18 เม.ย. 2023 เวลา 11:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจ เงินเฟ้อ การจ้างงาน สถานการณ์บ้านเมือง

ข้อมูลเน้นๆ คาดการณ์แบบแน่นๆ กับ 10 คำทำนายเศรษฐกิจโลกปี 2023 จากนักเศรษฐศาสตร์ S&P Global Market Intelligence
ที่รวมทุกเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในปีนี้อย่างครอบคลุม
1. COVID-19 จะยังคงแพร่ระบาดต่อไป และกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่ไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกแล้ว
จะเห็นได้ชัดว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบมากมายต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนทรัพยากรและปัญหาการขนส่งโลจิสติกส์ที่ทำให้ต้นทุนของธุรกิจสูงมากขึ้นกว่าในอดีต เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ปี 2023 ปัญหาทรัพยากรและการขนส่งเริ่มลดลง ต้นทุนของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเหล่านี้ก็ควรจะต้องมีราคาที่ถูกลง
ส่วนเรื่องความไม่แน่นอนจากสงครามรัสเซียยูเครนก็ยังคงมีอยู่ และสร้างความ “พรีเมียม” ให้กับราคากลุ่มพลังงาน รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้นไปอีก ซึ่ง S&P Global ก็คาดการณ์ไว้ว่าสงครามนี้ก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยไม่มีสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการบานปลายไปจนถึงต้นเดือนมิถุนายนเป็นอย่างน้อย เนื่องจากข้อตกลงหยุดยิงได้ผล อย่างไรก็ตามข้อตกลงนี้ก็ไม่ได้ส่งผลที่ดีต่อความขัดแย้งและไม่ได้ทำให้ประเทศต่างๆ หยุดการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย
และเมื่อพิจารณาถึงอุปสงค์ (Demands) ทั่วโลกที่ลดลง จะกลายเป็นตัวแปรหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง แต่ถ้ามองในมุมของราคากลุ่มพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากสงครามรัสเซียยูเครน ก็สามารถทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น และเป็นอุปสรรคต่อนโยบายลดเงินเฟ้อเช่นกัน คราวนี้เราก็ต้องมาลุ้นกันว่า ตัวแปรฝั่งใดจะมีน้ำหนักมากกว่ากัน
2. เงินเฟ้อจะลดลงเรื่อยๆ ในปีนี้ แต่ก็ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าที่กลับลงไปอยู่ในจุดที่ธนาคารกลางต้องการ
หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบหลายทศวรรษ เงินเฟ้อทั่วโลกจะชะลอตัวลงเรื่อยๆ จากนโยบายการเงินแบบตึงตัว อุปสงค์ (Demands) ที่ลดลง และปัญหา Supply chain disruption ที่คลี่คลายลงหลังจาก COVID-19
แรงกดดันด้านราคาของสินค้าต่างๆ จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปีนี้ โดยสังเกตได้จากดัชนีราคาวัสดุ (Materials Price Index) ของ S&P Global Market Intelligence ลดลงเกือบ 30% จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงต้นเดือนมีนาคม ด้านราคาสินค้าเกษตร ก็อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการปรับฐานลงและมีแนวโน้มลดลงตลอดปี นำโดยราคาธัญพืช และสุดท้ายคือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง ส่งผลต่อให้ต้นทุนของสินค้าต่างๆ ลดลง
แต่ปัญหาที่เป็นอุปสรรคของการผ่อนคลายเงินเฟ้อคือ “ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน” และ “ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น” โดยเฉพาะในกลุ่มการบริการ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายปีในการแก้ไขปัญหา และทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาสู่ระดับที่ธนาคารกลางต้องการอย่างยั่งยืน โดยมีแนวโน้มผ่อนคลายลง จนเหลือประมาณ 5% ในสิ้นปีนี้
3. นโยบายการเงินทั่วโลก จะถูกคุมเข้มภายในเดือนมิถุนายน ด้วยการเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาคอย่างมาก
โดยคาดว่าในสหรัฐอเมริกา อัตราเงินกองทุนของรัฐบาลกลาง (Federal funds rate) จะมีจุดสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 5%
ต่างจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะแม้ปรับลดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา แต่คำแนะนำที่ตามมาจากเอกสารของธนาคารนั้นดูจะไปในทางรุนแรง (Hawkish) กว่าที่เราคาด โดยแนะนำว่าควรจะมีการขึ้นดอกเบี้ยต่อไปในปี 2566
นอกจากนี้ นโยบายการเงินของแต่ละประเทศก็กำลังดำเนินต่อไปเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นแถบลาตินอเมริกา ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2021 คาดการณ์ว่าธนาคารกลางบราซิลจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในกลางปี 2566
4. เกิด Recession (เศรษฐกิจถดถอย) ในอเมริกาและยุโรปแน่ แต่ไม่รุนแรง และเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิกจะช่วยป้องกันภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกได้
ในสหรัฐอเมริกา อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและตลาดแรงงานที่ตึงตัวเป็นพิเศษ จะกระตุ้นให้เกิดการคุมเข้มทางการเงินอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสูงขึ้น ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเอกชนและการจำนองที่กว้างขึ้น การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ราคาหุ้นตกต่ำลง ราคาบ้านและตลาดการเงินมีความผันผวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
1
อย่างหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจอเมริกาและยุโรปฟื้นตัวได้ช้า ถดถอยได้นานกว่าคือความล่าช้าของนโยบายการเงิน ต่างจากทางฝั่งเอเชียแปซิฟิกที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า
คาดการณ์ว่าเอเชียแปซิฟิกจะเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในปี 2023 ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกไม่ถดถอยตามสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป
5. ตลาดที่อยู่อาศัยยังคงอ่อนแอลง จากอัตราสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่สูงขึ้น แต่ราคาอสังหาจะไม่ลดลงอย่างรุนแรง
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังคงสูงขึ้นในปี 2023 นี้ ผลที่ตามมาก็คือการกู้บ้านซื้อบ้านเพื่อเก็งกำไรไม่คุ้มค่ากับผลตอบแทนอีกต่อไป
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤติค่าครองชีพทำให้อุปสงค์ต่ออสังหาลดลง และทำให้ราคาลดลงในปีนี้ โดยเฉพาะในตลาดที่ตั้งราคาไว้เกินกว่ามูลค่าพื้นฐานที่ควรจะเป็น
1
แต่หากถามว่าจะเกิด Market crash หรือฟองสบู่อสังหาหรือไม่ ทาง S&P Global ก็ไม่ได้คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น แต่สถานการณ์ในประเทศที่มีอัตราการว่างงานสูงก็จะได้รับผลกระทบที่มากขึ้น เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย
6. ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงในปี 2023 แต่จะยังคงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ด้วยดอกเบี้ยเงินฝากที่เอื้ออำนวย และการโยกเงินไปสู่ที่ปลอดภัยของนักลงทุน ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2022 แตะระดับสูงสุดก่อนที่จะเริ่มอ่อนค่าลงในปี 2023 จากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมากของสหรัฐฯ และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
7. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปีนี้ จะส่งผลต่อการเติบโตของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนา (EMDEs)
ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว, ความเสี่ยงผิดชำระหนี้ของผู้กู้เงินในประเทศที่มีมากขึ้น และการปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐมีมากขึ้น จะส่งผลต่อการเติบโต GDP ของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนา (EMDEs) เช่น แซมเบีย มาลาวี และเบลารุส
นอกจากนี้ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีนโยบายการเงินที่รอบคอบมากขึ้น เป็นผลมาจากการประสบวิกฤตการณ์การเงินในช่วงปลาย 1990s ทำให้มีระดับหนี้ที่อยู่ในระดับที่จัดการได้
ส่วนประเทศยุโรปเกิดใหม่จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจแถบยูโร และผลกระทบต่อเนื่องจากสงครามรัสเซียยูเครน
8. นโยบายความมั่นคงของจีนจะถูกผ่อนคลายลง และทำให้เศรษฐกิจฟื้นฟูเร็วขึ้น
หลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 รัฐบาลจีนมีการเน้นสร้างสมดุลของนโยบาย เพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้าของประชาชนต่อมาตรการกักกัน ทำให้ตลาดการเงินมีความคึกคักมากขึ้น และมีแนวโน้มของการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ
9. Supply chain disruptions จะถูกคลี่คลายลงในปี 2023 แต่การขาดแคลนแรงงานจะยังคงอยู่
บทเรียนหนึ่งจากการระบาดของ COVID-19 คืออุปทานของสินค้าทั่วโลกไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบอย่างไม่คาดคิด นำไปสู่การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply chain disruptions
แต่ในปัจจุบันนี้ มีการคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุโรปและอเมริกาที่คาดการณ์ไว้ จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้
จากข้อมูล PMI™ ของ S&P Global แสดงให้เห็นว่าระยะเวลาในการส่งมอบสินค้าของซัพพลายเออร์ทั่วโลกลดลงอย่างมากจากจุดสูงสุดในช่วงต้นปี 2022 นั่นแปลว่าอุปสงค์ อุปทานมีความสมดุลกันมากขึ้น, ปัญหาสินค้าขาดแคลนลดน้อยลง
10.การขาดแคลนแรงงานจะยังคงเป็นความท้าทายของธุรกิจในปี 2566 แม้ว่าจะมีคนว่างงานมากขึ้นก็ตาม
1
ประเทศที่ต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติอย่าง สหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรปตะวันตก และออสเตรเลีย จะเริ่มเห็นทางสว่างจากการกลับมาของแรงงานต่างชาติ แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้
นอกจากนี้ แรงงานในประเทศที่ย้ายออกจากเมืองอุตสาหกรรมไปสู่พื้นที่ชนบทในช่วงการระบาดของ COVID-19 ก็กำลังค่อยๆ ย้ายกลับเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมอีกครั้ง เว้นแต่กลุ่มประเทศอาหรับในตะวันออกกลางที่ยังต้องการแรงงานต่างชาติจากแอฟริกาตะวันออกและเอเชียใต้สูงมาก เนื่องจากแรงงานในประเทศไม่เพียงพอ
อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจคือกลุ่มประเทศยุโรปเกิดใหม่ ที่มีผู้อพยพจากรัสเซียและยูเครนเข้ามาในประเทศมากมาย ทำให้ประเทศเหล่านี้ (ลัตเวีย, โรมาเนีย, บัลแกเรีย, สาธารณรัฐเช็ก, ฮังการี, สโลวีเนีย, สโลวาเกีย) มีแรงงานที่มีศักยภาพในประเทศจำนวนมาก แต่มีต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ราคาค่าจ้างจะพุ่งสูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้
ลูกจ้างทั่วโลกยังคงต้องเจอกับการพักจ้างงาน โดยไม่เลิกจ้าง ซึ่งกลายมาเป็นปัญหาในปี 2023 เนื่องจากนายจ้างส่วนใหญ่พยายามรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้ ปัญหาการตกงานจึงจะกระจุกตัวอยู่ในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อ เช่น อสังหาริมทรัพย์และการเงิน
โฆษณา