7 พ.ค. 2023 เวลา 09:04

“กฎหมายอาญา.. ไม่มีผลย้อนหลัง..”

กฎหมายอาญามีโทษ ที่ละเมิดสิทธิในชีวิตเสรีภาพ และทรัพย์สินของผู้กระทำผิด..
ผู้กระทำ จะต้องรู้ว่า.. มีกฎหมายห้ามทำ.. แต่ยังเจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย.. ก็ที่ต้องให้เขารับโทษ ก็เพื่อเขาจะได้ไม่ทำผิดซ้ำ..
แต่ถ้าเขาไม่รู้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้.. เขาก็เลยทำ.. นี่ไม่ใช่การทำผิดกฎหมายแล้ว แต่เป็นการใช้เสรีภาพของบุคคล ตามหลัก..
“ไม่มีกฎหมาย ไม่รู้ ย่อมไม่ผิด”..
ดังนั้น หลักอาญาที่สำคัญคือ ห้ามออกกฎหมายไปลงโทษคนที่เขาทำไปแล้ว ในขณะที่ตอนทำนั้น ยังไม่มีกฎหมายห้ามมิให้เขาทำ..
เพราะจะขัดต่อหลักตามธรรมชาติ.. และหลักกฎหมาย “ไม่รู้ ไม่ผิด ไม่มีโทษ”..
คำว่า “โทษ” ไม่ใช่เเค่โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 (ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริมทรัพย์สิน) เท่านั้น.
ผู้เขียนตีความว่า “โทษทางอาญา” ที่ห้ามมีผลย้อนหลัง.. หมายถึง..
“การกระทำใดๆของรัฐที่มีสภาพบังคับกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพในตัว และทรัพย์สินของบุคคล..”
เช่น ตัดสิทธิเลือกตั้ง พักหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ การบังคับติด EM โดยเขาไม่ยอม เป็นต้น เหล่านี้ ถือว่า เป็นโทษทั้งสิ้น..
ในอดีต สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2.. ในยุโรป ฝ่ายเยอรมัน รบกับฝ่ายอเมริกา อังกฤษ..
ในเอเชีย..ญี่ปุ่นฝ่ายเยอรมันบุกไทยเพราะไทยเป็นฝ่ายอังกฤษ อเมริกา ในที่สุดไทยต้องยอมให้ญี่ปุ่นผ่านเพื่อไปยึดพม่า และอินเดียต่อ..
ภายหลังฝ่ายเยอรมันและญี่ปุ่นแพ้สงคราม.. ผู้นำประเทศที่ไปเข้าด้วยฝ่ายเยอรมันญี่ปุ่น.. ถูกจับขึ้นศาลในยุโรป ฐานเป็นอาชญากรสงคราม ให้ประหารชีวิตไปหลายราย..
ไทยเราไม่ได้เข้าข้างญี่ปุ่นแต่แรก แต่สูญเสียมากจนต้องยอมแพ้เขา.. สภาฯได้เสนอกฎหมาย พรบ อาชญากรสงคราม พศ 2488.. ให้การกระทำที่ผู้นำไทยเคยต่อต้านฝ่ายอเมริกา อังกฤษ เป็นความผิด..
ฐานอาชญากรสงคราม.. ต้องรับโทษ..
ปรากฎว่า เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกา.. แทนที่ศาลจะพิพากษาประหารชีวิตผู้นำรัฐบาล..
ศาลฎีกาตัดสิน ด้วยข้อกฎหมายที่เป็นหลักอาญาว่า..
“การกระทำที่ผู้นำไทยเข้าร่วมกับญี่ปุ่น และที่กฎหมายเรียกว่า อาชญากรสงครามนี้เกิดขึ้นก่อน..
หลังสงครามสงบ มีการออกพรบ. ฉบับนี้มา บัญญัติย้อนหลังให้ การต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นความผิดและลงโทษฐานเป็นอาชญากรสงคราม..
พรบ. นี้ จึงเป็นกฎหมายที่ขัดต่อหลักกฎหมายอาญาและรัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรไทย.. ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับใช้.. ยกฟ้อง..
สุดท้าย ผู้นำไทยที่จำยอมเข้าร่วมกับญี่ปุ่น ไม่ได้รับโทษ..
ท่านฟังแล้ว เห็นอย่างไรครับ..
เมื่อปี 2526 คดีนี้ เป็นคดีตัวอย่างที่ รุ่นพี่คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ นำมาเป็นข้อสอบตุ๊กตาให้น้องใหม่ปี 1 อย่างผู้เขียนและเพื่อนๆได้ทดลองทำและถกเถียงวิเคราะห์..
อยู่ที่เรายึดติดที่มุมไหน..
ถ้ายึดเกาะหลักกฎหมายแน่น.. ผลก็เป็นอย่างที่ศาลฎีกาตัดสิน..
ถ้ายึดหลักเสมอภาค กฎหมายบอกเป็นอาชญากร เหมือนผู้นำรัฐอื่น ก็สมควรต้องรับโทษให้เท่าเทียมกัน..
มองแบบฝ่ายสัมพันธมิตร ก็บอกว่า ที่ศาลยกฟ้อง ไม่เป็นธรรม..
 
แต่ถ้ายึดหลักความเข้าใจ เหตุผล มูลเหตุจูลใจในการตัดสินใจทำผิด แบบฝ่ายอักษะและไทย ก็เห็นว่า ศาลตัดสินได้ชอบธรรมดี..
ลองเดาใจศาลฎีกานะครับ..
เวลาจะตัดสินคดีนี้.. ท่านดูความเป็นธรรมในภาพรวมก่อน.. แล้วดูข้อกฎหมาย.. จนเห็นว่า ใช้กฎหมายแล้ว จะเกิดความเป็นธรรมและคุ้มครองสิทธิ.. ท่านเลยนำหลักกฎหมายนี้มาตัดสิน ยกฟ้อง..
ถ้าท่านคิดแบบนี้ เราจะสงสัยในความ ไม่เป็นกลางของท่านมั้ย..
หรือท่านไม่ได้ดูเลยว่าอะไร เป็นธรรม ไม่เป็นธรรม เพราะนั่นถือว่า มีธงล่วงหน้า เป็นอคติ.. ท่านดูหลักกฎหมายล้วนๆมาตัดสิน แบบไม่ต้องสนใจผล.. เลยยกฟ้อง..
ท่านถือว่า กฎหมาย คือ เครื่องมือสร้างความยุติธรรม ตัดสินด้วยกฎหมายแล้ว ก็คือความยุติธรรมโดยอัตโนมัตินั่นล่ะ..
ถ้าท่านคิดแบบนี้ แล้วถ้ากฎหมายออกมาไม่ดี เขียนผิด ไม่ตรงเจตนารมณ์ล่ะ.. ท่านจะใข้กฎหมายแบบผิดๆต่อไป มั้ย..
แล้วในคดีทั่วไปล่ะครับ.. ถ้าท่านเป็นศาลต้องตัดสินคดี..
ท่านจะยึดหลักกฎหมายก่อน.. หรือจะดูผลก่อนว่าควรจะเป็นอย่างไร ด้วยเจตนาบริสุทธิ์.. แล้วเอากฎหมายมาเป็นเครื่องมือ สร้างความยุติธรรม..
นั่นคือ คำตอบว่า.. ท่านเป็นนักกฎหมายสายไหน.. อีกล่ะ 55
มีบรรพตุลาการท่านหนึ่งที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับมากเรยสอนว่า.. ให้ยึดแนวทางแบบสุดท้ายนะครับ..
ซึ่งก็ตรงกับพระราชดำรัสของ ในหลวง ร. 9 ว่า..
“กฎหมายไม่ใช่ความยุติธรรม.. เป็นเพียงเครื่องมือ.. ต้องหาความยุติธรรม ไม่ใช่รักษาตัวกฎหมาย..”
โฆษณา