28 เม.ย. 2023 เวลา 11:30 • ความคิดเห็น

"เราทำงานนี้ไปเพื่ออะไร"

"ถ้างานที่ทำอยู่ไม่ได้สร้างรายได้ที่น่าพอใจ
มันก็ควรให้ความรู้หรือประสบการณ์ที่นำไปต่อยอดได้"
ครั้งหนึ่งในช่วงที่เริ่มทำงานหลังเรียนจบใหม่
พอมาถึงจุดหนึ่งที่เราเหนื่อยกับงานประจำ
ไม่ว่าจะทำอะไรก็ดูเหนื่อยหมดพลังงาน ไม่มีใจอยากทำไปซะหมด
แต่ในสถานการณ์นั้นก็ทำให้ผมได้อยู่กับตัวเอง
ได้จดหลายสิ่งที่เพื่อคุยกับตัวเองในกระดาษ
จนได้คำถามที่ว่า "เราทำงานนี้ไปเพื่ออะไร"
พร้อมกับได้เงื่อนไขสั้นๆคือ
"ถ้างานที่ทำอยู่ไม่ได้สร้างรายได้ที่น่าพอใจ
มันก็ต้องให้ความรู้หรือประสบการณ์ที่นำไปต่อยอดได้"
คราวนี้ก็มาลงลึกถึงคำว่า "รายได้ที่น่าพอใจ" จากประโยคข้างบน
ผมเตือนตัวเองเสมอว่า ไม่ควรเอาคำว่า "พอใจของเรา" ไปเทียบกับคนอื่น
เพราะไม่ว่ายังไงไม่มีทางเท่ากันทุกๆด้าน
แต่ให้เอาผูกไว้กับเป้าหมายที่เราอยากเป็นจริงๆ
อาจจะเป็นในเชิงตัวเลขหรือเวลา
เช่นว่า จะเก็บเงินให้ได้ 1 แสนบาทในปีนี้เพื่อจะซื้อบางสิ่ง
แต่ ณ ปัจจุบัน เงินคงเหลือจากรายรับแต่ละเดือนยังไม่เกิน 5000 บาท
ซึ่งเมื่อรวมกับโบนัสแล้วยังไงก็ไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
อันนี้เรียกว่า "รายได้ที่ไม่น่าพอใจ"
ทีนี้จะได้มาอีก 2 ทางเลือก คือ 1. หาทำสิ่งอื่นที่สร้างรายได้เพิ่ม
ถ้ายังพบว่างานนี้มอบความรู้และประสบการณ์ที่เรายังเอาไปต่อยอดได้
หรือ 2.ลาออกจากงานนั้นไปซะแล้วหางานใหม่ที่ตอบโจทย์
ก็มีคำถามกับตัวเองอีกว่า
ถ้าเลือกลาออกแล้วก็จากการมีรายได้แบบกะทันหันเลยสิ
ใช่ครับ ผมกำลังกลัวการเปลี่ยนแปลงทั้งที่อยากเปลี่ยนแปลง
และเห็นชัดเจนแล้วว่างานที่ทำอยู่
ไม่ตอบโจทย์เงื่อนไขทั้งสองข้อที่ตั้งไว้ตอนแรกเลย
เดี๋ยวก็อ้างว่า ที่ที่อยากไปต้องใช้คะแนน TOEIC เข้า
หรือกลัวจะสัมภาษณ์สู้ candidate ท่านอื่นไม่ได้
ผมตบความกังวลเหล่านั้นด้วยคำว่า
"นั้นคือเรื่องของตัวผมเอง"
เพราะเงื่อนไขที่ว่า คะแนน TOEIC หรือ การสัมภาษณ์
มันขึ้นอยู่กับตัวผมเอง
และมันสามารถฝึกฝนกันได้
พอได้วางตารางเรียนรู้เพิ่มเติมในแง่ของทักษะภาษา
และได้ลองเรียนรู้การทำ Resume และได้เข้าสัมภาษณ์
ความมั่นใจก็เริ่มมากขึ้น
จนได้เข้าทำงานที่เนื้องานเป็นสิ่งที่ผมอยากนำมันไปต่อยอดจริงๆ
ทีนี้มาพูดในแง่ของที่ที่ รายได้เยอะจริง
แต่เนื้องานไม่ได้เป็นยาใจให้กับเราเลย งานต้องทนทำไปให้พ้นวัน
ก็ยังคงต้องมีเป้าหมายระยะยาวที่เราจะหยิบยกมันมาใช้เสมอ
เป้าหมายที่จะถูกขับเคลื่อนด้วยเงินรายได้จากงานประจำเหล่านั้น
แต่อย่าลืมว่า ต้นทุนที่เป็นตัวเงินไม่ใช่ต้นทุนหลักเสมอไป
ยังมีต้นทุนทางความรู้ในสิ่งนั้นๆด้วยที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย
ซึ่งระหว่างนี้เราก็สามารถหาแหล่งความรู้ได้
แถมจะได้ประโยชน์ทางใจด้วยคือ
มันจะทำให้เรารู้ว่าเราทำงานประจำที่มีรายได้สูงนี้ไปเพื่ออะไร
และเวลาว่างเราก็ไม่ได้ทำให้ไร้ค่า
ด้วยการเติมความรู้ในเป้าหมายระยะยาวที่อยากทำเข้าไป
อ่านถึงตรงนี้
ถ้ามีปัญหาเหมือนกับประสบการณ์ของแอดมิน
ให้ลองถามตัวเองด้วยประโยคในภาพ เอาให้ชัดเจนไปเลย
อย่างแย่ที่สุดถึงจะกำลังอยู่ในงานที่ไม่ตอบโจทย์เงื่อนไขทั้งสองข้อ
และไม่สามารถสมัครที่ใหม่ได้ด้วยคุณสมบัติที่ยังไม่ถึง
ก็ทำให้เราได้รู้ว่า เราควรเพิ่มเติมความรู้ที่จุดไหน
ซึ่งการทำให้ตัวเองได้เรียนรู้เพิ่ม
ผมว่ามันก็ไม่ได้แย่นะ
ไม่ว่าจะทำอะไร #เริ่มซักที
โฆษณา