17 พ.ค. 2023 เวลา 02:43 • การเมือง

จีนกับฟิลิปปินส์ทะเลาะกัน (1)

โดย
นิติการุณย์
มิ่งรุจิราลัย
ตอนนี้มีการยุยงส่งเสริมให้ท้ายประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีปัญหากับจีนให้สร้างประเด็นปัญหาในหลายประเทศ
2
ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ แสดงท่าทีออกมาแล้วว่าอยากจะร่วมมือด้านกลาโหมกับสหรัฐฯมากกว่าที่เป็นอยู่
หลังจากที่แสดงท่าทีว่าอยากจะคบค้าสมาคมกับสหรัฐฯมากขึ้น PCG หรือหน่วยยามฝั่งฟิลิปปินส์ได้นำทุ่นลอยน้ำ 5 ทุ่นที่มีธงชาติฟิลิปปินส์ปักอยู่ไปติดตั้งใน EEZ หรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล
1
โดยไปติดตั้งในระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2023 ก่อนหน้าที่อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ นางลิซ ทรัสส์ จะเดินทางไปเยือนไต้หวัน ซึ่งมีแนวโน้มว่านางทรัสส์อาจจะไปกล่าวสุนทรพจน์ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2023 ที่กรุงไทเป
การเยือนและการกล่าวสุนทรพจน์ของนางทรัสส์ อาจจะเป็นแผนการยั่วยุจีนให้ออกมาต่อต้าน
นอกจากไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นแล้ว สหรัฐฯยังหาพันธมิตรที่เคยมีเรื่องมีราวกับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ ประเทศหนึ่งซึ่งมีกรณีพิพาทแรงกับจีนคือฟิลิปปินส์
ทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางคมนาคมสายหลัก ซึ่งเส้นทางสายนี้จะทำให้สหรัฐฯมีอิทธิพลต่อจีนเพราะผ่านทะเลจีนใต้ และเป็นจุดที่เชื่อมโยงมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียของ US Pacific Command หรือกองกำลังภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐฯ
1
หากคุมพื้นที่บริเวณนี้ได้ สหรัฐฯก็สามารถเคลื่อนกองกำลังโดยตรงจากสหรัฐฯ และจากฐานทัพสหรัฐฯที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ เกาะกวม และที่ญี่ปุ่น มาซัดกับจีนได้
1
10 มีนาคม 2009 ฟิลิปปินส์ออกกฎหมายประกาศเส้นฐานหมู่เกาะ โดยรวมเอาพื้นที่บริเวณหมู่เกาะกาลายานและสันดอนสคาร์โบโร ให้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนฟิลิปปินส์
1
ต่อมา 4 สิงหาคม 2009 ฟิลิปปินส์ได้ยื่นคำขอขยายเขตไหล่ทวีปของตนออกไปเกินกว่า 200 ไมล์ทะเลในบริเวณแนวหินเบนลาร์น ไรส์ในทะเลฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์และจีนมีเรื่องระหองระแหงกันมาหลายครั้งหลายครา
อย่างเช่นเมื่อเดือนมีนาคม 2011 เรือตรวจการจีน 2 ลำคุกคามเรือสำรวจน้ำมันของบริษัทอีเนอร์จีฟอรัมที่ได้รับสัมปทานจากฟิลิปปินส์ ซึ่งจีนเคยคัดค้านการให้สัมปทาน
จีนอ้างว่าเป็นพื้นที่ที่มีการอ้างสิทธิของพื้นที่โดย 3 ประเทศคือ จีน ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ฟิลิปปินส์เองตะโกนก้องร้องบอกจีนว่า นี่มันพื้นที่ของข้าฯ ที่ข้าฯ ให้สัมปทานน่ะ อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเลที่ข้าฯ เป็นเจ้าของ
1
เดือนถัดมา ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ออกคำสั่งว่า ต่อไปนี้เมื่อจะมีการพูดถึงน่านน้ำบริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ ก็ขอให้ใช้คำว่า West Filippine Sea หรือทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก
1
จีนก็ไม่ยอมเหมือนกัน อีก 2 เดือนต่อมาจีนก็ใช้เรือตรวจการณ์ขนอุปกรณ์ก่อสร้างในบริเวณที่ฟิลิปปินส์อ้างสิทธิเหนือลักษณะภูมิสัณฐาน
2
ทั้งจีนและฟิลิปปินส์ฮึ่มฮั่มกันหลายครั้ง ฟิลิปปินส์บวกลบคูณหารแล้ว ตัวเองเป็นประเทศเล็ก ถ้าจะใช้กำลังกับจีนก็จะแย่แน่ อย่ากระนั้นเลย พึ่งศาลดีกว่า
2
22 มกราคม 2013 รัฐบาลฟิลิปปินส์จึงยื่นฟ้องจีนต่อศาลอนุญาโตตุลาการ
1
หลายคนถามว่า อ้าว ทำไมทำอย่างนี้ล่ะ
ฟิลิปปินส์ตอบว่า ข้าฯ ไม่มีทางเลือกอื่นเพราะข้าฯ ได้ใช้วิธีการระงับข้อพิพาทในทางการทูตหรือในทางการเมืองจนจบสิ้นแล้ว ฟิลิปปินส์เสนอเรื่องอะไรไป จีนไม่เคยเข้าร่วมหารือในเรื่องต่างๆ ที่ฟิลิปปินส์เสนอไปเลย
1
จีนเองก็รู้ว่าสหรัฐฯ อังกฤษ และออสเตรเลียจะใช้ความขัดแย้งระหว่างตนกับฟิลิปปินส์ดึงฟิลิปปินส์ไปเป็นพวก
จีนจึงตอบฟิลิปปินส์ว่า เราอย่ามีเรื่องกันเลย รัฐบาลจีนยึดมั่นต่อการระงับข้อพิพาทระหว่างจีนและฟิลิปปินส์โดยสันติวิธี ผ่านการเจรจาหารือกัน ซึ่งมีรายละเอียดต่างๆ ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของรัฐภาคีในทะเลจีนใต้ที่เรียกว่า DOC
2
จีนรู้ว่าสหรัฐฯและพันธมิตรมีอิทธิพลที่เกี่ยวดองหนองยุ่งกับศาล จีนก็เลยแก้ไขปัญหานี้เสียแต่แรก ด้วยการประกาศว่าจุดยืนของจีนมีดังต่อไปนี้
1.ไม่ยอมรับ
1
และ 2.ไม่ขอเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ เพราะจีนไม่มีส่วนร่วมในการก่อตั้งศาลนี้
2
เรื่องยังไม่จบ พรุ่งนี้มาว่ากันต่อครับ.
2
โฆษณา