20 พ.ค. 2023 เวลา 13:11 • บ้าน & สวน

เสน่ห์บ้านไม้เก่า คุณค่าเหนือกาลเวลา

แบบบ้านไม้เก่ายังคงได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย นั่นเพราะไม้เป็นวัสดุที่มีเสน่ห์ในตัวเอง โดยเฉพาะไม้เก่า นอกเหนือจากความสวยงามแล้ว ยังตอบโจทย์เรื่องคุณค่าทางใจ ราคาที่เอื้อมถึงได้ และความคุ้มค่าในการนำมาใช้งาน
คุณลักษณะที่ดีของไม้เก่ามักจะไม่ยืดหด เพราะผ่านกาลเวลามานานแล้ว อย่างไรก็ตามหากจะนำไม้เก่ามาใช้ อาจต้องปรับสภาพและแต่งผิวให้สำเร็จเสียก่อนจึงจะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเสน่ห์ที่แฝงอยู่ทำให้ยังเป็นที่นิยมนำมาใช้สร้างหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอาคาร ไม่ต่างจากวัสดุอื่นๆ เราได้รวมแบบบ้านไม้เก่า ที่ออกแบบได้อย่าสวยงาม อบอุ่น น่าอยู่ มาให้ชมกัน
บ้านไม้ชั้นเดียวที่เปิดรับแสงและลมธรรมชาติเจ้าของ : คุณนราวัลย์ (ราชสีห์) และคุณอภิชัย วังตระกูล Goodolddaysออกแบบ : คุณอภิชัย วังตระกูล และ AECStudio
บ้านไม้ชั้นเดียวรูปทรงจั่วไทยๆ ที่เรียบง่าย โดยยกสูงจากพื้นดินเล็กน้อยเพื่อให้ลมหมุนเวียนช่วยคลายความร้อนของตัวบ้าน และเผื่อให้เป็นทางน้ำไหลผ่านได้ อีกทั้งยังใช้เป็นที่เก็บของได้ด้วย >> อ่านต่อที่ www.baanlaesuan.com/272712/houses/goodolddayhouse
“ไปยาลน้อย” เกสต์โฮม จังหวัดเชียงใหม่ อ้อมกอดอุ่นๆ ในบ้านหลังเล็ก
บ้านไม้ขนาดเล็กน่ารักหลังนี้คือ ไปยาลน้อย เกสต์โฮม ที่พักเล็ก ๆ ภายในซอยวัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งแฝงกลิ่นอายชนบทที่ดูเก๋แบบมีรสนิยม เลือกใช้ไม้เก่าป็นหลักทั้งประตู หน้าต่าง ช่องลม และช่องแสงต่าง ๆ ราคาทั้งหมดไม่ถึงสองหมื่นบาท แต่ราคาที่ถูกมากก็ต้องแลกมาด้วยสภาพที่ค่อนข้างเก่าและทรุดโทรม ต้องนำมาทำสีและซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดใหม่ ซึ่งถือว่าคุ้มค่าเพราะต้นทุนที่ถูกตั้งแต่แรก
ทั้งยังเป็นงานไม้ยุคเดิมที่หาลวดลายแบบนี้ไม่ได้อีกแล้ว แน่นอนว่าการเลือกใช้ของเก่าเป็นหลักนั้นทำให้ไม่สามารถลงรายละเอียดในแบบก่อสร้างแต่แรก ดังนั้นเมื่อได้ของทั้งหมดมาแล้วจึงต้องหาตำแหน่งให้เหมาะสมอีกครั้งหน้างาน โชคดีที่มีสล่ารู้ใจและทำงานด้วยกันมานาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ขั้นตอนการก่อสร้างเป็นเรื่องง่าย และรวดเร็ว >> อ่านต่อที่ www.baanlaesuan.com/183039/design/lifestyle/pai-yan-noi-guesthome
บ้านทิตา บ้านไม้พื้นถิ่นใต้ถุนสูงของสถาปนิกในบทบาทผู้อยู่อาศัย
ออกแบบ : ยางนา สตูดิโอ
แบบบ้านไม้เก่า ที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือดั้งเดิมที่มีลักษณะยกใต้ถุนสูง นำมาออกแบบร่วมกับการยกใต้ถุนเตี้ย เพื่อให้เด็กเเละคนเฒ่าคนแก่เข้าถึงได้ง่าย สามารถหยิบจับของใช้ได้สะดวกจากด้านล่าง รวมถึงเป็นพื้นที่สำหรับเก็บเครื่องมือทางการเกษตรเเละวัตถุดิบที่ใช้ในครัวเรือน ส่วนใต้ถุนสูงกลายเป็นพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำเวิร์กช็อปไม้เเละพื้นที่นั่งเล่น >> อ่านต่อที่ www.baanlaesuan.com/291650/houses/vernacular-wood-house
บ้านไม้ชั้นเดียวภายใต้โรงเลี้ยงหมูเก่า
เจ้าของ : คุณปานเดช บุญเดช และคุณรุ่ง ตั้งตะธารากุล
ออกแบบ : บริษัทยางนา สตูดิโอ จำกัด โดยคุณเดโชพล รัตนสัจธรรม
ตกแต่ง : คุณปานเดช บุญเดช
บ้านไม้หลังนี้ชื่อ “ขนำน้อย”สร้างขึ้นใหม่ภายใต้โครงสร้างโรงเลี้ยงหมูเดิมที่เป็นอาคารรูปทรงยาวทอดตัวจากทิศตะวันออกไปตะวันตกและมีช่องว่างระหว่างหลังคา โดยบ้านใหม่มีโครงเป็นเหล็กทำกันสนิมและทาสีแบบไม่เคลือบผิว เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติกลมกลืนไปกับเปลือกอาคารที่ประยุกต์จากรูปแบบท้องถิ่น
รวมไปถึงความงามของตัวอาคารที่ล้อกับโครงสร้างหลังคาเดิมซึ่งลดหลั่นกันไป ทางทิศเหนือมีระเบียงทางเดินยาวเชื่อมกับพื้นที่ทำงานและเรือนเพาะชำ พร้อมกับสวนขนาดกว้างเพื่อใช้เป็นพื้นที่ฝึกสุนัขและเป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่สีเขียวของบ้าน นอกเหนือไปจากต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงากับตัวบ้านอย่างเป็นธรรมชาติ >> อ่านต่อที่ www.baanlaesuan.com/290818/houses/simple-wood-house
เรียบเรียง : Tarnda
ภาพ : คลังภาพบ้านและสวน
คลังสาระความรู้เรื่องบ้านและพรรณไม้ยังมีอีกมากมาย อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ www.baanlaesuan.com
โฆษณา