25 พ.ค. 2023 เวลา 01:56 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Yield to maturity (YTM) คิดมายังไง มีเครื่องมืออะไรง่ายๆ ที่ช่วยคิดได้??

ในการลงทุนตราสารหนี้ เราจะได้รับดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้หน้าตั๋ว (coupon rate) ในระหว่างที่ถือ และได้รับเงินตามที่ระบุไว้หน้าตั๋ว (par value) เมื่อครบกำหนดอายุสัญญา
และบางครั้งเราไม่ได้ซื้อมาที่ราคาหน้าตั๋ว แต่ซื้อมาในราคาที่สูงหรือต่ำกว่าราคาที่ระบุไว้ เช่น การซื้อขายหุ้นกู้หรือพันธบัตรในตลาดรอง (ซื้อต่อมาเป็นมือสอง)
การคิดผลตอบแทน ถ้าจะคิดแบบง่ายๆ ก็จะเป็นวิธีที่เรียกว่า การวัดอัตราผลตอบแทนปัจจุบัน (Current Yield) จะคิด โดยนำดอกเบี้ย (Coupon) ที่จะได้รับหารด้วย ราคาของตราสารหนี้ เช่น เราซื้อหุ้นกู้มา 1,050 บ. อายุ 3 ปี, par value 1,000 บ. , coupon rate 6% เราจะได้รับเงินปีละ 60 บ. (coupon rateX par value) คิด current yield 60/1,050 = 5.71%
จะเห็นว่า ถ้าเราซื้อแพงกว่าราคาหน้าตั๋ว ผลตอบแทนที่ได้จะต่ำกว่า coupon rate
แต่การคิดแบบนี้ไม่คิดถึงมูลค่าของเงินตามเวลา และเงินที่เราได้รับเมื่อครบกำหนดอายุตาม par value ซึ่งอาจสูงหรือต่ำกว่าราคาที่เราซื้อมา (Capital Gain or Loss) จึงมีการคิดที่เรียกว่า อัตราผลตอบแทนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน (Yield to Maturity; YTM)
จากที่เคยเล่าว่า ราคาตราสารหนี้นั้น จะคิดถึงกระแสเงินสดที่ได้รับออกมาในช่วงเวลาที่ถือ และจะเงินคืนตาม par value ปรับด้วยอัตราคิดลด โดยใช้หลัการของมูลค่าของเงินตามเวลา https://www.facebook.com/DoctorWantTime/posts/765869544897875
FV = PV (1+r)^t
FV คือเงินในอนาคต PV เงินปัจจุบัน r ผลตอบแทนที่ได้รับ t คือเวลา
ถ้าต้องการปรับเงินในอนาคตกลับมาเป้ฯปัจจุบัน ก็จะทำได้แบบนี้
PV = FV/ (1+r)^t
คราวนี้ถ้าเรารู้ราคาที่เราซื้อ รู้เงินที่ได้รับมาในแต่ละช่วงเวลา เราก็จะหา yield หรืออัตราการคิดลดได้
ถ้าใครเคยใช้เครื่องคิดเลขที่มี function TVM (time value of money) การกำหนดค่าตัวแปรต่างๆ 5 ตัว ราก็คีย์ค่า 4 ตัว เพื่อหาอีกตัวได้
N = time to maturity ถ้ามีการจ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อปี ครบกำหนดอายุ 3 ปี ค่าตรงนี้จะต้องคีย์เป็น 3x2 = 6 นะ
I/Y = YTM ถ้าเราต้องการหาค่านี้ ตรงนี้ก็เว้นไว้ ซึ่งถ้ามีการจ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อปี เมื่อเครื่องคิดค่านี้ให้ต้องเอามาคูณ 2 ก่อนนะ ถีงจะได้เป็นต่อปี
PV = ราคาที่เราซื้อมา (bond Price) เวลาคีย์ค่านี้ต้องใส่เครื่องหมาย ลบ ข้างหน้านะ เพราะกระแสเงินสดออกจากเรา
PMT = coupon ค่านี้จะไม่ได้คีย์เป็น % นะ แต่ นำ coupon rate x par value ออกมาเป็นนจำนวน ถ้าจ่าย 2 ครั้งต่อปี คิดเงินออกมาได้ต้องหาร 2 ก่อนคีย์ค่านี้นะ
FV = face value หรือราคา par value
ถ้าใครเคยใช้เครื่องคิดเลขแบบนี้ ก็ใช้ไม่ยาก หรืออ่านวิธี ที่จะใช้ app EZ calculators ได้ไม่ยาก แต่ถ้าไม่เคยใช้เครื่องคิดเลขทำแบบนี้มาก่อน app นี้ก็ใช้ง่ายกว่ากันพอสมควร
เมื่อโหลด app แล้วเปิด app ขึ้นมากดเข้าไปที่ Bond calculator
จะเห็นว่า จะมีค่าต่างๆ ให้กรอก คล้ายกับเครื่องคิดเลขที่เล่าไป แต่เราไม่ต้องหาร 2 หรือคูณ 2 ในบ้างค่า ให้กรอกเป็นปีได้เลย เพียงแต่ปรับตรงด้านล่าง เป็น semiannually สำหรับที่จ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อปี แต่ถ้าจ่ายปีละครั้งก็เลือก annually
Bond price ราคาที่เราซื้อมา จะเป็นค่าติดลบนะ
Face value ราคาหน้าตั๋ว
Annual coupon payment จำนวนเงินที่เราได้รับในแต่ละปี ก็คือ coupon rate X face value ออกมาเป็นจำนวนเงิน
Annul yield (%) คือค่าที่เราต้องการหา YTM นะ
Years to maturity จำนวนปีที่จะครบกำหนดอายุ
ในหน้านี้เราอาจจะค่าอื่นๆ ก็ได้ เพียงแต่เราก็เหลือค่าหนึ่งไว้ และใส่ค่าที่เหลือ เช่น เราจะคิดราคาที่ต้องซื้อเมื่อกำหนดค่าอื่นๆ โดยกดให้เครื่องคำนวณในสิ่งที่ต้องการโดยกดตรงปุ๋มด้านหลังค่านั้น
แต่ถ้าเราต้องการเลือก YTM อย่างเดียว ก็มีให้เลือกให้ YTM ตรงด้านบน หลังจากเข้ามาให้ Bond calculator ซึ่งก็ทำให้กรอกง่ายไปอีก
มีกรอกแค่
ราคาที่เราซื้อมา (ตรงนี้ปกติจะคีย์เป็นค่าลบ แต่ในหน้านี้ก็คีย์เลขธรรมดา ไม่ต้องใส่เครื่องหมายลบ)
ราคาหน้าตั๋ว coupon rate ซึ่งกรอกเป็น % ได้เลย
และ years to maturity(จำนวนปีที่จะครบกำหนดอายุ)
และอย่าลืมเลือก annually สำหรับที่จ่ายดอกเบี้ยปีละครั้ง หรือ semiannually สำหรับที่จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง และก็กดคำว่า calculator ก็เรียบร้อย ค่า YTM ก็จะเป้ฯต่อปีมาให้เรียบร้อย ดูตัวอย่างในรูปประกอบนะ จะเป็นโจทย์เดิมที่ยกตัวอย่าง current yield นะ
เราซื้อหุ้นกู้มา 1,050 บ. อายุ 3 ปี, par value 1,000 บ. , coupon rate 6% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้ง เราจะได้รับเงินปีละ 60 บ. (coupon rateX par value) ก็จะคิด YTM = 4.2085%
ลองนำไปใช้ดูกันนะ
หมอยุ่งอยากมีเวลา พูดคุยเรื่องหุ้นและกองทุน เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
ติดตามความรู้ทางการเงินแบบเข้าใจง่าย
ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
#ตราสารหนี้ #ลงทุนตราสารหนี้ #อัตราดอกเเบี้ย #ดอกเบี้ย #ดอกเบี้ยนโยบาย #หมอยุ่งอยากมีเวลา #หุ้นกู้ #กองทุนรวม #MutualFunds #ผลตอบแทน #YTM
โฆษณา