6 พ.ค. 2023 เวลา 06:26 • ความคิดเห็น
ผมอยากให้พวกนักเศรษฐศาสตร์อธิบายแนวคิดเรื่องเคนส์ (จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์
) กันให้กว้างขวางกว่านี้ ง่าย ๆ กว่านี้กันบ้างซะจริง พวกนั้นจะเรียนมาทำไมถ้าไม่บอกให้ชาวบ้านรู้เรื่องบ้าง
.
ผมไม่เข้าใจนักหรอกนะครับ แต่เมื่อถึงเวลาต้องแจกมันก็ต้องแจก ถ้าจะพูดก็คือ "การแจกเงิน" นั่นแหละคือการ "ให้ประชาชนมีอาชีพ" แนวคิด(ในมุมมองของมหภาค/รัฐ)ก็คือ เมื่อคนมีเงิน พวกเขาก็จะจับจ่าย เมื่อพวกเขาจับจ่าย ก็จะมีคนผลิตสินค้าและบริการขึ้นมาตอบสนองพวกเขา(เกิดอาชีพขึ้นมานั่นเอง/ในทางกลับกัน หากคนไม่มีเงินซื้อหาอะไรได้ การจับพวกเขามาฝึกอาชีพ มอบปัจจัยการผลิตให้ ให้พวกเขาทำการผลิตสินค้าขึ้นมา ถึงผลิตขึ้นมาได้ แต่มันก็จะไม่มีใครมีเงินมาซื้อ ก็คือขายไม่ออกนั่นแหละ)
.
จริงอยู่การแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจกับการแจกเงินไม่ให้คนมาประท้วง(ประชานิยม ๆ นั่นแหละ)มันต่างกัน แต่จะว่ากันให้ถึงที่สุด มันต่างกันที่ ใครเป็นคนแจก แจกเพื่ออะไร แค่นั้นแหละ(กับใครแจกด้วยวิธีที่ชาญฉลาดกว่ากัน) วิธีการของมันอาจเหมือนกันก็ได้
.
นี่ไม่ได้จะปกป้องนโยบายแจกเงินของพรรคไหนหรอกนะ แต่เป็นความจริงที่ว่าการที่ "รัฐ" อัดเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจเป็นวิธีการหนึ่งในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในเวลาที่มันแย่ แต่ผลลัพธ์ของมันจะออกมาอีท่าไหนก็ต้องถามพวกวิชาการผู้หยั่งรู้นู้นแหละ (แต่การรู้จักวิธีคิดของพวกนั้น ก็พอทำให้ชาวบ้านอย่างไม่ต้องฟุ้งซ่านกันไปมาก ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพรรคไหนจะแจกเงิน พรรคที่ไม่แจกสิจะน่าสงสัยมากกว่าในตอนนี้)
.
การแจกเงินทีละน้อย ๆ ในระยะยาว ๆ สุดท้ายแล้วมันก็จะมีปัญหาตามมาจริงนั่นแหละ (แม้การแจกเงินทีละมาก ๆ ในระยะสั้น ๆ มันก็ยังน่าสงสัยกันอยู่) แต่ถ้าทำในระยะสั้น ๆ จริง ๆ ก็อาจพอชั่งใจได้ แต่ไม่ว่าจะทางไหน ถึงจุดหนึ่งพี่แกก็คงจะออกมาบอกว่า "เอ้าเงินเฟ้อ! มาเรามาขึ้นดอกเบี้ยกันเถอะ!"
พับผ่าสิ! ผมว่าคนพวกนั้นเวลาจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจก็ทำเป็นอยู่สองอย่างนี่แหละ ถ้าไม่แจกเงินก็ขึ้นดอกเบี้ย ถ้าไม่ขึ้นดอกเบี้ยก็แจกเงิน (มันทำได้หลายวิธี บางวิธีเราอาจจะไม่รู้ตัวเหมือนเอาเงินมาแจกเราตรง ๆ แค่นั้นแหละ/แต่ผลละอยากให้พวกนักบริหารเหล่านี้มาเป็นชาวบ้านตาดำ ๆ หาเช้ากินค่ำกันบ้าง จะได้รู้ว่าการที่สินค้าแพง(เงินมากเกินไป)ในเวลาที่ค่าแรงน้อยแสนน้อย(การผลิตโดยรวมถูกทำให้ซบเซาจากการขึ้นดอกเบี้ย/พยายามเก็บเงินเข้าไปและดูดออกจากระบบ)มันไม่ได้น่าอภิรมย์มากนัก)
ใครคิดบ้างมั้ยว่า นี่มันต่างอะไรจากการที่ชาวไร่ชาวนาเขามีปัญหาราคาพืชผลตกต่ำจากผลผลิตที่ล้นเกิน สุดท้ายก็ต้องเททิ้งเพราะมันทำอะไรไม่ได้ แบบนั้นเรียกว่าการแก้ปัญหามั้ย? ผมคนนึงล่ะว่าไม่น่าจะใช่ ต่อให้ใช่ก็เป็นวิธีที่เลว
อย่างเก่งพวกนั้นก็อาจลดภาษี แต่รัฐที่ไหนจะอยากลดภาษีกันบ้าง! สิ่งที่รัฐบาลต้องทำจริง ๆ อาจไม่ใช่ทั้งสองอย่าง มันอาจจะแค่ รัฐต้องลงทุนสร้างอะไรขึ้นมาเอง ไม่ใช่แค่โยนเงินให้เอกชน แล้วนั่งอยู่เฉย ๆ รอดอกผล แล้วหวังว่าพวกเขาจะทำตัวเป็นผู้ผลิตที่ดี ทำไมรัฐจะทำตัวเป็นผู้ผลิตเองไม่ได้เล่า ในเวลาที่ใครเขาไม่อยากผลิตอะไร
โฆษณา