29 เม.ย. 2023 เวลา 18:56 • การเมือง
การเมืองของไทย ยาวมากๆอ่านให้จบเด้อ แบบภาพรวม เพื่อความเข้าใจที่ง่ายชัดเจน
ขออธิบายง่ายๆตามแบบฉบับของผมนะครับ ก่อนอื่นต้องเข้าใจระบบการปกครองของประเทศก่อน ว่าประเทศเราปกครองแบบไหน
ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
และการจะเป็นประเทศ ที่อารยะประเทศต่างยอมรับได้นั้น ก็จะต้องมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญคืออะไร
รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นบทบัญญัติที่สร้างขึ้น เพื่อบอกว่ารัฐบาลจะทำงานอย่างไร และเป็นแม่แบบของการออกกฎหมายต่างๆ และจะต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ
1
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นฉบับปี 60 มีทั้งหมด 16 หมวด
ยกตัวอย่างเช่น
หมวด 1 บทบัญญัติทั่วไป
มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
1
มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระและหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ และความผาสุกของประชาชนโดยรวม
อย่างนี้เป็นต้นนะครับ
และระบบประชาธิปไตย ก็คือ
การปกครองโดยมวลชน หรือการปกครองโดยผู้ถูกปกครองนั่นเอง หรือพูดง่ายๆว่าระบบที่ประชาชนปกครองตัวเองครับ
1
โดยผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า การเลือกตั้ง เพื่อเลือกคนไปทำงานอาชีพที่เรียกว่าผู้แทนประชาชน มีหน้าที่ไปออกเสียงในที่ประชุมแทนเรา
ระบบประชาธิปไตย การเลือกตั้งนั้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และขาดไม่ได้ 
นี่คือการปกครองด้วยเสียงส่วนใหญ่ 
และจะต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเสียงส่วนน้อยด้วย หมายความว่าทุกคนเท่าเทียมกัน ภายใต้กฎหมาย
ความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย ยังรวมถึงการปกป้องสิทธิที่จะคิด ที่จะพูด ที่จะแสดงออกของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายชนะการเลือกตั้ง หรือฝ่ายแพ้การเลือกตั้ง โดยไม่เกี่ยงว่าคนๆนั้นจะเป็นเพศอะไร อายุเท่าไหร่ ผิวสีอะไร จะจน จะรวย จะโง่ จะฉลาด จบสูง หรือไม่ได้เรียนหนังสือ ทุกคนต้องได้รับการปกป้องความคิด ความเชื่อ อย่างเท่าเทียมกันครับ
ประชาธิปไตยที่แข็งแกร่ง ก็จะต้องสามารถรับประกันความเห็นของทุกคนได้ ว่าจะไม่มีการบังคับ หรือบีบให้คนส่วนน้อยหายไป หรือต้องคิดตามคนส่วนใหญ่อยู่ตลอดเวลาเสมอ และการจะทำแบบนั้นได้ มันก็ต้องมีรัฐธรรมนูญที่รับประกันว่า เราคิดได้พูดได้ ไม่ต้องถูกจับ ไม่ต้องถูกคุกคามด้วย
ยกตัวอย่างเช่น
1
ในรัฐธรรมนูญ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 34 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การกำจัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะ เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน
2
เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความคิดเห็นต่างของบุคคลอื่น
2
อย่างนี้เป็นต้นนะครับ
การทำงานของรัฐบาล
1 ผู้แทนของเรา หรือ สส. ที่ประชาชนต้องเป็นคนเลือกให้เขาเข้ามาอยู่ในสภา ซึ่งฝ่ายที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ก็ต้องทำหน้าที่ออกกฎหมายตามนโยบายที่ตัวเองได้หาเสียงไว้ โดยการออกกฎหมายต่างๆจะต้องมีฝ่ายค้านคอยคัดค้าน เพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้น และตรวจสอบด้วย เพื่อไม่ให้ฝ่ายที่ออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มีการโหวตเสียงในสภาในการออกกฎหมายตามวาระที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพื่อความโปร่งใสและจะต้องมีการตรวจสอบได้ด้วย
2
2 การบริหารและใช้กฎหมาย
ซึ่งก็คือนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ที่อยู่ในทำเนียบเป็นผู้บริหารสูงสุด ได้รับการเลือกมาจากประชาชน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม อย่างเช่นประชาชนโหวตเลือกมาโดยตรง หรือเลือกจากหัวหน้าพรรคที่ได้รับเสียงสนับสนุนสูงสุด อันนี้ก็แล้วแต่การออกแบบ ในกรณีของประเทศไทย ใช้สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 250 คน ในการพิจารณาเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจากผู้ที่มีชื่ออยู่ คือ สส. บัญชีรายชื่อจากพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้ง
2
หมายเหตุ
สมาชิกวุฒิสภา 250 คน
ชื่อย่อเรียกว่า สว. 250
มาจากบทเฉพาะกาล ของรัฐธรรมนูญใหม่ที่ถูกการทำรัฐประหาร หรือเรียกง่ายๆว่าการก่อกบฏยึดอำนาจเข้ามา จากคณะคสช. ชื่อเต็มคือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ทำการคัดสรร สว. 250 ที่ไม่ได้มาจัดการเลือกตั้ง หรือกระบวนการประชาธิปไตย เพื่อใช้เป็นกลไกในการสืบทอดอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี และอำนาจในการพิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ ต้องผ่าน สว. 250 ด้วย
1
3 ตุลาการ และ ศาล
มีหน้าที่รักษากฎหมายตามรัฐธรรมนูญให้ประชาชน ซึ่งกฎหมายที่ว่าต้องใช้กันอย่างถ้วนหน้าเท่าเทียมเสมอกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใครใหญ่โตมาจากไหน ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย โดยไม่เลือกปฏิบัติ หรือ 2 มาตรฐาน
1
และรับประกันว่า อำนาจจะยังคงอยู่กับคนส่วนใหญ่ ก็คือต้องผ่านการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ระหว่างอำนาจ 3 ฝ่าย สำคัญมากที่ต้องไม่ให้ 3 อำนาจนี้ไปตกอยู่กับคนๆเดียว หรือคนกลุ่มเดียว เพราะจะเกิดการฮั้วกันทันทีเลย
3
หมายเหตุ 
ยกเว้นพระมหากษัตริย์
เพราะในรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 ระบุว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล
ซึ่งหมายความว่าพระมหากษัตริย์ อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุด สามารถมีพระบรมราชโองการได้ตามใจ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหา หรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้ มีพระราชอำนาจที่จะสถาปนาหรือถอดถอนฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวด 2
การเมืองนั้นในรัฐธรรมนูญ
เป็นเรื่องของทุกคน เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม เด็กอยากจะมีส่วนร่วมก็มีได้ และการเมืองไม่ใช่เริ่มที่ผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ทว่าการเมืองนั้น เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ว่าแม่สามารถทำแท้งได้ไหม หรือแม้แต่ตอนที่ลงโลงศพ การเมืองยังเข้าไปเกี่ยวข้อง จะเผาได้ที่ไหน จะฝังได้ที่ไหน มรดกจะต้องแบ่งยังไงบ้าง
4
แถมอีกนิดนะครับ
รัฐธรรมนูญและในมาตราสุดท้าย เป็นบทเฉพาะกาล ลองไปหาอ่านดูนะครับ คุณจะเข้าใจถึงความอลหม่านสับสน ที่ซุกซ่อนเงื่อนไขบางอย่างไว้ บทเฉพาะกาล มาตรา 279 เป็นมาตราสุดท้าย เปรียบเสมือนลิควิดเปเปอร์ ที่ไปลบมาตราอื่นๆทิ้งหมดได้ครับ เมื่อเจอกับประกาศคำสั่ง คสช.
4
มาตรานี้มาตราเดียว สามารถระเบิดทิ้งทั้งฉบับได้เลย นี่ยังไม่นับข้ออื่นๆ ที่ใช้เทคนิควิธีการต่างๆ มีลักษณะคลุมเครือ แล้วให้เจ้าหน้าที่ ไปใช้ดุลย์พินิจ ว่าอย่างไรผิด อย่างไรถูก ไม่ชัดเจน สามารถตีความเข้าข้างใครก็ได้ เป็นมาตราที่เตรียมไว้ทำรัฐประหาร ถ้าหากทุกอย่างผิดไปจากโครงสร้างเดิม
2
โฆษณา