเคยชินค่อยเพิ่มความหนักขึ้น
ข้อต่อไปคือการจัดเตรียมสถานที่สำหรับการสร้างนิสัย เราต้องทำให้นิสัยที่อยากสร้างทำง่ายขึ้นและทำให้นิสัยเสียทำยากขึ้น ถ้าอยากวาดรูปบ่อยขึ้นให้เตรียมอุปกรณ์วาดรูปรอไว้ ถ้าอยากปั่นบทความให้เข้าBlockdit รอ
คนสำเร็จเชิดชูในพลังของนิสัย ซึ่งความสำเร็จเป็นเพียงผลลัพธ์สำหรับพวกเขา
เมื่อเวลาที่เราคิดว่าเราผ่านมาเยอะแล้วแต่เมื่อมองถึงผลลัพธ์ที่ต้องการจะเห็นว่ามันยังอีกยาวไกล ซึ่งมันทำให้เราท้อ แต่สิ่งที่ทำให้คนเหล่านั้นเดินต่อคือ นิสัยหรือการทำแบบนั้นคือตัวเขาจริงๆ ที่ไม่ว่ายังไงก็จะทำ
สรุปทุกๆอย่าง
-ความถี่มีผลต่อการสร้างนิสัยมากกว่าเวลา
-มนุษย์จะทำสิ่งที่ง่ายเสมอ
เราต้องทำให้การสร้างนิสัยใหม่มันง่ายขึ้นและทำให้นิสัยเสียทำได้ยากขึ้น
เช่น การจัดห้อง ถ้าอยากวาดรูปให้เตรียมอุปกรณ์วาดรูปไว้ใกล้ๆ หากติดโทรศัพท์ให้วางมันไว้ไกลๆ
-นิสัยควรเริ่มจากสเกลขนาดเล็กพัฒนาจนอัตโนมัติ
และเพิ่มความนานและความหนักหลังจากนั้น
โฆษณา