5 มิ.ย. 2023 เวลา 03:00 • การตลาด

25 สินค้าสุด Fail ที่เกิดขึ้นบนโลก!

ทุกวงการธุรกิจย่อมต้องมีการแข่งขัน มีผู้นำและมีผู้ท้าชิงรายใหม่เกิดขึ้นต่อเนื่อง บางทีสินค้าใหม่ก็ล้มแชมป์เก่าได้ แต่หลายครั้งที่นอกจากล้มแชมป์ไม่ได้ยัง ขาดทุนป่นปี้ด้วยซ้ำไป www.ThaiSMEsCenter.com มีรวบรวมตัวอย่าง25สินค้าที่พยายามชูนวัตกรรมใหม่เพื่อให้ถูกใจลูกค้าแต่ดูเหมือนว่ากระแสจะไม่เป็นไปอย่างใจคิดกลายเป็นสินค้าสุดFail ที่เจ็บแบบไม่มีวันลืม
1.Ford Edsel (ปี 1957)
แม้กระทั่งแบรนด์รถยนต์อย่างฟอร์ดก็ยังมีตำนานความเจ๊งและFail ให้พูดถึง ซึ่งรุ่นที่พูดถึงนี้คือ Ford Edsel ที่เริ่มวางจำหน่ายในปี 1958 แต่กลับไม่ได้การตอบรับอย่างที่ฟอร์ดตั้งใจ ด้วยเหตุผลหลักๆ คือรูปลักษณ์ของรถที่ดูน่าเกลียด และราคาก็ไม่เหมาะสม และแถมชื่อของรถรุ่นนี้คือ Edsel ที่ไม่ได้ทำให้น่าซื้อ ยอดขายไม่ดีถึงขนาดที่ต้องถอดรถรุ่นนี้ออกจากตลาดในปี 1961 หลังจากลองตลาดได้แค่ 2 ปีกว่าๆเท่านั้น
2.Sony Betamax (ปี 1975)
ภาพจาก bit.ly/2DIg4kF
ในยุค 70 มีการแข่งขันของวงการวีดีโอระหว่าง Betamax และ VHS โดยทาง Sony ได้เริ่มวางจำหน่าย Betamax ในปี 1975 ในขณะที่คู่แข่งเริ่มวางขาย VHS มาก่อนหน้าสักระยะแล้ว และถึงแม้ว่า Betamax จะมีการออกแบบมาสุดเจ๋งแค่ไหน แต่ดูเหมือนว่า VHS จะได้รับความนิยมแพร่หลายไปไกล สินค้าผู้มาใหม่อย่าง Betamax เลยต้องตกกระป๋องไปที่สุด
3.New Coke ( ปี1985)
ภาพจาก bit.ly/2J01nwS
Coke ถือเป็นแบรนด์เครื่องดื่มระดับโลกยี่ห้อนี้คนรู้จักอย่างดี อีกทั้งเคยออกรสชาติใหม่ๆ มาอย่างต่อเนื่อง แต่หากใครจำได้ในปี 1980 ตอนนั้น coke ที่กำลังเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับคู่แข่งอย่าง Pepsi ที่มีการอัดโฆษณาในแคมเปญ Pepsi Challenge ด้าน Coke จึงหวังออกสินค้าใหม่เพื่อดึงกระแสให้กลับมา แต่ทว่าก็ต้อง Fail ยกเลิกรสชาติใหม่นี้ไปและหันไปใช้สูตรเดิมและต้องสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่มาก็คือ Coca-Cola Classic
4.Pepsi A.M. and Crystal Pepsi (ปี1989, 1992)
หลายคนอาจจะเกิดไม่ทันรวมถึงอาจจะไม่เคยได้ยิน โดยในปี 1989 เป๊บซี่ออกรสชาติใหม่คือ เป๊บซี่เอเอ็ม เป็นเป๊บซี่ที่เอาใจนักดื่มในตอนเช้าๆ หรือก็คือ เป๊บซี่แคลลอรี่น้อย และก็ดูจะมาเร็วไปเร็ว ยกเลิกการขายในเวลาไม่นานและแก้ตัวใหม่อีกทีคือเป๊บซี่คริสตัล โดยเป็นเป๊บซี่ชนิดใส เริ่มจำหน่ายในปี 1992 แต่ก็ต้องหยุดจำหน่ายหลังจากลงตลาดได้แค่ 1 ปี และในปี 2016 เจ้าเป๊บซี่คริสตัลที่ว่านี้ก็ได้กลับมาอีกครั้งและก็ดูจะอยู่ในตลาดได้นานไม่ Fail เหมือนครั้งก่อน
5.RJ Reynolds smokeless cigarettes (ปี 1989)
ภาพจาก bit.ly/2qwV1Kb94
ในปี 1980 มีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ โดย RJ Reynolds ลงทุน 325 ล้านดอลลาร์ ผลิตสินค้าบุหรี่ไร้ควัน แต่ก็ดูเหมือนว่างานนี้ล้มเหลวไม่เป็นท่า สินค้าใหม่กลายเป็นฝุ่นควันไปในพริบตา เพราะนักสูบส่วนใหญ่ไม่นิยมสินค้านี้
6.Coors Rocky Mountain Spring Water (ปี 1990)
ภาพจาก bit.ly/2V4M8dn
Coors Rocky Mountain Spring Water เปิดตัวในปี 1990 ด้วยการที่แบรนด์นี้ต้องการจะขยายแบรนด์ด้วยการทำสินค้าตัวนี้ขึ้นมาแต่ดันติดอยู่อย่างเดียวคือ coors เป็นแบรนด์ที่รู้จักกันในนามของหนึ่งในผู้ผลิตเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเมื่อมาเปิดตัวสินค้าใหม่แบบใช้โลโก้เดียวกัน สินค้าตัวนี้ก็เลยไม่ได้รับความนิยมตกกระป๋องไปตามระเบียบ
7.Apple Newton (ปี 1993)
Newton เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดก่อนที่ Apple จะกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก นิตยสาร Forb ให้ความเห็นว่า เครื่องนิวตันพีดีเอฟ ล้มเหลวเนื่องจากเหตุผลหลายประการ อย่างราคาที่เริ่มต้น 700 เหรียญ สูง 8 นิ้ว กว้าง 4.5 นิ้ว ซึ่งต่อมา Apple ได้เปิดตลาดแทปเลตและเรียกว่าไอแพดและไม่ได้ใช้พีดีเอ อีกต่อไปเนื่องจาก iPad ได้รับความนิยมมากกว่า
8.Microsoft Bob (ปี 1995)
ภาพจาก bit.ly/2ZMxRRe
Microsoft Bob ถูกคาดหมายว่าน่าจะใช้งานง่ายสำหรับ windows ซึ่งโปรแกรม Microsoft Bob เป็นหนึ่งในโครงการของ Melinda ซึ่งเป็นภรรยาของ Bill Gate แต่ทว่าทางไมโครซอฟท์ก็ตัดสินใจตัดผลิตภัณฑ์ตัวนี้ทิ้งหลังจากเปิดตัวในปี 1995 ด้วยเหตุผลว่าซอฟแวร์ฯใช้ประสิทธิภาพมากกว่าฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในเวลานั้น
9.Nintendo's Virtual Boy (ปี 1995)
ถือเป็นความล้มเหลวสินค้าฮาร์แวร์ครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของ Nintendo เหตุเกิดในช่วงปลายยุค 1800 ที่การออกแบบเครื่องเล่นเพื่อให้เล่นเกมส์เสมือนจริง แต่สินค้าที่ออกแบบมากลับมีรูปร่างไม่น่าสนใจและดูรกรุงรัง อีกทั้งกราฟฟิคที่ได้ยังมีความละเอียดต่ำ คอนเฟิร์มการเป็นสินค้าสุดFail ด้วยยอดขายไม่ถึง 1 ล้านชุด
10.McDonald's Arch Deluxe (ปี 1996)
สินค้าตัวนี้เกิดขึ้นในปี 1996 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดให้คนเข้าถึงวิถีคนเมืองด้วยสินค้าเกรดพรีเมี่ยม แต่ด้วยราคาที่ค่อนข้างแพงแม้จะแลกด้วยคำว่าพรีเมี่ยม ซึ่งแมคโดนัลใช้จ่ายเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์นี้ทั้งงบการตลาด แคมเปญต่าง ๆใช้เงินลงทุนกว่า 1 ร้อยล้านเหรียญแต่ผลที่ตอบแทนมาไม่คุ้มค่าแต่อย่างใด
11.Orbitz soda (ปี 1997)
มาเร็วไปเร็วแบบสุดๆสำหรับ Orbitz soda ที่ผลิตในปี 1997 ด้วยแพคเกจที่ดูเหมือนจะดี สวย น่าซื้อ แต่ทว่ารสชาติกลับไม่ถูกใจนักดื่มมากนัก แถมบางคอมเม้นต์ยังบอกว่ารสชาติเหมือนยาแก้ไอ สินค้านี้จึงหายไปจากตลาดในปีเดียวกับที่เปิดตัว
12.Frito-Lay WOW! Chips (ปี 1998)
ภาพจาก bit.ly/2V2JQLE
แม้จะได้ชื่อว่าเป็นสแนคระดับโลก และสินค้าหลายตัวก็ประสบความสำเร็จอย่างดีแต่ไม่ใช่ Frito-Lay WOW ที่เปิดตัวเมื่อปี 1998 โดยธีมของรสชาตินี้คือมันฝรั่งที่ไร้ไขมัน แต่ดันมีสารประกอบชื่อ Olestra ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่เกินกว่าจะถูกย่อยในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้คนรับประทานเกิดอาการท้องร่วง ปวดท้องไปตามๆกัน แทนที่จะ Wow ก็กลายเป็น Fail ทันที
13.Cosmopolitan Yogurt (ปี 1999)
Cosmopolitan คือแบรนด์นิตยสารชื่อดังและคนก็จำภาพของแบรนด์นี้ว่าคือนิตยสาร แต่จู่ๆเกิดนึกจะเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทก็มาผลิตโยเกิร์ตเพื่อหวังจำหน่ายแต่ดันใช้ชื่อแบรนด์ Cosmopolitan ที่คนจดจำว่าเป็นนิตยสาร กลายเป็นดาบสองคมที่โดนเชือดเต็มๆ เพราะคนไม่ฮิตและไม่สร้างกระแสให้ฟีเว่อร์แต่ดัน Fail แทน
14.Microsoft Zune (ปี 2006)
Zune ถูกสร้างมาเพื่อแข่งกับ iPod แต่แทนที่จะเป็นคู่แข่งกลับกลายเป็นแค่การโยนหินใส่กำแพง โดย Robbie Bach ผู้นำธุรกิจบันเทิงภายในบ้านและผู้ผลิตสินค้าตัวนี้ก็ยอมรับว่า เราหวังจะเป็นคู่แข่งกับ Apple แต่ศักยภาพสินค้าของเรายังไม่ถึงขั้นเป็นคู่แข่งได้ ทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่ยังไม่ตัดสินใจซื้อ Zune เพราะรู้สึกว่า iPod นั้นคุ้มค่าคุ้มราคามากกว่า
15.Mobile ESPN (ปี 2006)
ภาพจาก bit.ly/2mcZUIX
ESPN เปิดตัวในเดือนมกราคม 2006 ด้วยแนวคิดที่ต้องการนำเสนอเนื้อหาและวีดีโอ ESPN ที่พิเศษเฉพาะสำหรับเช่าเครือข่ายขาก Verizon Wireless เท่านั้นและเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในราคา 400 เหรียญ ซึ่งก็ดูว่าราคาจะค่อนข้างสูงเกินไปคนส่วนใหญ่จึงมองข้ามบริการนี้ไป
16.HD-DVD (ปี 2006)
ทางโตชิบาได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ตัวนี้ในเดือนมีนาคม 2006 ซึ่งขณะนั้นคู่แข่งสำคัญคือไมโครซอฟท์ที่ออกสินค้าอย่าง Xbox 360 ซึ่งเป็นเกมส์โซลยอดนิยมที่มี HD-DVD ของไมโครซอฟท์พ่วงมาด้วย แต่สุดท้ายกลับกลายเป็นค่าย Sony ที่ชนะในการตลาดนี้ด้วยสินค้าคือ Blu ray ที่เปิดตัวในปี 2008 เป็นเหตุให้โตชิบาล้มเลิกการจำหน่าย HD-DVD ในที่สุด
17.Joost (ปี 2007)
Joost แต่เดิมเรียกว่า The Venice Project ควรจะเป็นเครือข่ายทีวีแบบ เพียร์ทูเพียร์ แต่ทว่าคู่แข่งสำคัญอย่าง News Corp , NBC , Disney กลับทำได้ดีกว่าจนชื่อของ Joost ไม่เป็นที่จดจำแม้กระทั่งทุกวันนี้ชื่อนี้ก็ยังไม่คุ้นหูคนส่วนใหญ่แม้แต่น้อย
18.Google Lively (ปี 2008)
ภาพจาก cnet.co/2LeSjqB
Google สร้าง Lively มาเพื่อแข่งขันกับ Second Lift โลกเสมือนจริงที่ดูคล้ายกับเกม แต่เป็นเสมือนจริงที่ใช้สำหรับการโต้ตอบทางสังคม แต่ดูเหมือนว่าโปรเจคนี้ต้องใช้เงินสำหรับการลงทุนสูงมาก สวนทางกลับเศรษฐกิจในขณะนั้นที่ไม่สู้ดีนัก ทาง Google จึงตัดสินใจไม่ไปต่อกับโปรเจคนี้
19.JooJoo (ปี 2009)
ภาพจาก bit.ly/2L8ChOW
ในยุคของ iPad มีสินค้าอีกตัวที่ออกมาขณะนั้นในชื่อของ JooJoo โดยเปิดขายในราคา 499 เหรียญ แต่ก็เป็นอีกสินค้าตามกระแสที่ดูจะไม่ได้รับความนิยมสักเท่าไหร่ก่อนที่จะหายไปในตลาดในปี 2010 หลังการวางจำหน่ายได้แค่ 1 ปีเท่านั้น
20.The Nook (ปี 2009)
เป็นโปรแกรมที่เปิดตัวในปี 2009 แรก ๆก็ดูเหมือนจะดีได้รับความนิยมสูงช่วงเปิดตัว ในฐานะของ E reader แต่คู่แข่งอย่าง Amazon Kindle กลับเปิดตัวสินค้าในราคาไม่แพง แถมง่ายต่อการใช้งาน และยังเชื่อมต่อกับบัญชีดิจิทัลของ Amazon ได้ง่ายดาย เหตุนี้ Nook จึงตกกระป๋องไปตามระเบียบ
21.Qwikster (ปี 2011)
Qwikster เปิดตัวในเดือนกันยายน 2011 โดยเป็นธุรกิจเช่า DVD รวมถึงแผ่นเกมส์ให้เช่าถึงบ้านจาก Netflix แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ Qwikster ต้องบอกลาตลาดไปในระยะเวลาที่รวดเร็ว
22.HP Touchpad (ปี 2011)
ในยุค 2011 สินค้าหลายชนิดพยายามล้มตลาดของ iPad อย่าง HP Touchpad ก็เป็นอีกสินค้าที่พยามเช่นกัน แต่สุดท้ายก็ล้ม iPad ไม่ได้ มียอดขายเพียง 25,000 ชิ้นในเวลา 49 วัน แต่ทั้งนี้เชื่อว่าคนนิยมในความเป็น iPad ด้วยชื่อที่การันตีคุณภาพทั้งที่ความจริงคุณสมบัติต่างๆ ของ HP Touchpad และ iPad ก็ไม่ได้ต่างกันเลย
23.Facebook Home (ปี 2013)
เฟสบุ๊คสื่อสังคมออนไลน์ก็มีช่วงเวลาสุดFail กับบางโปรเจคที่คนไม่ฮิตอย่าง Facebook Home ที่พยายามจะเปลี่ยนหน้าจอโทรศัพท์ให้เป็นหน้าแรกของ Facebook แต่ผลที่ได้คือคนไม่นิยมและทำให้ยอดผู้ใช้งานของ เฟสบุ๊คลดลงอีกต่างหาก เพราะคนส่วนใหญ่มองว่าการทำให้โทรศัพท์มีหน้า Facebook Home แล้วทำให้การใช้งานด้านอื่นนั้นลำบาก
24.Amazon's Fire Phone (ปี 2014)
เป็นหนึ่งในความพยายามของ Amazon ที่จะขยายตลาดโทรศัพท์มือถือหลังจากเปิดตัวสินค้าใหม่ Amazon's Fire Phone ในปี 2014 กับเทคโนโลยีที่มองว่าเป็นจุดขายคือการสแกนใบหน้า และฟังก์ชั่นพร้อมใช้งานต่างๆ แต่ดูเหมือนว่าด้วยข้อจำกัดที่ตามมาอีกหลายอย่างทำให้สินค้าตัวนี้ต้องหลุดจากตลาดหลังจากวางขายได้เพียงแค่ 13 เดือนเท่านั้น
25.Samsung's Galaxy Note 7 (ปี 2016)
เหตุผลของสินค้าสุด Fail ตัวนี้คือมาตรฐานในการผลิตที่ผู้ใช้ประสบพบเจอปัญหาหลายอย่างเช่น เครื่องร้อนแบบไม่มีสาเหตุ , เครื่องระเบิด ทำให้ผู้ผลิตต้องเรียกคืนสินค้านี้ทั้งหมดหลังจากเปิดตัวผลิตภัณฑ์ได้ไม่นาน
เป็นเรื่องธรรมดาของการแข่งขันทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการเองก็ต้องพยายามคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อเปิดตลาด ซึ่งก็มีทั้งที่ลูกค้ายอมรับและลูกค้าไม่ยอมรับ มียอดขายที่ได้หรือบางทีก็ขาดทุนกับสินค้านั้นๆ แต่สิ่งที่ลูกค้าจะรับรู้ได้คือแบรนด์นั้นๆจะอยู่ในความทรงจำเสมอ ดีกว่าไม่คิดอะไรใหม่ๆ ออกสู่ตลาด สุดท้ายแบรนด์สินค้าก็จะเป็นที่ลืมเลือนไปเรื่อยๆ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน ติดตามได้ที่ Add LINE id: @tfcacademy
อัพเดทและติดตามข่าวสารได้ที่
Line : @thaifranchise
Twitter : @thaismecenter
Twitter : @thaifranchise
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3I3qz3b
โฆษณา