27 เม.ย. 2023 เวลา 07:48 • การศึกษา

แรงบันดาลใจ ความฝัน อุปสรรค

ฟังเสียง 3 เยาวชนหญิง 🙋‍♀️ กับความท้าทายในการเข้าสู่วงการเทคโนโลยี 💻
#GirlsinICT #TrueBlog #Safeinternet
#True #dtac
ในห้องเรียน E-AI ของณัชชาถูกออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมศึกษาต่อในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องมีสัดส่วนผู้หญิงราว 1 ใน 3 ขณะที่จากประสบการณ์ของเธอในค่ายสตาร์ทอัพระดับมัธยมศึกษาพบว่า งานด้านเทคโนโลยีส่วนใหญ่ผู้ชายเป็นผู้พัฒนา ผู้หญิงดูแลเรื่องการบริหารจัดการ
“สังคมไทยยังค่อนข้างมีการเหมารวมในการประกอบอาชีพหรือ career stereotypes อยู่ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่ผู้ชายมีสัดส่วนสูงกว่าผู้หญิงมาก ซึ่งในความเป็นจริง ทุกเพศสามารถประกอบอาชีพตามความถนัดและความสนใจของตัวเองได้อย่างอิสระ ทุกคนต่างมีคุณค่าต่อสังคมในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป”
แม้ประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าเชิงเสรีภาพในการเลือกประกอบอาชีพมากชึ้น โดยจากรายงานเรื่อง STEM Education for Girls and Women: Breaking Barrier and Exploring Gender Inequality in Asia ทาง UNESCO ระบุว่า ประเทศไทยมีนักวิจัยด้าน STEM ที่เป็นเพศหญิงสัดส่วนสูงถึง 53% นำหน้าประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นที่ 15% และเกาหลีใต้ที่ 18% แต่เมื่อพิจารณา STEM ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลหรือวิศวกรรมแล้ว กลับพบว่า สัดส่วนการเลือกเรียนของผู้หญิงมีน้อยกว่าเพศชายมากอย่างมีนัยสำคัญ
“การศึกษาด้าน STEM นั้นจำเป็นต้องบูรณาการหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน จากการทำงานของผู้คนหลากหลายมุมมอง เพื่อพัฒนาเป็นนวัตกรรมและโซลูชันต่างๆ ซึ่งจะช่วยสร้างประโยชน์แก่ผู้คนจำนวนมาก เรามองว่าสังคมควรผลักดันหรือเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้เข้าสู่สนามเทคโนโลยีมากขึ้น ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมโดยไม่มีมิติทางเพศเป็นอุปสรรคในการเลือกสายการเรียนหรือการเข้าสู่ตลาดเเรงงาน” กชพร อธิบาย
“สายวิศวกรรมและเทคโนโลยี ผู้หญิงมีสิทธิเข้าถึงได้น้อยกว่า จากอุปสรรคต่างๆ ทั้งด้านทัศนคติของสังคมต่อผู้หญิงในสายวิศวกรรม การเข้าสู่ตลาดเเรงงาน ความเหลื่อมล้ำของรายได้ระหว่างเพศ ทำให้การเลือกเรียนสายวิศวกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ในผู้หญิงน้อยกว่าผู้ชายมาก ภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนในการผลักดันผู้หญิงเข้าสู่สนามแรงงานด้านเทคโนโลยีมากขึ้น ส่งเสริมการศึกษาด้านเทคโนโลยีในผู้หญิง เพื่อให้เทคโนโลยีถูกออกแบบให้สอดรับกับความต้องการของกลุ่มคนที่หลากหลายในสังคม"
โฆษณา