9 พ.ค. 2023 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

วิกฤติแรงงาน...ระเบิดเวลาของเยอรมนี

รู้หรือไม่ว่า เยอรมนี ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป กำลังเผชิญกับปัญหาที่เป็นเสมือนระเบิดเวลา
ปัญหาที่ว่านั้นคือ การขาดแคลนแรงงานทักษะ
1
ถึงแม้ว่าปัญหานี้จะถูกยกขึ้นมาถกเถียง และสร้างความวิตกกังวลมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อไม่นานมานี้ บริษัทต่างๆ ในหลายภาคส่วนก็บอกว่าพวกเขากำลังลำบากในการหาคนทำงานตามที่ต้องการ และสถานการณ์ก็เลวร้ายลงเรื่อยๆ
1
จนถึงขนาดที่รัฐมนตรีของเยอรมนีกล่าวว่า ในปี 2035 เยอรมนีจะขาดแคลนแรงงานกว่า 7 ล้านคน หากรัฐบาลไม่ทำอะไรเลย
1
ในหลายๆ อุตสาหกรรม ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทักษะเริ่มเด่นชัดขึ้นมาเรื่อยๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์
ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา ปัญหาการขาดแคลนแรงงานค่อยๆ แย่ลง จากการสำรวจพบว่ากว่า 70% ของบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างมากในตอนนี้ และคาดว่าในปี 2023 จะยิ่งแย่ลงกว่าเดิม
ถึงแม้ว่าจากตัวเลขในปี 2022 ตลาดแรงงานเยอรมนีมีขนาดกว่า 45.6 ล้านคน มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1990 ในขณะที่อัตราการว่างงานลดต่ำลงไปอยู่ที่ 2.8% เท่านั้น
แต่ทาง Institute for Employment Research (IAB) ของเยอรมนี ก็ได้ชี้ให้เห็นว่า อันที่จริงแรงงานในเยอรมนีเริ่มส่อเค้าลางขาดแคลนมาตั้งแต่กลางทศวรรษ 2000 แล้ว และในตอนนี้ตลาดแรงงานก็ตึงตัวยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา ในปี 2022 ทั้งปี โดยเฉลี่ยแล้วมีตำแหน่งงานว่างกว่า 844,000 ตำแหน่ง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยา วิศวกรรม และไอที
📌 ทำไมเยอรมนีจึงเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานทักษะ
1
ถ้าถามว่าปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไร ส่วนหนึ่งมาจากการที่ประชากรรุ่นเบบี้บูมเมอร์กำลังจะถึงวัยเกษียณพร้อมกันเป็นจำนวนมากในช่วงอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้ ส่งผลให้กว่า 40% ของบริษัทในอุตสาหกรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ ประสบปัญหาขาดแคลนคนในตำแหน่งที่ว่างลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
📌 ทางเลือกและทางรอดของเยอรมนี
ด้วยความที่ช่องว่างระหว่างเจเนอเรชั่นของคนที่เกิดช่วงปี 1950-1970 กับคนที่เกิดช่วงปี 1990 นั้นแตกต่างกันมาก ปัญหาเลยไม่ได้จบที่การขาดแคลนแรงงาน แต่ยังรวมไปถึงปัญหาความมั่นคงของระบบกองทุนประกันสังคมในอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้ เพราะหมายความว่าวัยแรงงานกว่า 13 ล้านคน กำลังจะออกจากตลาดแรงงานไปในอีกไม่เกิน 15 ปีต่อจากนี้ ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนแรงงานทั้งหมดในขณะนี้ ทำให้รัฐบาลเยอรมนี อาจจำเป็นต้องรับแรงงานจากต่างชาติมาราวๆ 4 แสนคนต่อปี เพื่อมาเติมเต็มช่องว่างในตลาดแรงงานตรงนี้
2
แน่นอนว่าทางรัฐบาลเยอรมนีก็คงไม่สามารถนิ่งนอนใจกับปัญหานี้ได้ จึงเริ่มมีแนวคิดที่จะปฏิรูปกฎหมายเพื่อปรับลดข้อจำกัดเกี่ยวกับการรับแรงงานจากต่างชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งงาน
2
ถึงอย่างนั้น กฎหมายดังกล่าวอาจไม่เพียงพอ เพราะหลายๆ อุตสาหกรรมก็ยกประเด็นสำคัญคือเรื่อง “กำแพงภาษา” ขึ้นมา เนื่องจากกำแพงหลักของแรงงานต่างชาติ คือข้อกำหนดว่าต้องพูดภาษาเยอรมันได้ แต่กฎหมายใหม่นี้ยังไม่ได้ผ่อนปรนข้อกำหนดดังกล่าว ทั้งที่อันที่จริงในปัจจุบัน ภาษาอังกฤษก็เพียงพอสำหรับการทำงานแล้ว
2
นอกจากนี้ ยังควรมีการลดขั้นตอนราชการที่ยุ่งยากลง สำหรับคนต่างชาติที่จะเข้ามาทำงาน โดยเฉพาะคนที่มาจากประเทศนอกสหภาพยุโรป ตลอดจนรัฐบาลควรลงทุนในการศึกษาและการฝึกทักษะแรงงานภายในประเทศไปพร้อมๆ กัน
3
แน่นอนว่าผลกระทบโดยตรงจากการขาดแคลนแรงงานทักษะ คือ เศรษฐกิจจะเติบโตได้ช้าลง
และยังอาจจะทำให้เยอรมนีไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่หวังจะเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลและนวัตกรรมเทคโนโลยีได้
2
ทำให้ Institute for Employment Research ประมาณการณ์ว่าเยอรมนีจำเป็นจะต้องจ้างแรงงานจากต่างประเทศอีก 1.2 ล้านคน ทุกๆ 3 ปี
จนกว่าจะถึงปี 2060 เพื่อให้แรงงานเพียงพอ มิเช่นนั้น หากแรงงานทักษะยังคงขาดแคลนไปเรื่อยๆ ก็อาจจะกลายเป็นระเบิดเวลาสำหรับเศรษฐกิจเยอรมนีในไม่ช้า…
1
ผู้เขียน: ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
1
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
โฆษณา