9 พ.ค. 2023 เวลา 02:35 • การเกษตร
อำเภอวารินชำราบ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แบบบ้านๆ เข้าใจง่ายใน 5 นาที EP.3 ทำความรู้จักอาหารพืช

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำหรับอาหารพืช ที่ใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช มีหลายสูตร แต่ที่ใช้บ่อย ๆ เช่น MS อาหารพืชใช้ได้กับพืชทั่วไป, Vacin & Went สำหรับกล้วยไม้, WPM, B5 สำหรับไม้ยืนต้น, Y3 สำหรับพืชตระกูลปาล์ม สำหรับผมแล้วผมใช้ MS กับพืชทุกชนิด เพราะอาหารสูตร MS หาซื้อง่าย MS (มีทั้งแบบผงและแบบที่ละลายผสมน้ำมาแล้ว) อาจารย์หลาย ๆ ท่านก็ใช้ MS สำหรับกล้วยไม้, พืชตระกูลปาล์ม, ไม้เนื้อแข็ง อาหารพืชไม่ว่าจะสูตรไหนก็มีองค์ประกอบหลัก ๆ คือ
1.ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช ซึ่งหากพืชได้รับไม่เพียงพอ พืชจะ แสดงอาการผิดปกติ แบ่งเป็น
1.1 ธาตุอาหารหลัก เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก ได้แก่ไนโตรเจนฟอสฟอรัส โปตัสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน
1.2 ธาตุอาหารรอง เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อย หากได้รับมาก อาจเป็นพิษต่อพืช ได้แก่ สังกะสี และคลอรีน ทองแดง เหล็ก แมงกานีส โคบอลท์ โมลิบดินัม
จากซ้ายไปขวา WPM, Y3 และ MS
2. แหล่งคาร์โบรไฮเดรท เป็นองค์ประกอบทีสําคัญของสิ่งมีชีวิต ปกติพืชจะสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรทได้เองแต่ในระยะเริ่มต้นของการเรื่มต้นเพาะเลี้ยงเนื้อพืชไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง แหล่งคาร์บอน ที่ใช้ผสมในอาหารมักเป็นน้ำตาล เช่น กลูโคส ซูโครส (น้ำตาลทราย) หรืออาจใช้แป้งก็ได้
น้ำตาลทรายขาวหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป
3. วิตามิน ช่วยในการเติบโต, แบ่งเซลล์ และปฏิกริยาเมทาบอลิซึม โดยปกติพืชสามารถสังเคราะห์วิตามินเองได้ แต่ในระยะเริ่มต้นการเพาะเนื้อเยื่อพืชพืชไม่สามารถสร้างวิตามินที่จำเป็นได้
4. กรดอะมิโน พืชบางชนิดต้องการไนโตรเจนที่จะนำไปเปลี่ยนรูปได้ทันที เติมกรดอะมิโนเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์
5. สารสกัดธรรมชาติอื่น ๆ ซึ่งไม่ทราบองค์ประกอบแน่นอน เช่น เป็บโดน สกัดจากยีสต์ น้ามันฝรั่ง น้ำมะพร้าว น้ำมะเขือเทศ
6.สารควบคุมการเจริญเติบโต(ฮอร์โมนพืช) ใช้ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
6.1 อ๊อกซิน(Auxin) ช่วยกระตุ้นการเติบโต, ชำนำให้เกิดราก, กระตุ้นการสร้างแคลลัส แต่ยับบั้งการเกิดตาข้างและตาพิเศษ ได้แก่ Dicamba, IAA, IBA, NAA, 2,4-D เป็นต้น
6.2 ไซโตไคนิน (Cytokinin) ช่วยกระตุ้นการเติบโตของยอด ได้แก่ BA, kinetin, 2iP, Zeatin เป็นต้น
6.3 จิบเบอเรลลิน(Gibberellins) ควบคุมการเจริญเติบโตและมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางพัฒนาการรวมทั้งการยืดของข้อ การงอก การพักตัว การออกดอก การแสดงเพศ การชักนำการสร้างเอนไซม์ รวมทั้งการชราของดอกและผล ไม่นิยมในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
6.4 กรดแอบไซซิก(Abscisic acid) โดยปกติมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ แต่บางครั้งสามารถชักนำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อเจริญเติบโตเป็นเอ็มบริโอ
7.ผงถ่านกัมมันต์ (Activated carbon) มีคุณสมบัติดูดกลืนสารฟีนอลิก ซึ่งเป็นสารที่พืชหลั่งออกมาในการสับขยาย(Subculture) เมื่อสารฟีนอลิกมีมากจะเป็นอันตรายต่อเนื้อพืช ผงถ่านกัมมันต์ยังดูดกลืนอาหารพืช แต่ก็ส่งผลเร่งรากได้ดีระดับหนึ่ง หาซื้อง่่าย 7-11 ก็มีขายในแบบแค็ปซูล(1แผง 10 แค็ปซูล)
ถ่านกัมมันต์
จากข้อที่ 1-5 นั้น อาหารสูตร MS, Vacin & Went, WPM, B5, Y3 มีครบหมดสามารถนำไปใช้ได้เลย ที่กล่าวมาในข้างต้นนั้นมีครบหมดในขวดเดียวไม่ต้องกังวลว่าต้องเตรียมสารแต่ละอย่างให้วุ่นวายสบายใจได้ ถ้าต้องชักนำรากราก หรือ ชักนำยอด ก็เอาฮอร์โมนในข้อ 6.1 หรือ 6.2 มาผสมในอาหรสูตร MS, Vacin & Went, WPM, B5, Y3 ตามที่เราต้องการ
อาหารสังเคราะห์ต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ยกมาเพื่อให้ท่านผู้อ่านพอได้ทราบคร่าว ๆ ว่ามีอะไรบ้าง แต่ได้ใช้จริง ๆ ไม่กี่ตัว อาหารสังเคราะห์มีทั้งแบบผงที่เราซื้อมาต้องผสมเตรียมสต็อกเองหรือแบบสำเร็จที่เตรียมความเข้มข้นต่าง ๆ ละลายน้ำม่ให้แล้ว มีขายทั้งใน shopee, Lazada หรือ Facebook สำหรับผมแล้วผมซื้อแบบที่เขาผสมพร้อมใช้แล้วเน้นความสะดวกสบายแต่อย่าเก็บไว้นานเดี๋ยวอาหารจะเสืื่อมสภาพ
สำหรับเนื้อหาต่อไปจะกล่าวถึงการเตรียมอาหารในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งแบบนึ่งและแบบไม่นึ่ง ที่ผมทำในปัจจุบัน โดยประสบการณ์มาจากที่ผมเคยไปอบรมจากแล็ปมาตรฐานและแล็ปธรรมดาบ้าน ๆ (ถ้าบอกว่าแล็ปไม่ได้มาตรฐานมันอาจจะเกินไป) เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจปรับใช้ให้สะดวกกับตัวเองครับ
#เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ #เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย
โฆษณา