3 พ.ค. 2023 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สรุป 4 บริษัทต้นกำเนิดชิพทั้งโลกใน 4 นาที

วันหยุดเราคัดเลือกบทความคุณภาพที่เราเคยลงไว้มาให้อ่านกัน โดยวันนี้จะพามาเข้าใจภาพรวมอุตสาหกรรม Semiconductor แบบเร็วและง่ายที่สุด
การทำความรู้จักผู้เล่นในอุตสาหกรรม Semiconductor มีความจำเป็นอย่างมากในการลงทุน Semiconductor นะครับ บริษัทแต่ละบริษัทมีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน จึงไม่ใช่ว่าเห็นเป็น Semiconductor ซึ่งเป็นธีมที่ดีในระยะยาวก็โยนไปมั่ว ๆ แล้วจะได้ผลตอบแทนดี เลือกผิดก็จะเจอแบบ Intel ที่อยู่กับที่ มานานแสนนาน หรือบางตัวก็มีลักษณะเป็นวัฏจักร ขึ้นแรงลงแรง เข้าผิดจังหวะก็ดอยง่าย ๆ
โพสต์นี้เราจะมาพูดถึง 4 บริษัทที่เรียกได้ว่าเป็นต้นน้ำอย่างแท้จริงในอุตสาหกรรม Semiconductor กันนะครับ พร้อมทั้งพูดภาพรวมสั้น ๆ ให้เห็นว่าใครโดดเด่นในตำแหน่งไหนบ้าง
ASML ต้นกำเนิดมือถือและคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
.
LAM RESEARCH
Lam Research เจ้าของเทคโนโลยีการผลิตชิพขั้นสุดยอด
.
APPLIED MATERIALS
ความจริงแล้วยังเหลืออีก 1 เจ้าใหญ่ที่ชื่อ Tokyo Electron แต่เราไม่มีโพสต์แยกครับ
.
ในโพสนี้เราจะลงรายละเอียดความสำคัญของทั้ง 4 บริษัทให้เข้าใจอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น
.
เนื่องจากการผลิตชิพแข่งกันด้วยเทคโนโลยี ทำให้ผู้ชนะสามารถกินส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หรือเรียกภาษาชาวบ้านคือ “การผูกขาด” นั่นแหละ โดยทั้ง 4 เจ้าใหญ่ในวงการเครื่องจักรครองส่วนแบ่งตลาดราว 80% ไปแล้ว และลูกค้าหลักไม่ใช่ใครที่ไหนเป็น TSMC, Samsung, Intel, SMIC โรงงานผลิตชื่อดังที่เราคุ้นหู
ที่น่าสนใจคือกระบวนการผลิตชิพขึ้นมา 1 ชิ้นประกอบด้วยขั้นตอนหลายอย่าง และแต่ละขั้นตอนต้องการเครื่องจักรเฉพาะด้าน ทำให้ความจริงแล้ว 4 บริษัทเครื่องจักรไม่ได้แข่งกันโดยตรง แต่เป็นเหมือนส่วนประกอบให้การผลิตชิพสำเร็จขึ้นได้ !!
เข้าถึงบทความสุด Exclusive แบบนี้ได้ในกลุ่มปิดของ BottomLiner ที่คัดสรรเรื่องต้องรู้มาให้กับทุกคน บอกเลยว่าเนื้อเน้นๆ สนใจสมัครได้แล้วที่ :https://forms.gle/WnxPREr7KmYjZvb16
เราขอแบ่งกระบวนการผลิต Semiconductor เป็น 7 ขั้นตอนตามรูปที่แนบวนจากซ้ายไปขวา
.
1. โรงงานซื้อแผ่น Silicon Wafer เข้าสายการผลิต
2. Deposition = การเคลือบแผ่น Silicon
3. Lithography = การฉายแสง
4. Cleaning = ล้าง
5. Etching = ตัดส่วนไม่ต้องการออก
6. Testing = ตรวจสอบว่าชิพใช้งานได้และถูกต้องตามที่ออกแบบ
7. Packaging = ประกอบตามความต้องการลูกค้า
.
การบอกว่าบริษัทไหนผลิตเครื่องจักรสำหรับขั้นตอนใด โดยเราของแยกเป็น 3 กลุ่ม
.
1. กลุ่ม Lithography มี 3 บริษัทคือ ASML, Nikon, Canon แต่ต้องบอกว่า ASML กินขาด เทคโนโลยีนำหน้าคู่แข่งไปไกล จึงบอกได้เลยว่าเป็นการผูกขาดกลุ่มนี้แต่เพียงผู้เดียว
อ่านรายละเอียดเต็มๆได้ที่โพส ASML
2. กลุ่ม Deposition, Cleaning, Etching ในอดีตมีหุ้นหลายตัวที่แข่งกัน แต่เจอรายใหญ่เข้าซื้อกิจการกินรวบหมดแล้ว จึงเหลือเพียง Applied Materials, Lam Research, Tokyo Electron เท่านั้น
3. กลุ่ม Testing, Packaging มี KLA, Tokyo Electron
.
ด้วยการผูกขาด รายใหญ่กินส่วนแบ่งตลาดไป 80% และลูกค้ามีเพียงเจ้าใหญ่ไม่กี่ราย ทำให้รายได้ของบริษัทเครื่องจักรอย่าง ASML, Applied Materials, Lam Research, Tokyo Electron สามารถใช้เป็นตัวบอกการขยายตัวของอุตสาหกรรมชิพได้เลย ด้วยเหตุผลสุดเบสิคว่า “โรงงานผลิตเต็มกำลังจึงต้องซื้อเครื่องจักรเพิ่ม ในทางตรงข้ามจะลดการสั่งถ้าโรงงานผลิตลดลง”
จะเห็นว่าย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2016 มีความเป็น cycle ชัดเจนและปี 2020 สะดุดในช่วงไตรมาส 1 ที่โควิดระบาดหนัก แต่ก็ฟื้นกลับมาอย่างรวดเร็วตามความต้องการชิพที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็นว่าโรงงานผลิตไม่ทันซะแล้ว
.
โรงงานฝั่ง Logic = TSMC, Samsung, SMIC
.
โรงงานฝั่ง Memory = Samsung, Micron, SK Hynix
ชิพ Logic, Memory ต่างกันยังไงแบบเต็ม ๆ เคยเล่าในคอร์ส semiconductor นะครับ เพราะค่อนข้างยาว แต่จำเป็นต้องรู้ถ้าคิดจะลงทุนหุ้นชิพ สั้น ๆ คือเหมือนสมอง 2 ส่วนครับ ส่วนหนึ่งใช้ประมวลผล ส่วนหนึ่งใช้เก็บบันทึกข้อมูล
.
ราคาหุ้นเครื่องจักรวิ่งกันสนุกสนานและมี cycle ชัดเจน เราย้ำเสมอว่าหุ้นกลุ่มนี้ timing หรือจังหวะเข้าซื้อสำคัญมาก ถ้าผิดเวลาจะติดดอยได้ง่ายๆ
.
BottomLiner
โฆษณา