6 พ.ค. 2023 เวลา 03:50 • ธุรกิจ

ตำนาน Panasonic เจ้าพ่อแบตเตอรี่ ที่ช่วยให้ Tesla แจ้งเกิด

พูดถึง Panasonic เราคงจะนึกถึงแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่น เช่น ทีวี เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น
ไปจนถึง ถ่านไฟฉาย ที่หลายคนจะมองว่า Panasonic เป็นถ่านระดับพรีเมียม
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ Panasonic ถือว่าเป็นพาร์ตเนอร์คนสำคัญ
ที่ช่วยให้แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้ายอดนิยมในวันนี้อย่าง Tesla สามารถแจ้งเกิดขึ้นมาได้
1
จากพระเอกถ่านและอุปกรณ์ไฟฟ้า Panasonic กลายมาเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ ให้กับ Tesla ได้อย่างไร ?
BrandCase จะเล่าเรื่องราวมุมนี้ที่หลายคนไม่รู้ ให้อ่านกัน..
2
ตำนาน Panasonic เริ่มจากชายที่ชื่อ คุณโคโนสุเกะ มัตสุชิตะ
1
เขาเติบโตมาจากครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย โดยคุณพ่อของเขา เป็นนักธุรกิจที่เมืองวากายามะ
1
แต่วันดีคืนดี ธุรกิจครอบครัวก็ล้มละลายในขณะที่เขามีอายุเพียง 9 ขวบเท่านั้น จึงทำให้เขา จำเป็นต้องออกมาทำงานตั้งแต่เด็ก
1
ในปี 1909 คุณโคโนสุเกะ มองเห็นรถไฟ ที่วิ่งอยู่ในเมืองโอซากา และนั่นกลายเป็นตัวจุดประกายให้เขา อยากทำธุรกิจเกี่ยวกับไฟฟ้า
1
เขาจึงตัดสินใจย้ายไปทำงาน ที่บริษัทผลิตหลอดไฟแห่งหนึ่ง เพื่อหาประสบการณ์
ก่อนจะลาออกมาตั้งบริษัทของตัวเองชื่อ Matsushita Electric Factory ในอีก 9 ปีต่อมา
3
โดยบริษัทของเขา ได้เริ่มต้นผลิตและจำหน่ายหลอดไฟฟ้า และเริ่มผลิตไฟฉายสำหรับจักรยาน จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
1
เพราะว่าไฟฉายของเขาในตอนนั้น สามารถใช้งานได้ถึง 30 ชั่วโมง โดยไม่ต้องชาร์จแบตเตอรี่
ในขณะที่แบรนด์อื่น จะสามารถใช้งานได้เพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น
2
ต่อมา เขาจึงเริ่มพัฒนาไฟฉายรุ่นใหม่ ในแบรนด์ของตัวเองครั้งแรก ชื่อ National
2
ซึ่งได้รับผลตอบรับอย่างดีในช่วงทศวรรษ 1930s โดยในตอนนั้น มียอดสั่งซื้อมากกว่าปีละ 6 ล้านชิ้น
2
ซึ่งในช่วงเวลานั้นเอง Panasonic ได้เริ่มขยายธุรกิจ ด้วยการแตกไลน์ไปทำเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ อย่างเช่น วิทยุ เครื่องเล่นแผ่นเสียง ไปจนถึงโทรทัศน์
1
เมื่อมีเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็ต้องมีแบตเตอรี่ที่มีคุณภาพ ที่ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน
Panasonic จึงต้องให้ความสำคัญ กับการพัฒนาแบตเตอรี่ หรือถ่าน ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า
4
ซึ่ง Panasonic ก็ได้วิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่หลาย ๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็น
1
- ตัวแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ เพื่อให้นำไปใช้ทางการทหารในช่วงสงครามโลก ในปี 1937
1
- เปิดตัว ถ่านไฟฉาย เป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น ซึ่งก็คือถ่านทรงกระบอกสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เราคุ้นเคยดี
1
โดยรุ่นแรก ของถ่านไฟฉาย มีชื่อว่า Nation HYPER
2
ซึ่งในตอนนั้น Panasonic เอง ก็ยังออกแบบสินค้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ
เช่น นาฬิกาแบบเปลี่ยนถ่าน ปืนจุดเตาแก๊ส และสัญญาณเตือนภัยในบ้าน
2
ทำแบบนี้เพื่อให้สามารถใส่ถ่าน Panasonic ลงไปได้พอดี เพื่อให้ลูกค้ามาซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้า ไปพร้อม ๆ กับถ่าน
ในเวลาต่อมา Panasonic ก็ได้พยายามพัฒนาถ่านให้มีประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งาน ยาวนานมากขึ้น
จนสามารถพัฒนาถ่านแบบใหม่ที่มีขนาดเล็ก แต่ใช้งานได้ดีกว่า ถ่านนั้นคือ “ถ่านอัลคาไลน์”
2
โดยถ่านอัลคาไลน์ จะเปลี่ยนสารประกอบโลหะที่อยู่ในถ่าน จากสังกะสีไปเป็นโพแทสเซียม ซึ่งเป็นโลหะกลุ่มอัลคาไลน์
ทำให้ส่งผ่านกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น มีความจุไฟฟ้ามากกว่าเดิม มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าถ่านสังกะสีถึง 10 เท่า
1
Panasonic ได้พัฒนาถ่านอัลคาไลน์อย่างจริงจัง ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990s
เพื่อให้สามารถรองรับ กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่กินไฟมาก เช่น กล้องถ่ายรูป และวิทยุพกพา
จนปัจจุบัน เรียกได้ว่า Panasonic ได้กลายมาเป็นผู้นำในเรื่องถ่านก้อน และแบตเตอรี่
ซึ่งใครหลายคน เวลาอยากจะซื้อถ่านไปใส่ในอุปกรณ์ไฟฟ้า ก็ต้องนึกถึง Panasonic
2
แต่ก็ไม่ใช่แค่ ถ่าน และแบตเตอรี่ สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่านั้น
Panasonic ก็ยังได้ต่อยอด จากถ่านไฟฉายธรรมดา ไปเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
1
ซึ่งลูกค้าหลักในเวลาต่อมา ก็คือ “Tesla” นั่นเอง
5
Panasonic ได้พัฒนาแบตเตอรี่ชนิดที่เรียกว่า ลิเทียม-ไอออน ที่มีคุณสมบัติชาร์จไฟได้
มาตั้งแต่ปี 1984
และต่อมาแบตเตอรี่ชนิดนี้ ได้เริ่มต้นใช้กับกล้องถ่ายรูปและโทรศัพท์มือถือก่อน
1
ด้วยองค์ความรู้ที่ Panasonic ได้สั่งสมมา จากการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน
จึงทำให้ Panasonic เป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่ Tesla อยากเข้าไปดีลด้วย
1
โดยในช่วงทศวรรษ 2000s Tesla ได้ร่วมมือกับ Panasonic เพื่อพัฒนาแบตเตอรี่ไฟฟ้า
ที่ใช้กับรถยนต์ EV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้งานได้นานที่สุด
จนกระทั่งในปี 2009 Panasonic ก็ได้ทำสัญญาในการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน ให้กับ Tesla
1
ซึ่งในปีถัดมา Panasonic ก็ได้ร่วมลงทุนกับ Tesla กว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่แห่งแรก
2
โรงงานที่ว่า ก็คือ Gigafactory ซึ่งเป็นชื่อโรงงานทำแบตเตอรี่ และประกอบรถยนต์ของ Tesla
1
โดย Panasonic ได้เริ่มต้นผลิตแบตเตอรี่รุ่นแรก ให้กับรถ Tesla Model S และ Model X
ต่อมาในปี 2014 Tesla ได้มีแผนร่วมทุนกับ Panasonic
ที่จะสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่แห่งใหม่ นั่นคือโรงงาน Gigafactory ที่รัฐเนวาดา
ซึ่ง Panasonic ก็ได้ตัดสินใจลงทุนกว่า 55,000 ล้านบาท
สำหรับสร้างโรงงานและเครื่องมือต่าง ๆ ให้พร้อมสำหรับการผลิตแบตเตอรี่
เพื่อรองรับ Tesla Model 3 ในขณะนั้น
1
ปัจจุบัน Panasonic ก็ยังคงเป็นซัปพลายเออร์เจ้าสำคัญ ในการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียม
ให้กับรถ Tesla Model 3 และ Model Y
และก็ยังคงมีแผนที่จะขยายโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมเพิ่มอีก 2 แห่ง สำหรับผลิตแบตเตอรี่ ให้กับรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ของ Tesla
1
คือ โรงงาน Gigafactory ที่รัฐแคนซัส สหรัฐอเมริกา
และโรงงานที่เมืองวากายามะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบ้านเกิดของคุณโคโนสุเกะ มัตสุชิตะ ผู้ก่อตั้ง Panasonic
2
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Panasonic จะยังคงเป็นซัปพลายเออร์แบตเตอรี่เจ้าหลัก ให้กับ Tesla
1
แต่ Tesla ก็เริ่มจับมือกับซัปพลายเออร์รายอื่นที่เป็นคู่แข่งของ Panasonic อย่างเช่น CATL จากจีน และ LG Energy จากเกาหลีใต้
ซึ่งทั้ง 2 เจ้านี้ ก็เพิ่งเป็นพาร์ตเนอร์ ผลิตแบตเตอรี่ EV ให้กับ Tesla ได้ไม่นาน
1
อีกทั้ง Tesla เองก็ตั้งทีมพัฒนาแบตเตอรี่ด้วยตัวเองขึ้นมาด้วย
เพราะอีลอน มัสก์ CEO ของ Tesla ต้องการลดการพึ่งพาซัปพลายเออร์ด้านแบตเตอรี่ลง
Panasonic ก็ได้แก้เกมด้วยการหันไปทำข้อตกลง ผลิตแบตเตอรี่ EV ให้กับแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าค่ายอื่น ๆ ด้วย อย่างเช่น TOYOTA และ Volkswagen
4
กลายเป็นว่า Tesla กับ Panasonic ที่เคยจับมือกันอย่างเหนียวแน่นในสมัยก่อน
ในวันนี้กลายเป็นมีความสัมพันธ์แบบ ไม่ค่อยลงร่องลงรอย แต่ก็ตัดกันไม่ขาดอยู่ดี..
มาถึงตรงนี้ ก็พอจะสรุปเส้นทางของ Panasonic
ที่เริ่มต้นจากการผลิตหลอดไฟฟ้า และไฟฉาย ที่มีความทนทานกว่าสินค้าแบรนด์อื่น
1
ไปจนถึง เครื่องใช้ไฟฟ้า และถ่านก้อน
และ Panasonic ก็ยังถือว่าเป็นคนสำคัญ ที่มีส่วนช่วยให้ Tesla แจ้งเกิดขึ้นมาได้ด้วย..
1
โฆษณา