7 พ.ค. 2023 เวลา 03:00 • ธุรกิจ

ความเสี่ยง การผลิตชิป ของไต้หวัน คือ “น้ำไม่พอ”

ถ้าถามว่า นอกจากปัจจัย 4 แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้คืออะไร หลายคนคงตอบว่า โทรศัพท์มือถือ..
1
ปัจจุบันรอบตัวเราถูกรายล้อมด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของอุปกรณ์อำนวยความสะดวกล้ำสมัยเหล่านี้ ก็คือ “ชิป”
1
หลายคนคงยังไม่รู้ว่า ชิป ต้องใช้น้ำและทรายเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต
โดยเฉพาะทรัพยากรสำคัญอย่าง “น้ำ” ที่ไต้หวันกำลังเริ่มประสบกับปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิตอีกด้วย
อุตสาหกรรมชิปใช้น้ำในการผลิตเยอะแค่ไหน
ทำไมไต้หวัน ถึงเจอปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิต ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
กว่าที่เราจะได้ “ชิป” หรือ “วงจรรวม” มา 1 ตัวนั้น
จะต้องผ่านขั้นตอนการผลิตมากมาย
เริ่มตั้งแต่การนำทราย มาสกัดให้กลายเป็นแท่งซิลิคอน จากนั้นจึงนำมาตัดเป็นแผ่นบาง คล้ายกับขนมเวเฟอร์
1
พอได้แผ่นเวเฟอร์มาแล้ว แผ่นพวกนี้จะถูกนำไปล้างทำความสะอาดให้มีความบริสุทธิ์มากที่สุด
1
ยิ่งบริสุทธิ์เท่าไร ประสิทธิภาพก็ยิ่งสูงเท่านั้น
สำหรับการล้างแผ่นซิลิคอนนี้ ก็ใช้น้ำในการล้าง เหมือนการล้างจาน ชาม หรือช้อน
1
แต่ปัญหาก็คือ มันไม่ใช่น้ำที่เราใช้กันทั่วไป
เพราะน้ำที่จะใช้ล้างแผ่นซิลิคอนเหล่านี้ จะต้องนำไปผ่านขั้นตอน ที่เรียกว่า Ultrapure Water ซึ่งมีความสะอาดมากกว่าน้ำที่เราดื่มกันถึง “1,000 เท่า”
8
เป็นที่รู้กันดีว่าอุตสาหกรรมชิป เป็นเมกะเทรนด์ และกำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด
ความต้องการชิปประสิทธิภาพสูง ตามมาด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่มีความซับซ้อน และขั้นตอนการผลิตเพิ่มขึ้น
หมายความว่า โรงงานผลิตชิปเอง ก็ต้องใช้น้ำเพิ่มขึ้นเช่นกัน
หากเราไปดูสถิติการใช้น้ำของ TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในโลก จะพบว่า
- ในปี 2016 ใช้น้ำไปทั้งหมด 42 ล้านตัน
- ในปี 2021 ใช้น้ำไปทั้งหมด 82 ล้านตัน
9
จะเห็นได้ว่า ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 5 ปี TSMC ต้องใช้น้ำเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว
โดยโรงงาน 1 โรง ในไต้หวันของ TSMC นั้น ต้องใช้น้ำมากถึงวันละ 100,000 ตันต่อวัน
1
ถ้าพูดให้เห็นภาพคือ เท่ากับปริมาณการใช้น้ำทั้งหมดต่อวันของคนกรุงเทพฯ ถึง 500,000 คนเลยทีเดียว..
1
ในช่วงที่ผ่านมา ไต้หวันประสบกับปัญหาน้ำไม่พอใช้ จากปัญหาภัยแล้ง
อ่างเก็บน้ำทุกแห่งของไต้หวัน มีน้ำสำรองไม่ถึงครึ่งหนึ่งของความจุทั้งหมด
1
รัฐบาลไต้หวันจึงต้องหันมาออกนโยบายให้ภาคอุตสาหกรรม “ลดการใช้น้ำ” เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตในภาคเกษตรกรรมมากจนเกินไป
1
ซึ่งนโยบายที่ว่านี้ ก็ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมชิปโดยตรง ผู้ผลิตชิปจึงต้องเริ่มหาทางออกใหม่
1
อย่าง TSMC มีการลงทุนถึงเกือบ 1,000 ล้านบาท เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำเป็นของตัวเอง โดยมีการวางระบบบำบัดน้ำ เพื่อนำน้ำจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่
2
ระบบที่ว่านี้ก็มีกำลังในการผลิตและบำบัด แค่เพียงวันละ 10,000 ตันเท่านั้น หากเทียบกับความต้องการใช้น้ำที่ 100,000 ตันต่อวัน ก็ยังห่างกัน เป็น 10 เท่าตัว
4
บริษัท TSMC เองก็รู้ตัวดีว่าต้องทำอะไรสักอย่าง และหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
1
ถึงขนาดที่ระบุเอาไว้ในรายงานบริษัทเลยว่า “น้ำ” เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงในการทำธุรกิจ
2
โดยบริษัทก็ได้ตั้งเป้าหมาย และหาวิธีที่จะลดการใช้น้ำลง 30% ภายในปี 2030 เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
3
ถึงตรงนี้ เราก็คงพอเห็นภาพแล้วว่ากว่าจะมาเป็น ชิป ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ในอุปกรณ์รอบตัวเรา เบื้องหลังคือการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง น้ำ ปริมาณมหาศาล
3
เบื้องหน้าที่เราเห็นว่า ไต้หวัน และ TSMC กำลังเป็นกระดูกสันหลังของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีโลก จริง ๆ แล้ว ก็มีความท้าทายซ่อนอยู่เหมือนกัน..
3
ใครอยากมีความรู้เรื่องตลาดหุ้น ลงทุนแมนแนะนำ หนังสือ BLACK SWAN เล่มนี้ ราคา 380 บาท ที่เล่าถึงความล้มเหลวก่อนที่จะสำเร็จของนักลงทุนในตำนาน 12 คน สามารถสั่งซื้อ ได้ที่
2
โฆษณา