📍เทคนิคดูแลไฝและขี้แมลงวันด้วยเลเซอร์ Carbondioxide Laser (CO2 Laser)

📍เทคนิคดูแลไฝและขี้แมลงวันด้วยเลเซอร์ Carbondioxide Laser (CO2 Laser) ร่วมกับกล้องส่องขยายพิเศษ Dermoscope เพื่อช่วยวินิจฉัยและรักษา https://bit.ly/3MwRF5i
🔬ไฝและขี้แมลงวันต่างกันอย่างไร
•ไฝเกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์ไฝ (Nests of melanocytes) มีลักษณะนูนขึ้นมาจากผิวหนัง พบว่าไฝบางชนิดไม่มีสี ไปจนถึงสีน้ำตาลหรือสีดำ
•ส่วนขี้แมลงวันจัดเป็นไฝชนิดหนึ่ง แต่จะมีลักษณะเรียบไปกับผิวหนัง อยู่ในชั้นผิวหนังตื้นมีทั้งสีน้ำตาลและดำ
🧬ไฝและขี้แมลงวันแบบไหนที่ไม่ควรมี
•โดยปกติไฝและขี้แมลงวันจะมีผลในเรื่องของความสวยความงาม หากปรากฏในบริเวณที่มองเห็นได้ง่าย เช่น ใบหน้า ลำคอ แขน ขา ซึ่งบางคนเชื่อว่าไฝและขี้แมลงวันที่ขึ้นตามจุดต่างๆ ของร่างกายมีผลต่อการใช้ชีวิต มีแล้วไม่เป็นมงคลก็มักจะกำจัดออก
•แต่ไฝบางประเภทอาจกลายเป็นมะเร็งของผิวหนังได้ สาเหตุที่แน่นอนยังไม่ทราบแน่ชัด ส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ผิวหนังถูกกับสิ่งกระตุ้นเป็นเวลานานๆ เช่นถูกแสงแดดจัดๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี ถูกถูไถจนเป็นแผลเป็นเวลานาน หรือ ถูกสารเคมี เป็นต้น
🧬ลักษณะไฝที่ต้องเฝ้าระวังซึ่งมีโอกาสเป็นเนื้อร้ายได้โดยใช้ ABCDE Rules คือ
1. Asymmetry เมื่อแบ่งครึ่งจะไม่สมมาตร ครึ่งหนึ่งของไฝจะแตกต่างจากอีกด้านหนึ่ง
2. Border ขอบเขตของไฝไม่สม่ำเสมอ ขอบเขตไม่ชัดเจน
3. Color มีหลากหลายสีหรือสีไม่สม่ำเสมอ
4. Diameter ขนาดใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร
5. Evolving ไฝที่มีการเปลี่ยนแปลงของสี รูปร่าง ขนาด โตเร็วผิดปกติ หรือ มีเลือดออก
ในกรณีนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา
🔬เทคนิคการใช้กล้องส่องขยายพิเศษ Dermoscope ในการวินิจฉัยและรักษาไฝด้วยเลเซอร์
Dermoscopy เป็นเทคนิคสำหรับแพทย์ผิวหนังที่มีประโยชน์อย่างมากครับสามารถช่วยวินิจฉัยและติดตามการรักษาโรคผิวหนังหลายหลายโรค
•สำหรับไฝสามารถใช้ตรวจลักษณะของไฝก่อนทำการรักษาด้วยเลเซอร์ว่ามีลักษณะที่มีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนังหรือไม่ long-term surveillance with digital dermoscopy
•ปัจจุบันยังมีเทคนิคDermoscopy ในการตรวจระหว่างการรักษาด้วยเลเซอร์เพื่อดูว่าเราสามารถกำจัดไฝได้หมดแล้วหรือยัง Intratherapeutic dermoscopy assists nevus removal by laser therapy เพื่อลดการเป็นซ้ำของไฝ และไม่ต้องยิงเลเซอร์ลึกเกินไปเพื่อโอกาสเกิดแผลเป็น
💊การรักษาไฝและขี้แมลงวัน สามารถรักษาได้หลายวิธี เช่น
•การจี้ไฟฟ้า (Electrocautery) โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นให้ไฝหรือขี้แมลงวัน เพื่อให้เซลล์ค่อยๆ แห้งและสลายตัวไป
•การแต้มกรด TCA (Trichloroacetic Acid) เข้าไปทำปฏิกิริยากับไฝและขี้แมลงวันให้เกิดการกัดกร่อนและหลุดออกมา
•การผ่าตัด Surgical Excision ในกรณีที่ไฝมีขนาดใหญ่และฝังลึกลงไปใต้ผิวหนัง
•และวิธีการที่นิยมมากที่สุดคือการใช้ คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ CO2 Laser* หรือ Erbium YAG Laser
•ขั้นตอนการดูแลด้วยเลเซอร์
•โดยจะมีการทายาชา ซึ่งช่วยให้ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บในขณะยิงเลเซอร์
•ใช้เวลารวดเร็วและสามารถกำจัดไฝและขี้แมลงวันออกได้ครั้งละหลายๆ เม็ด
•หลังจากทำเสร็จแพทย์จะทายาป้องกันการติดเชื้อ และปิดพลาสเตอร์ไว้เพื่อป้องกันแผลโดนน้ำ
•ซึ่งรอยแผลจะค่อยๆ หายไปประมาณ 3 – 4 สัปดาห์
•หลังการรักษาแผลจะเป็นสเก็ดอยู่ประมาณ 5-7 วัน
•การดูแลผิวหลังทำเลเซอร์หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งที่ไม่จำเป็นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อลดโอกาสการเกิดรอยคล้ำ
•หลังจากการรักษาด้วยเลเซอร์แล้วเกิดมีไฝขึ้นมาที่ตำแหน่งเดิมอีก เนื่องจากอาจมีเซลล์ไฝหลงเหลืออยู่ได้บ้างก็สามารถทำการยิงซ้ำได้
CO2 laser is effective in completely removing small acquired junctional melanocytic nevus. Furthermore, dermatoscopy appears to be helpful for monitorization of the nevi in the follow-up period.
Cheng CY. Intratherapeutic dermoscopy assists nevus removal by laser therapy. Indian J Dermatol Venereol Leprol 2020;86:604-5.
#เลเซอร์ไฝ #รักษาไฝ #ขี้แมลงวัน #เลเซอร์ขี้แมลงวัน #คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ #co2laser #co2lasertreatment #dermoscopy
#หมอรุจชวนคุย 👨‍⚕️😉🔬
โฆษณา