Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
22 พ.ค. 2023 เวลา 03:00 • ธุรกิจ
รู้จัก “Contract Farming” สัญญาที่บริษัทใหญ่ ใช้กับเกษตรกร
“ราคาผันผวน คุณภาพไม่ได้ ผลผลิตไม่พอ”นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น ของเกษตรกรไทย ที่ต้องเจอในแต่ละฤดูกาล
1
ธุรกิจในอุตสาหกรรมเกษตร จึงเลือกที่จะใช้วิธี Contract Farming กับเกษตรกร โดยการรับซื้อด้วยราคา และปริมาณผลผลิตที่แน่นอน
เรื่องนี้ก็เหมือนจะดี ตรงที่เกษตรกรจะมีรายได้และตลาดที่แน่นอน แต่เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ เพราะเกษตรกรที่เลือกใช้วิธีนี้ ก็อาจมีผลเสียได้เช่นเดียวกัน
1
Contract Farming คืออะไร ? ข้อดีและข้อเสีย ที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรเป็นอย่างไร ?ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
โดยทั่วไป เกษตรกร จะเป็นผู้แบกรับการลงทุนเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าอาหารสัตว์
จากนั้นเมื่อได้ผลผลิต จึงค่อยนำมาขายให้กับคนที่อยากได้
แต่การผลิตแบบนี้ ทำให้เกษตรกรต้องเจอกับความเสี่ยงมากมาย ตัวอย่างเช่น
- ความเสี่ยงด้านราคา เกษตรกรจะไม่รู้ราคาขายที่แน่นอน ทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุน หากในปีนั้นราคาผลผลิตตกต่ำ
- ความเสี่ยงด้านตลาดหากในปีนั้น ตลาดมีความต้องการน้อยลง กลายเป็นว่าผลผลิตล้นตลาด และเกษตรกรเองก็ไม่รู้ว่าจะต้องนำผลผลิตไปขายที่ไหน
- ความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติ น้ำน้อย น้ำมาก แห้งแล้ง เป็นเรื่องธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้ และทำให้ผลผลิตทางเกษตรกรรมเสียหายได้
- ความเสี่ยงด้านวัตถุดิบในแต่ละปี ราคาวัตถุดิบมีความผันผวนสูง เช่น ค่าอาหารสัตว์ ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ ทำให้เกษตรกรควบคุมต้นทุนการผลิตในแต่ละปีได้ยากมาก
ในอีกฝั่ง ซึ่งเป็นคนที่อยากรับซื้อผลผลิต เช่น บริษัทแปรรูปผลผลิตทางเกษตรกรรม ก็ไม่อยากที่จะรับความผันผวนของราคารับซื้อมากเกินไป
จึงเป็นที่มาของระบบ Contract Farming หรือเกษตรพันธสัญญา ซึ่งบริษัทการเกษตรขนาดใหญ่ ตกลงกับเกษตรกรว่า จะรับซื้อในปริมาณและราคาผลผลิตที่แน่นอนไว้
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เกษตรกรทุกรายจะมีความพร้อมเหมือนกันหมด ทำให้ในปัจจุบัน ระบบซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า มีทั้งหมด 3 รูปแบบด้วยกัน
รูปแบบแรกเลย คือ “ระบบประกันรายได้”
ระบบนี้จะเหมาะกับเกษตรกรรายย่อย ที่ไม่มีเงินทุนสูง เพราะบริษัทใหญ่จะเป็นผู้ลงทุนวัตถุดิบให้ทั้งหมด เกษตรกรมีหน้าที่แค่ผลิตและดูแลให้ก็พอ
1
การทำแบบนี้จึงไม่ต่างอะไรกับการเช่าพื้นที่ฟาร์ม ซึ่งบริษัทใหญ่ลงทุนเองทั้งหมด และจ่ายเงินรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรด้วย
รูปแบบต่อมา คือ “ระบบประกันราคา”
ในระบบนี้ ต้องเป็นเกษตรกรที่มีเงินทุนอยู่บ้าง โดยบริษัทใหญ่จะจัดหาวัตถุดิบและขายให้เกษตรกร จากนั้นจึงจ่ายเงินส่วนต่างระหว่างราคารับซื้อและต้นทุน
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าวัตถุดิบมีราคาทั้งหมด 6,000 บาท และบริษัทใหญ่รับซื้อจากเกษตรกรทั้งหมด 10,000 บาท เท่ากับว่า เกษตรกรก็จะได้รับเงิน 4,000 บาทนั่นเอง
และรูปแบบสุดท้าย คือ “ระบบประกันตลาด”
1
ระบบนี้จะใช้กับเกษตรกรที่มีเงินทุน และมีความพร้อมสูง เพราะบริษัทใหญ่จะไม่จำเป็นต้องจัดหาวัตถุดิบให้แก่เกษตรกร แต่สามารถมารับซื้อผลผลิตหน้าฟาร์มกับเกษตรกรได้เลย
จากทั้ง 3 รูปแบบของ Contract Farming จะเห็นได้ว่าเกษตรกรสามารถลดความเสี่ยงไปได้มาก โดยเฉพาะการหาตลาดและราคารับซื้อ
1
และข้อดีอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ เกษตรกรก็สามารถแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เทคนิคการผลิต การจัดการฟาร์มจากบริษัทใหญ่ เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้นได้
1
ซึ่งในประเทศไทย ก็มีบริษัทจดทะเบียนเพื่อทำสัญญาเกษตรในระบบนี้มากกว่า 400 ราย กระจายทั้งในกลุ่มพืชสวน พืชไร่ ปศุสัตว์ หรือสัตว์น้ำ
ตัวอย่างก็เช่น บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ก็ใช้ระบบนี้ในการซื้อเนื้อสัตว์ล่วงหน้ากับเกษตรกรมากกว่า 5,900 รายเลยทีเดียว
แต่ระบบนี้ก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อดีเสมอไป เพราะหากราคาสินค้าเกษตรปรับขึ้นมากกว่าราคาในสัญญา เกษตรกรเองก็เสียโอกาสที่จะได้เงินเพิ่มเติมเช่นกัน
1
นอกจากนี้ เกษตรกรจำเป็นต้องลงทุนปรับปรุงพื้นที่ของตัวเอง เพื่อให้การผลิตได้มาตรฐาน จึงทำให้ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร
2
โดยหากเป็นเกษตรกรรายเล็ก หรือผู้ที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ก็จะไม่มีโอกาสทำได้มากนัก ด้วยข้อจำกัดด้านเงินลงทุนและค่าเช่าที่ต้องจ่าย
อย่างไรก็ตาม Contract Farming ก็เป็นระบบที่ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งฝั่งธุรกิจที่สามารถควบคุมต้นทุนอาหารผ่านราคาและคุณภาพรับซื้อ
1
และเกษตรกรก็ได้ตลาดรับซื้อและรายได้ที่แน่นอน เรียกได้ว่า ลดความเสี่ยงที่จะขาดทุน เพราะไม่ต้องเจอปัญหาความผันผวนของราคารับซื้อ
แต่ก็ต้องบอกว่า ไม่ใช่เกษตรกรทุกคนที่จะเหมาะกับระบบนี้ เพราะจริง ๆ แล้ว ระบบนี้ก็มีความท้าทายซ่อนอยู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับเกษตรกรเองว่าจะเลือกวิธีไหน ที่เหมาะสมกับตนเอง..
1
ใครอยากมีความรู้เรื่องตลาดหุ้น ลงทุนแมนแนะนำ หนังสือ BLACK SWAN เล่มนี้ ราคา 380 บาท ที่เล่าถึงความล้มเหลวก่อนที่จะสำเร็จของนักลงทุนในตำนาน 12 คน สามารถสั่งซื้อ ได้ที่
Shopee:
https://shopee.co.th/product/116732911/22304620261
Lazada:
https://www.lazada.co.th/products/i4249762626.html
References
-
https://contractfarming.moac.go.th/v2/index.php?module=biz&view=html&handle=listb&menutop=biz-https://repaythailand.com-https://mgronline.com/business/detail/9650000007493-https://qsds.go.th/wp-content/uploads/2020/09/1FileN.pdf-http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/Image/b/all/all60.pdf-https://www.cpfworldwide.com/th/media-center/906
ธุรกิจ
24 บันทึก
39
1
18
24
39
1
18
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย