9 พ.ค. 2023 เวลา 02:01 • การเกษตร
ต้นไผ่ หรือจู๋จื่อ (竹子) เป็นต้นไม้ที่อยู่คู่กับชาวจีนมายาวนาน ชาวจีนนิยมปลูกต้นไผ่ เขียนภาพ แกะสลักเป็นรูปต้นไผ่ และยังสามารถนำไผ่มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายชนิด ทั้งหนังสือม้วนไม้ไผ่ เครื่องเรือน ไปจนถึงตะเกียบบนโต๊ะอาหาร ฯลฯ
.
ต้นไผ่ หรือจู๋จื่อ (竹子) เป็นต้นไม้ที่อยู่คู่กับชาวจีนมายาวนาน ชาวจีนนิยมปลูกต้นไผ่ เขียนภาพ แกะสลักเป็นรูปต้นไผ่ และยังสามารถนำไผ่มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายชนิด ทั้งหนังสือม้วนไม้ไผ่ เครื่องเรือน ไปจนถึงตะเกียบบนโต๊ะอาหาร ฯลฯ
.
ต้นไผ่มีความหมายลึกซึ้งหลายด้านในคติวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ
.
๑.ไผ่ – เป็นต้นไม้แห่งฤดูร้อน คู่กับดอกเหมย (梅花) ในฤดูหนาว ดอกกล้วยไม้ -หลันฮวา (兰花) ในฤดูใบไม้ผลิ และดอกเบญจมาศ -จวี๋ฮวา (菊花) ในฤดูใบไม้ร่วง ที่มักเรียกกันว่า “เหมย-หลัน-จู๋-จวี๋” ชาวจีนนิยมวาดภาพแกะสลักภาพราชินีบุปผชาติทั้งสี่ ประดับอยู่ในพระราชวัง วัด ศาลเจ้า จนถึงบ้านคหบดีและสถานที่สำคัญต่าง ๆ
.
๒.ไผ่ – เป็น ๑ ใน ๓ สหายแห่งเหมันตกาล (岁寒三友) ที่ประกอบไปด้วยต้นไผ่ ต้นสน และดอกเหมย ที่มีความเข้มแข็ง อดทน คงความเขียวชอุ่ม ไม่ร่วงโรย แม้ยามหิมะพรั่งพรูสายลมแรงอันหนาวเหน็บ เป็นภาพที่นิยมแขวนประดับผนังเพื่อให้กำลังใจแก่ตนเองและผู้อื่น
.
1
๓.ไผ่ – เป็นพืชที่เติบโตเร็วอย่างน่ามหัศจรรย์ ดังเช่น ไผ่พันธุ์หนานจู๋ (南竹) ของอุทยานทะเลป่าไผ่สู่หนาน (蜀南竹海) เมืองอี๋ปิน มณฑลชื่อชวน หน่อไผ่จะสะสมอาหารนาน ๓ ปี เมื่อแทงยอดออกมา จะสูงวันละเกือบ ๑ เมตร ๔๘ วัน สูงกว่า ๔๐ เมตร มีอายุยืนยาว ๑๕-๒๐ ปีเลยทีเดียว ไผ่จึงเปรียบเสมือนมนุษย์ ต้องสะสมความรู้บ่มเพาะประสบการณ์ จึงจะเติบโตเป็นวิญญูชนสร้างประโยชน์ให้แก่ครอบครัวและสังคม
.
๔.ไผ่ – มีลำต้นที่ตรง เปรียบเหมือนคนที่ตรงไปตรงมา แต่ภายในกลวง โอนอ่อน ถ่อมตน แม้ยามพายุฝนโหมกระหน่ำ ต้นไผ่จะโอนอ่อนผ่อนตาม ลำต้นโค้งงอตามสายลม ไม่หักโค่น
.
1
๕.ไผ่ – มีข้อปล้องที่เท่า ๆ กัน เปรียบเหมือนคนที่มีวินัย เสมอต้น เสมอปลาย ดั่งวิญญูชนผู้ซื่อตรง สุจริต ไม่คดงอ
.
๖. ไผ่ – ในภาษาจีนออกเสียงว่า จู๋ พ้องเสียงกับคำว่า (祝) จู๋ หมายถึง อวยพร ภาพวาดต้นไผ่คู่กับนกกระเรียน ให้ความหมายว่า อวยพรให้ท่านมีอายุยืนยาว-จู้หนิงฉางโซ่ว (祝您長壽) เป็นภาพที่นิยมมอบให้ในงานอวยพรผู้สูงวัย
.
๗.ไผ่ – ผูกพันกับตำราหนังสือจีน สมัยราชวงศ์โจวจนถึงราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ชาวจีนต้องเขียนตัวอักษรลงบนไม้ไผ่แล้วเย็บเป็นม้วนเรียกว่า “เจวี่ยน (卷)” ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เมื่อขันทีไช่หลุนได้คิดค้นกระดาษขึ้นมาโดยบังเอิญจากการเขียนตัวหนังสือบนเปลือกต้นไม้ และต่อมาได้พัฒนานำเยื่อต้นไผ่มาผลิตกระดาษด้วยเช่นเดียวกัน
.
๘. ด้ามพู่กันที่ชาวจีนใช้เขียนตัวอักษร เป็นหนึ่งในสี่ทรัพย์ล้ำค่าในห้องหนังสือ ก็ทำจากไม้ไผ่
.
๙. ตะเกียบหรือไคว่จื่อ (筷子) ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรมที่ชาวจีนนำมาใช้เป็นเครื่องมือการรับประทานอาหารตั้งแต่เมื่อสามพันปีก่อน ก็ทำจากไม้ไผ่ รวมทั้งเครื่องเรือน เครื่องใช้ ในสมัยโบราณสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ก็ทำมาจากต้นไผ่เช่นกัน
.
๑๐. เสียงแตกของไม้ไผ่ในกองไฟ ชาวจีนเชื่อว่า ทำให้ภูติผีปีศาจเกรงกลัว รวมทั้งปะทัดที่ชาวจีนสมัยโบราณใช้จุดไล่ตัวเหนียน ก็บรรจุในบ้องไม่ไผ่เรียกเป้าจู๋ (爆竹) เพื่อให้เกิดเสียงดังสนั่น
.
๑๑. ไผ่ลูกศร (箭竹) – เป็นอาหารของหมีแพนด้า สัตว์ประจำชาติจีน มีมากในมณฑลชื่อชวน (เสฉวน) ซึ่งเป็นบ้านเกิดและถิ่นพำนักของหมีแพนด้า เป็นสัตว์ที่ชาวโลกหลงรักในอิริยาบถท่วงท่าที่แสนน่ารัก
.
๑๒. ป่าไผ่ – ในสมัยปัจจุบันพบว่าสามารถฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ ลดฝุ่น ลดมลพิษทางอากาศ PM.2.5 ได้ดี ในช่วงสิบกว่าปีมานี้ประเทศจีนจึงมีการรณรงค์ให้ทุกมณฑลปลูกป่าไผ่มากขึ้นเรื่อย ๆ
.
๑๓. ด้วยคติทางวัฒนธรรมเหล่านี้ จึงทำให้ชาวจีนนิยมปลูกไผ่ ใช้ประโยชน์จากต้นไผ่ จนได้รับการเรียกขานว่า “ดินแดนหลังม่านไม้ไผ่”
.
มณฑลที่ปลูกต้นไผ่มากที่สุดของจีนคือ มณฑลชื่อชวนหรือเสฉวน โดยเฉพาะในเขตอุทยานสู่หนานจู่ไห่ มีพื้นที่ป่าไผ่นานาพันธุ์อันอุดมสมบูรณ์ที่สุดของจีน มีผืนป่าไผ่ครอบคลุมพื้นที่ถึง ๑๒๐ ตารางกิโลเมตร มีไผ่ถึง ๒๗ สายพันธุ์ มีการนำต้นไผ่ หน่อไม้ เยื่อไผ่ ใบไผ่ ฯลฯ มาทำอาหาร แปรรูปเป็นข้าวของเครื่องใช้และสินค้าที่ระลึกได้มากมายนไผ่มีความหมายลึกซึ้งหลายด้านในคติวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ
.
๑.ไผ่ – เป็นต้นไม้แห่งฤดูร้อน คู่กับดอกเหมย (梅花) ในฤดูหนาว ดอกกล้วยไม้ -หลันฮวา (兰花) ในฤดูใบไม้ผลิ และดอกเบญจมาศ -จวี๋ฮวา (菊花) ในฤดูใบไม้ร่วง ที่มักเรียกกันว่า “เหมย-หลัน-จู๋-จวี๋” ชาวจีนนิยมวาดภาพแกะสลักภาพราชินีบุปผชาติทั้งสี่ ประดับอยู่ในพระราชวัง วัด ศาลเจ้า จนถึงบ้านคหบดีและสถานที่สำคัญต่าง ๆ
.
๒.ไผ่ – เป็น ๑ ใน ๓ สหายแห่งเหมันตกาล (岁寒三友) ที่ประกอบไปด้วยต้นไผ่ ต้นสน และดอกเหมย ที่มีความเข้มแข็ง อดทน คงความเขียวชอุ่ม ไม่ร่วงโรย แม้ยามหิมะพรั่งพรูสายลมแรงอันหนาวเหน็บ เป็นภาพที่นิยมแขวนประดับผนังเพื่อให้กำลังใจแก่ตนเองและผู้อื่น
.
๓.ไผ่ – เป็นพืชที่เติบโตเร็วอย่างน่ามหัศจรรย์ ดังเช่น ไผ่พันธุ์หนานจู๋ (南竹) ของอุทยานทะเลป่าไผ่สู่หนาน (蜀南竹海) เมืองอี๋ปิน มณฑลชื่อชวน หน่อไผ่จะสะสมอาหารนาน ๓ ปี เมื่อแทงยอดออกมา จะสูงวันละเกือบ ๑ เมตร ๔๘ วัน สูงกว่า ๔๐ เมตร มีอายุยืนยาว ๑๕-๒๐ ปีเลยทีเดียว ไผ่จึงเปรียบเสมือนมนุษย์ ต้องสะสมความรู้บ่มเพาะประสบการณ์ จึงจะเติบโตเป็นวิญญูชนสร้างประโยชน์ให้แก่ครอบครัวและสังคม
.
๔.ไผ่ – มีลำต้นที่ตรง เปรียบเหมือนคนที่ตรงไปตรงมา แต่ภายในกลวง โอนอ่อน ถ่อมตน แม้ยามพายุฝนโหมกระหน่ำ ต้นไผ่จะโอนอ่อนผ่อนตาม ลำต้นโค้งงอตามสายลม ไม่หักโค่น
.
๕.ไผ่ – มีข้อปล้องที่เท่า ๆ กัน เปรียบเหมือนคนที่มีวินัย เสมอต้น เสมอปลาย ดั่งวิญญูชนผู้ซื่อตรง สุจริต ไม่คดงอ
.
๖. ไผ่ – ในภาษาจีนออกเสียงว่า จู๋ พ้องเสียงกับคำว่า (祝) จู๋ หมายถึง อวยพร ภาพวาดต้นไผ่คู่กับนกกระเรียน ให้ความหมายว่า อวยพรให้ท่านมีอายุยืนยาว-จู้หนิงฉางโซ่ว (祝您長壽) เป็นภาพที่นิยมมอบให้ในงานอวยพรผู้สูงวัย
.
๗.ไผ่ – ผูกพันกับตำราหนังสือจีน สมัยราชวงศ์โจวจนถึงราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ชาวจีนต้องเขียนตัวอักษรลงบนไม้ไผ่แล้วเย็บเป็นม้วนเรียกว่า “เจวี่ยน (卷)” ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เมื่อขันทีไช่หลุนได้คิดค้นกระดาษขึ้นมาโดยบังเอิญจากการเขียนตัวหนังสือบนเปลือกต้นไม้ และต่อมาได้พัฒนานำเยื่อต้นไผ่มาผลิตกระดาษด้วยเช่นเดียวกัน
.
๘. ด้ามพู่กันที่ชาวจีนใช้เขียนตัวอักษร เป็นหนึ่งในสี่ทรัพย์ล้ำค่าในห้องหนังสือ ก็ทำจากไม้ไผ่
.
๙. ตะเกียบหรือไคว่จื่อ (筷子) ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรมที่ชาวจีนนำมาใช้เป็นเครื่องมือการรับประทานอาหารตั้งแต่เมื่อสามพันปีก่อน ก็ทำจากไม้ไผ่ รวมทั้งเครื่องเรือน เครื่องใช้ ในสมัยโบราณสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ก็ทำมาจากต้นไผ่เช่นกัน
.
๑๐. เสียงแตกของไม้ไผ่ในกองไฟ ชาวจีนเชื่อว่า ทำให้ภูติผีปีศาจเกรงกลัว รวมทั้งปะทัดที่ชาวจีนสมัยโบราณใช้จุดไล่ตัวเหนียน ก็บรรจุในบ้องไม่ไผ่เรียกเป้าจู๋ (爆竹) เพื่อให้เกิดเสียงดังสนั่น
.
๑๑. ไผ่ลูกศร (箭竹) – เป็นอาหารของหมีแพนด้า สัตว์ประจำชาติจีน มีมากในมณฑลชื่อชวน (เสฉวน) ซึ่งเป็นบ้านเกิดและถิ่นพำนักของหมีแพนด้า เป็นสัตว์ที่ชาวโลกหลงรักในอิริยาบถท่วงท่าที่แสนน่ารัก
.
๑๒. ป่าไผ่ – ในสมัยปัจจุบันพบว่าสามารถฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ ลดฝุ่น ลดมลพิษทางอากาศ PM.2.5 ได้ดี ในช่วงสิบกว่าปีมานี้ประเทศจีนจึงมีการรณรงค์ให้ทุกมณฑลปลูกป่าไผ่มากขึ้นเรื่อย ๆ
.
๑๓. ด้วยคติทางวัฒนธรรมเหล่านี้ จึงทำให้ชาวจีนนิยมปลูกไผ่ ใช้ประโยชน์จากต้นไผ่ จนได้รับการเรียกขานว่า “ดินแดนหลังม่านไม้ไผ่”
.
มณฑลที่ปลูกต้นไผ่มากที่สุดของจีนคือ มณฑลชื่อชวนหรือเสฉวน โดยเฉพาะในเขตอุทยานสู่หนานจู่ไห่ มีพื้นที่ป่าไผ่นานาพันธุ์อันอุดมสมบูรณ์ที่สุดของจีน มีผืนป่าไผ่ครอบคลุมพื้นที่ถึง ๑๒๐ ตารางกิโลเมตร มีไผ่ถึง ๒๗ สายพันธุ์ มีการนำต้นไผ่ หน่อไม้ เยื่อไผ่ ใบไผ่ ฯลฯ มาทำอาหาร แปรรูปเป็นข้าวของเครื่องใช้และสินค้าที่ระลึกได้มากมาย
โฆษณา