23 เม.ย. 2023 เวลา 08:57 • การศึกษา
ผมชอบที่จะมองแบบนี้ครับ
1) ผมเองไม่ได้เรียนมาทางด้านเศรษฐศาสตร์ แต่ขอยกทฤษฎีพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์มาอธิบายตัวเอง คือ
- “เพียงพอ”
“เพียง” มาก่อน “พอ”
นั่นคือ “เพียงแค่พอ”
นั่นคือ เมื่อคุณพิจารณา “เส้นอุปสงค์” คุณจะเห็นว่า “เส้นอุปทาน” ของคุณอยู่ตำ่กว่า “เส้นอุปทาน” อยู่เพียงเล็กน้อยหรือ “เส้นอุปสงค์” จะทาบทับเส้นอุปทาน “พอดี”
1
หรือ
“อุปทานน้อยกว่าหรือเท่ากับอุปสงค์”
นั่นเอง
ถ้าใช้ภาษาอังกฤษก็น่าจะใช้
“Supplies meet demands.”
- “พอเพียง”
“พอ” มาก่อน “เพียง”
ต้อง “พอ” ก่อน แล้วถึงจะ “เพียง”
นั่นคือ
“อุปทานมีค่าเท่ากับหรือมากกว่าอุปสงค์เป็นอย่างน้อยๆ”
หรือ
“Supplies meet and exceed demands.”
นั่นเอง
ซึ่งอาจสรุปเป็นสูตรได้ว่า
อุปทาน + Safety factor >= อุปสงค์
โดย Safety factor คือ
ค่าที่ “เผื่อ” เอาไว้เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะ
1
“พอเพียง”
อย่างแน่นอน
ผมขอยกตัวอย่างดังนี้ครับ
1) “แบตเตอรี่มือถือ”
สมมุติว่าผมกำลังจะใช้ smartphone ของผมท่องโลก social media platforms ต่างๆ เอาเป็นว่าคือ platform นี้
• ถ้าผมพิจารณาแล้วว่า ผมมี “ความต้องการ” ในการ “อ่าน” หรือ “ชมภาพ” เท่านั้น
ระดับแบตเตอรี่ของโทรศัพท์ของผมที่ประมาณ
50% (SOC: state of charge)
น่าจะ “เพียงพอ”
แต่ถ้าหากผมพิจารณาแล้วว่า
มีความเป็นไปได้สูงที่นอกจากผมจะ “อ่าน” และ “ชมภาพ” แล้ว
ผมอาจจะ “ชมคลิป” ด้วย!
“SOC” ของแบตเตอรี่น่าจะอยู่ที่ประมาณ
80%
จึงจะ “พอเพียง”
2) “ซื้อหุ้น”
สมมุติว่าราคาหุ้นตัวที่คุณกำลังจับตามองอยู่และคุณสนใจที่จะซื้อเก็บเข้า port ของคุณ มีราคา 15 บาทต่อหุ้นในขณะนั้น
- ณ ราคา 10 บาท คือราคา “เพียงพอ” ที่คุณคิดคำนวณแล้วว่า คุณสามารถรับความเสี่ยงได้
- แต่เมื่อคุณได้ข้อมูลว่า แนวโน้ม “อัตราเงินเฟ้อ” มีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะยาว
คุณจึงคิดที่จะ “ชดเชย” ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อด้วยระดับราคาของหุ้นตัวเดิมใหม่จาก
10 บาท ไปเป็น
8 บาท เป็นราคาใหม่ที่คุณจะตัดสินใจซื้อ
เพื่อความ “พอเพียง” กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น!
โฆษณา