6 พ.ค. 2023 เวลา 12:57

เขียนให้อ่าน : เยาวชนทำได้ขนาดนี้เเล้วหรือ

คอลัมน์ โดย ธนกร เกิดกล้า
เผยเเพร่วันที่ 6 พ.ค. 2566
พักหลังๆมานี้ ไม่ว่าจะเป็นทางข่าวสารออนไลน์ หรือ หนังสือพิมพ์ ก็มักจะมีข่าวเยาวชนบางกลุ่มที่อายุยังไม่ถึง 18 ปี ได้มีการทำสิ่งที่ไม่ดีให้กับสังคมเเละมีเเนวโน้มที่มากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต ผมเองในฐานะเยาวชนอายุ 15 ปี เจ้าของคอลัมน์ ยังรู้สึกไม่เห็นด้วยกับสิ่งนี้เลยครับ
ในวันศุกร์ที่ผ่านมา มีข่าวที่ทำให้ผมเองรู้สึกตกใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเป็นข่าวจากไทยรัฐซึ่งพาดหัวว่า " เเค้นกีดขวางความรัก หลานสาว 14 กับเเฟนวัย 15 ร่วมฆ่ายาย ฟันตายในป่ากล้วย " ผมที่อ่านเนื้อหาข่าวเเล้ว เลยคิดในใจว่า โอ้โหทำกันได้ลงคอกับผู้มีพระคุณ เพราะเเค่ต้องการไม่ให้กีดขวางความรักในวัยเรียนเเท้ๆ กลับกลายเป็นเหตุ ฆาตกรรม ซะงั้น ถึงจะมีการสารภาพว่าไม่ต้องการให้ถึงเเก่ความตาย เเต่ก็ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะทำอะไรเเบบนี้
ไม่กี่วันก่อน ก็มีข่าวเกี่ยวกับเยาวชนเหมือนกันครับ ซึ่งเเต่ละเเหล่งก็ให้ข้อมูลต่างกัน บ้างก็บอกว่าอายุ 16 บ้างก็บอกว่าอายุ 17 กับข่าว " นางแบบอิสระ ซิ่งเก๋งย้อนศร ทะลุแบริเออร์ตกทางด่วนเสียชีวิต " เเละก็มีผู้คนต่างตั้งคำถามว่า อายุเเค่นี้ขับรถยนต์ได้เเล้วหรือ มีใบขับขี่หรือยัง ซึ่งผมก็เห็นด้วยว่า ยังไม่ถึงวัยที่จะขับรถยนต์ได้ กฏหมายว่าด้วยการทำใบขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นใบขับขี่รถยนต์ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือใบขับขี่สาธารณะ ผู้ขับขี่ต้องมีอายุตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ดังนี้
ทำใบขับขี่ต้องอายุเท่าไหร่
1. ใบขับขี่รถยนต์
     - ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล (ชั่วคราว) ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
     - ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์
2. ใบขับขี่รถจักรยานยนต์
    - ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ความจุไม่เกิน 110 ซีซี.  ต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไป
    - ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (ชั่วคราว) ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
    - ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
3. ทำใบขับขี่ อายุเท่าไหร่ สำหรับรถประเภทอื่น ๆ
    - ใบขับขี่รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถชนิดอื่น ๆ ตามมาตรา 43 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
เมื่อเยาวชนขับขี่โดยไม่มีใบอนุญาติ
- ถูกเรียกตรวจใบขับขี่ ถ้าไม่มีใบขับขี่ก็ถูกปรับตามกฎหมายกำหนด
- ถูกตรวจสอบรถยนต์ อาจจะถูกจับเรื่องไม่ได้ต่ออายุ พ.ร.บ. เพิ่มเติมด้วย ซึ่งนำมาซึ่งความผิดอื่น ๆ จากตัวรถ เช่น การดัดแปลงตัวรถ ซึ่งผู้เยาว์อาจเกิดความสับสนเมื่อต้องตอบคำถามเกี่ยวกับกฎหมาย
- เมื่อเกิดอุบัติเหตุ พ่อแม่ ต้องรับผิดเพราะเป็นผู้พิทักษ์ของผู้เยาว์ ส่วนเจ้าของรถตัวจริงหากไม่ใช่ผู้ปกครองก็ต้องมารับผิดชอบเรื่องความเสียหาย (แต่หากบริษัทประกันภัยตรวจสอบได้ว่าคนขับรถเป็นผู้เยาว์ ไม่มีใบขับขี่ ก็อาจจะมีผลต่อสัญญาเคลมประกัน เพราะถือว่าทำผิดต่อกฎหมาย)
ซึ่งมากสุดจะเห็นได้ว่าในวัยนี้ ขับได้เพียงรถจักรยานยนต์ ความจุไม่เกิน 110 ซีซี. เท่านั้นเอง ไม่สามารถที่จะไปขับรถยนต์ได้ เเละกลุ่มเพื่อนของผู้เสียชีวิต ก็มาโทษ GPS ว่าเป็นต้นเหตุ เเละก็มาอ้างอีกว่า ไม่ใช่เพราะความเมา ผมอ่านข้อมูลนี้เเล้วก็รู้สึกงง ว่า GPS นี่มันให้คนขับรถถึงเเก่ความตายด้วยหรือ
ซึ่งความจริงเเล้วมันไม่ใช่เลยครับ มันไม่สามารถที่จะนำทางย้อนศรขึ้นไปบนทางด่วนได้ เเละยิ่งเป็นเส้นทางรถยนต์ก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้ใหญ่เลย เหมือนเป็นการโยนความผิดกับ GPS ซะมากกว่า เเละอีกอย่างทางด่วนมันไม่สามารถย้อนศรได้อยู่เเล้ว
เเล้วกฏหมายว่าอย่างไร ตามมาตรา 73 เด็กอายุยังไม่เกิน 12 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ ส่วนในมาตรา 74 ระบุให้ เด็กที่อายุระหว่าง 12-15 ปี ศาลอาจใช้มาตรการอื่นแทน ดังนี้
1.ว่ากล่าวตักเตือน หรือเรียกผู้ปกครองมาตักเตือน
2.วางข้อกำหนดให้ผู้ปกครองดูแล ถ้าเด็กก่อเหตุร้ายปรับไม่เกิน 10,000
3.ส่งไปฝึกอบรมหรือบำบัดทางจิต ตามเวลาที่กำหนดแต่ไม่เกินอายุ 18 ปี
เนื่องจากกฏหมายเดิมระบุไว้ว่า ประมวลกฎหมายอาญากำหนดเกณฑ์อายุเด็กซึ่ง ไม่ต้องรับโทษ แม้ได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ที่อายุยังไม่เกิน 10 ปีแต่จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่าเด็กอายุ 12 ปีกับเด็ก 10 ปีไม่มีความแตกต่างกันมากนัก รวมทั้งเด็กยังอยู่ในวัยประถมศึกษา จึงควรให้โอกาสกลับตัวเป็นคนดีคืนสู่สังคม
เเละย่อหน้าท้ายๆนี้ผมก็มีข้อมูล สถิติคดีเด็กและเยาวชนกับโอกาสที่หวังให้กลับตัวเป็นคนดีคืนสังคม ในปีที่ผ่านมา โดยมาจาก สำนักงานสถิติเเห่งชาติ โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจ จำนวนคดีเด็กและเยาวชนถูกจับกุมส่ง สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จำแนกตามฐานความผิดระหว่างปี พ.ศ.2553-2564 พบว่าสถิติการกระทำความผิดมีจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง จากรวมคดีทั้งหมด 44,057 คดี เหลือ 14593 คดี โดยในปี 2564 ที่ผ่านมาจำนวนคดีเด็กและเยาวชนในแต่ละความผิดมีดังนี้
1. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 1,857 คดี
2.ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย 1,477  คดี
3.ความผิดเกี่ยวกับเพศ 721 คดี
4.ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุข เสรีภาพ ชื่อเสียงและการปกครอง 257 คดี
5.ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ 6,943 คดี
6.ความผิดเกี่ยวกับอาวุธและวัตถุระเบิด 0 คดี
7.ความผิดอื่นๆ 3,338 คดี
โดยข้อมูลพบว่า เด็กมัธยมศึกษามีการก่อคดีกระทำความผิดสูงที่สุดในปี 2564 จำนวน 7,843 คดี รองลงมาได้แก่ ชั้นประถมศึกษาจำนวน 2,776 คดี และประกาศนียบัตรวิชาชีพ 1,828 คดีตามลำดับ ซึ่งจากข้อมูลพบว่าเด็กจากครอบครัวแยกกันอยู่ก่อคดี 10,375 คดี มากกว่าเด็กมาจากครอบครัวที่อยู่ร่วมกันกับพ่อแม่ถึงเกือบเท่าตัวที่ 5,483 คดี
สำหรับบทความในคอลัมน์ก็มีเพียงเท่านี้ เรื่องถัดไปจะเป็นเกี่ยวกับอะไร โปรดติดตามกันต่อไปครับ
โฆษณา