19 เม.ย. 2023 เวลา 02:55 • การศึกษา

🎯 ขั้นตอนในการคำนวณโหลดวงจรย่อย 1 เฟส

👉 Step 1 คำนวณหากระแสโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าในวงจรย่อยนั้น โดยจะแทนด้วยตัวอักษรค่ากระแสโหลดที่ได้ด้วย Ib
👉 Step 2 เลือกขนาดค่า AT ของเบรกเกอร์วงจรย่อย (ซึ่งค่า AT จะมากกว่าค่ากระแสโหลดที่คำนวณได้ Ib) โดยจะแทนด้วยตัวอักษร In ครับ
👉 Step 3 เลือกชนิดของสายไฟ-รูปแบบการเดินสาย เช่น สาย IEC01 ในท่อ หรือ สาย VAF เดินตีกิ๊ปเกาะผนังอาคาร เป็นต้น
1
👉 Step 4 พิจารณาค่าตัวแปรอุณหภูมิโดยรอบ Ca ( โดยทั่วไปหากติดตั้งรูปแบบการเดินสายในอาคารทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในห้องเย็นหรืออยู่ในฉนวนกันความร้อน จะแทน Ca = 1 ) , พิจารณาค่าตัวแปรจำนวนสายวงจรในท่อสายเดียวกัน Cg ( ในการออกแบบและคำนวณโหลดจะนิยมออกแบบให้ 1 วงจรย่อยใน 1 ท่อร้อยสาย เพื่อง่ายต่อการคำนวณโดยให้ค่า Cg = 1 ครับ แต่หากในการออกแบบต้องการให้ใน 1 ท่อร้อยสายมีวงจรย่อยมากกว่า 1 วงจร จะต้องเปิดตาราง วสท. เพื่อแทนค่า Cg ใหม่ )
👉 Step 5 คำนวณกระแสสายไฟฟ้า โดยจะแทนด้วยตัวอักษร It ซึ่งค่า It จะต้องมากกว่าค่า AT ของเบรกเกอร์วงจรย่อย In
👉 Step 6 เมื่อได้ค่ากระแสสายไฟฟ้าจากการคำนวณ It จึงมาเปิดค่ากระแสสายไฟจากตารางในหนังสือ วสท. โดยแทนด้วยตัวอักษร Iz ซึ่งค่ากระแสสายในตารางจะต้องมากกว่าค่ากระแสสายไฟฟ้าที่ได้จากการคำนวณครับ ( ขนาดสายไฟที่ได้จากการเปิดตารางในหนังสือ วสท. เราก็จะได้ขนาดสาย L และ สาย N ของวงจรย่อยนั้นครับ )
👉 Step 7 หากจะหาขนาดสายดินของวงจรย่อยนี้ ( มาตรฐานจะเรี่ยกสายดินวงจรย่อยนี้ว่า " สายดินของบริภัณฑ์ " ) ให้เปิดตารางในหนังสือ วสท. ในตารางที่ 4-2 ต่อไปครับ
👉 แหล่งข้อมูลอ้างอิงจาก
🎯 หนังสือมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ฉบับ พ.ศ.2564 (ฉบับแก้ไขล่าสุด พิมพ์ครั้งที่ 2)
🎯 หนังสือการออกแบบระบบไฟฟ้า อ.ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์
🎯 แพ็คคู่สุดคุ้ม หนังสือมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า 2564 และหนังสือการออกแบบระบบไฟฟ้า อ.ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์
📌 สั่งซื้อแพ็คคู่ Shopee https://shope.ee/1VSR1B3mGh
👉 คลิปตัวอย่างการคำนวณ https://youtu.be/ibotbvCqwjU
โฆษณา