16 พ.ค. 2023 เวลา 00:25 • หุ้น & เศรษฐกิจ

SINGER Q1/66 ขาดทุน 843 ลบ. จากอะไร มาอ่านกัน

ความกังวลในงบปี 65 จะเป็นเรื่อง NPL ของเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่น ๆ ที่มี NPL ประมาณ 600 ลบ. และ NPL ต่อยอดสินเชื่อส่วนนี้ 12% มีการตั้ง ECL ไว้ 405 ลบ. และสินค้าคงเหลือที่เป็นสินค้ายึดคืน เพิ่มขึ้น 1,000 ลบ. แต่ตั้งค่าเผื่อด้อยค่าไว้ 50 ลบ. อ่านเพิ่มเติมงบปี 65 ของ SINGER จากโพสนี้นะ https://doctorwanttime.com/2023/05/07/singer-npl-และสินค้ายึดคืน-น่ากั/
SINGER บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในบ้านต่างๆ นอกจากนี้ยังจำหน่ายสินค้าเชิงพาณิชย์ เช่น เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตร ตู้เติมเงินโทรศัพท์มือถือออนไลน์ ตู้เติมน้ำมันแบบหยอดเหรียญ มากกว่า 80% ของยอดขายเป็นการขายแบบเช่าซื้อ โดยบริษัทให้เช่าซื้อผ่านทาง บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (ชื่อย่อหุ้น SGC) ซึ่ง บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 99.99%
เวลาดูงบของ SINGER หรือ SGC ที่เป็นบริษัทลูก จะมีคำว่า “เช่าซื้อ” ซึ่งก็คือ ให้ของไปใช้ก่อนและให้ลูกหนี้ค่อยๆ ผ่อน และ ”ให้กู้ยืม”เช่น จำนำทะเบียนรถ โดยทำผ่านบริษัทลูก SGC
การจัดชั้นลูกหนี้
ระดับแรก เงินให้สินเชื่อที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต(performing) คือ ลูกหนี้ที่ไม่ได้ผิดชำระหนี้
ระดับ 2 เงินให้สินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (under-performing) คือ ลูกหนี้ค้างชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นเกินกว่า 30 วัน.และ
ระดับ 3 เงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (non-performing; NPL) สินเชื่อที่ผิดชำระหนี้หนี้เกิน 3 เดือนติดต่อกัน ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย/ สาญสูญ เลิกกิจการ ล้มละลาย ไม่สามารถเรียกชำระหนี้คืนได้ หรือคุณภาพของลูกหนี้มีการเสื่อมถอยลงอย่างมีนัยสำคัญ
จากระดับของลูกหนี้ก็จะคิดคำนวณออกมา เป็น ผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss; ECL) หรือที่เรียกว่าการตั้งสำรองเมื่อก่อน ซึ่ง ECL ก็จะมาเป็นตัวหักออกจากรายได้ และส่งผลต่อกำไรสุทธิของบริษัท
งบ Q1/66 มาดูกัน
สิ้นไตรมาส 1/66 ยอดสินค้ายึดคืนยังพอๆ เดิม แสดงว่าของที่ยึดคืนมายังไม่ได้ระบายไปเท่าไหร่ จึงมีการหักค่าเผื่อผลขาดทุนจากมูลค่าที่ลดลง เพิ่มขึ้นมา 435 ลบ. จากครั้งก่อนที่ตั้งไว้ 50 ลบ. ซึ่งจะไปอยู่ที่ต้นทุนขาย สินค้ายึดคืน ก็คือ สินค้าที่ลูกค้านำไปใช้แล้วผ่อนไม่ไหว บริษัทก็ไปยึดสินค้าคืนมา
ตรงนี้คงต้องตามต่อว่า ของจะระบายออกได้มากน้อยแค่ไหน ที่ตั้งด้อยค่าสินค้ายึดคืนเหล่านี้เพียงพอไหม
ปัญหา NPL หรือหนี้สิน และ ECLไตรมาส 1/66 ไตรมาสเดียวขาดทุนจากผลขาดทุนด้านเครดิตไป 952 ลบ. ซึ่งเป็นส่วนเช่าซื้อ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่น ๆ 884 ลบ. ลองเข้าไปดูในหมายเหตุงบ ในลูกหนี้ส่วนนี้กัน
สิ้นไตรมาส 1/66 NPL 1,709 ลบ. เพิ่มจากสิ้นปี 65 ที่ 600 ลบ. แสดงว่า มีการเปลี่ยนชั้นของลูกหนี้จากชั้นที่ 2 (under-performing) มาเป็นชั้นที่ 3 หรือ NPL เพิ่ม และยังมีลูกหนี้ในชั้นที่ 2 อีก 1,089 ลบ.
คงต้องติดตามเรื่อง NPL ว่าบริษัทจะเคลียร์ยังไง และเร่งระบายสินค้ายึดคืน
#ผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น #ECL #ลูกหนี้ #สินค้าคงเหลือ #ตั้งสำรอง #SINGER #งบการเงิน #หุ้น #ลงทุนหุ้น #SGC
.
โฆษณา