25 เม.ย. 2023 เวลา 03:07 • ประวัติศาสตร์

ทำไมวลี Feel Blue ถึงถูกใช้แทนความหมายหม่นเศร้า ?

หลายครั้งเวลาฟังเพลงเรามักได้ยินวลีที่แทนอารมณ์ความรู้สึกหม่นเศร้า ด้วยการพาเราดำดิ่งลงไปในสีน้ำเงิน เช่น “Feel blue" หรือ “We have the blues" ซึ่งเมื่อฟังแล้วหลายคนก็พอจะจินตนาการตามถึงความรู้สึกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
🔵 ตัวแทนความเศร้าโศก และตรอมตรม
ถ้าลองย้อนกลับไปดูต้นตอเท่าที่พอจะหาได้ วลีสมัยนี้ปรากฎครั้งแรกเมื่อปี 1785 ในหนังสือ A Classical Dictionary of the Vulgar Tongue โดย Francis Grose โดยให้นิยามไว้ว่า [ to look blue ] หมายถึง ท่าทางสับสน ตื่นตระหนก หรือผิดหวัง
หลังจากนั้นสีน้ำเงิน ก็ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นตัวแทนความเศร้าโศก และตรอมตรมอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 อย่างเช่นปรากฏการอ้างอิงถึงคำ "feeling blue" และ "to have the blue devils" ขึ้นมากมายในหมู่นักเขียนอเมริกัน
🔵 ทฤษฎีความเชื่อมโยง ?
หลายคนมองว่าการที่สีน้ำเงินถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ความเศร้าโศกมากจากการที่คนเราเมื่อเสียชีวิต ริมฝีปากจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินคล้ำ ที่สร้างความโศกเศร้าให้เหล่าคนรอบตัว
อีกทฤษฎีหนึ่งระบุว่าเชื่อมโยงเข้ากับการสูญเสียกัปตันให้กับท้องทะเล ในระหว่างการเดินเรือ เมื่อเดินทางกลับท่าเรือก็จะมีการทาสีลำตัวเรือด้วยสีน้ำเงิน รวมถึงชักธงสีน้ำเงินขึ้นเป็นสัญลักษณ์ด้วย
หรืออีกมุมมองจากนักประวัติศาสตร์ Patrick J. Mahoney ที่ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำนี้อาจมาจากวาทกรรมของเหล่าผู้ต่อต้านศาสนาในศตวรรษที่ 18 ที่เปรียบเทียบคำว่า “to be blue” เข้ากับการเป็นลัทธิพิวริตันในนิวอิงแลนด์ ซึ่งมีความคร่งครัด หมองหม่น เข้มงวดกับความเชื่อของศาสนามากจนเกินไป
🔵 ถูกนำไปใช้ในหลากหลายแขนง
การนำสีน้ำเงินไปเป็นตัวแทนของอะไรบางอย่างยังมีการต่อยอดออกไปมากมาย ซึ่งอาจไม่ได้สื่อถึงความเศร้าโศกโดยตรง เช่น หลายคนเชื่อว่าเป็นที่มาของ ‘เพลงบลูส์’ ที่เราฟังกันในปัจจุบัน
หรือคำว่า "blue devils" ที่โยงไปเกี่ยวข้องกับภาพที่เกิดจากอาการประสาทหลอนของคนที่กำลังถอนการเสพติดแอลกอฮอล์ ซึ่งเชื่อมโยงกับกฎหมาย "บลูส์ลอว์" ในบางรัฐของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นบทบัญญัติห้ามขายแอลกอฮอล์ในวันอาทิตย์
source: The Color Code, สำนักพิมพ์มติชน
#Artof #Color #ศาสตร์สี
โฆษณา