28 พ.ค. 2023 เวลา 08:49 • ข่าว

เพดานหนี้สหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงทันเส้นตาย เลี่ยงเสี่ยงตามตลาดเงินญี่ปุ่นคาดการณ์

การเจรจา “เพดานหนี้ (Debt Ceiling)”
ระหว่างพรรครัฐบาล กับ พรรคฝ่ายค้าน
ของสหรัฐอเมริกาได้เจรจาเห็นชอบ
บนหลักการพื้นฐานแล้ว แนวโน้มออกมาดี
ยินยอมขยายเพดานหนี้ของประเทศแล้ว
หลังจากที่สร้างความกังวล และปั่นป่วน
ให้กับตลาดการเงินมาสักระยะหนึ่ง
ภาพรอยเตอร์: นายโจ ไบเด็น ประธานาธิบดี กับ นายเดวิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฏร
ตามรายงานของทำเนียบขาวสหรัฐอเมริกา ทราบว่า
นายโจ ไบเด็น ประธานาธิบดี ซึ่งมองว่า เป็น
“การประนีประนอม” กับ นายเดวิน แมคคาร์ธี
ประธานสภาผู้แทนราษฏร ถือว่า “มัน คือ ค่าของ
ประชาขน” ทั้งสองได้พูดคุยกันข้อตกลงครั้งนี้
ทางโทรศัพท์
ภาพ Pixaybay: กระแสเงินสำรองกำลังจะหมด เมื่อครบกำหนดชำระ 5 มิถุนายน 2566 อาจผิดชำระหนี้ หากไม่ขยายเพดานหนี้
ปัจจุบัน เพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐอเมริกา
มีมูลค่า 31.4 ล้านล้านดอลล่าร์ หรือ 100 ล้านล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนที่สูงกว่าจีดีพีของสหรัฐฯ ถึง 120 เปอร์เซนต์
ภาพ: นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเตือนสหรัฐอเมริกาอาจผิดชำระหนี้ หากสภาคองเกรสไม่พิจารณา
ที่นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ เตือนก่อนหน้านี้ เมื่อวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2566 ว่า หากสหรัฐฯ ไม่ดำเนินการขยายเพดานหนี้ขึ้นไปอีก อาจทำให้ผิดนัดชำระหนี้ (Default)
ที่จะครบกำหนดวันที่ 5 มิถุนายน 2566 ที่จะถึงนี้
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ประมาณการว่า
จะเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2566 แล้วมีการขยายออกไป
ขณะที่เจพี มอร์แกนระบุว่า เป็นวันที่ 8 มิถุนายน 2566
ภาพประกอบ: สหรัฐอเมริกากำลังเผขิญกับหนีเสาธารณะที่จะครบกำหนดชำระในวันที่ 5 มิถุนายน 2566
หากสภาคองเกรสล้มเหลวที่จะยกเพดานหนี้การกู้ยืม
โอกาสที่จะผิดชำระหนี้ก็จะมีมากขึ้น ก็จะถูกปรับลดเครดิตลงได้ อันอาจส่งผลกระทบต่อตลาดพันธบัตร
วงเงินที่รัฐบาลใช้จ่ายเงินให้แก่ข้าราชการประจำ พนักงานของรัฐก็จะหมด อีกทั้งไม่มีเงินสวัสดิการ
การใช้จ่ายในภาคส่วนต่างๆ อาทิโครงการประกัน-สุขภาพผู้สูงอายุ โครงการประกันสังคม
เงินทุนสนับสนุนระบบการศึกษา เงินคืนภาษี เป็นต้น
ภาพประกอบ: นายโจ ไบเด็น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา จากพรรคดีโมแครตฝ่ายรัฐบาล กับ นายเดวิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฏร หรือ ประธานสภาล่าง จากพรรคริพับลิกัน ฝ่ายค้าน โทรศัพท์ “ตกลง” ที่จะขยายเพดานหนี้สาธารณะ
สื่อหลายสำนักของสหรัฐอเมริกา อาทิ บลูมเบิร์ก
รอยเตอร์ ซีเอ็นเอ็นนิวส์ หรือ นิวยอร์คไทม์
และสื่อต่างๆ ของญี่ปุ่น ได้รายงานว่า นายโจ ไบเด็น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา จากพรรคดีโมแครตฝ่ายรัฐบาล กับ นายเดวิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฏร หรือ ประธานสภาล่าง จากพรรคริพับลิกันซึ่งอยู่ฝ่ายค้าน ได้บรรลุข้อตกลงแล้วเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2566 ที่จะปลดล็อกการจำกัดวงเงินกู้ยืม
ภาพประกอบ: เพดานหนี้ (Debt Ceiling) สหรัฐอเมริกา สูงกว่าค่าจีดีพี 120 เปอร์เซ็นต์
โดยยินยอมให้ขยาย “เพดานหนี้ (Debt Ceiling)”
ไปอีก 2 ปี เพื่อนำเงินกู้เพิ่ม มาใช้จ่ายให้ทัน 5 มิถุนายน 2566 ก่อนที่งบประมาณฉุกเฉินที่เป็นเงินสดสำรอง
ใช้จ่ายของกระทรวงการคลัง ประเทศสหรัฐอเมริกา
จะหมดสิ้น
หลังจากที่ได้มีการประชุมพูดคุยระหว่างผู้บริหาร
ระดับสูงมาแล้ว 3 ครั้ง นับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นมา พรรคริพับลิกัน นำโดยนายเดวิน
แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฏร ซึ่งเป็นพรรคที่มีอำนาจเพิ่มขึ้นจากเสียงสนับสนุนอดีตประธานาธิบดี
นายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ได้สร้างสถานการณ์ที่ไม่ให้มี
การประนีประนอมโดยง่าย
ภาพประกอบ: ทำเนียบขาวของสหรัฐอเมริกา ทีีประชุมสภาคองเกรส
ด้วยมีการมีเงื่อนไขว่า รัฐบาลต้องปรับลดวงเงินรายจ่ายให้ลง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายของ
ปีก่อนซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลดได้อีกมาก แลกกับการเพิ่มเพดานหนี้มากถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์
แต่พรรคดิโมแครตก็ไม่เห็นชอบ ด้วยระบุว่า
จำเป็นทั้งหมด
ซึ่งข้อตกลงนี้ จะต้องผ่านทั้งสองสภา แต่เนื่องจาก
พรรคดีโมแครต ครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา
ส่วนในสภาผู้แทนราษฏรมีพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมาก จึงเป็นที่กังวล ด้วยต่างฝ่ายมีท่าทีว่าจะไม่ยอมถอยคนละก้าว
ภาพ: ทีมเจรจาทั้งสองพรรคยัวดำเนินต่อเนื่อง แม้ช่วงนายโจ ไบเด็น ประธานาธิบดี ต้องไปประชุมกลุ่ม G7 ฮิโรชิมะ ซัมมิท 2566 ครั้งที่ 49 ที่ จ. ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น
แม้ในระหว่างที่นายโจ ไบเด็น ไปร่วมการประชุมผู้นำ 7 ประเทศหลัก (กลุ่ม G7 ฮิโรชิมะ ซัมมิท 2566 ครั้งที่ 49)
ที่เมืองฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ทีมเจรจาของทั้งสองฝ่าย
ก็ยังดำเนินการประชุมต่อไป ในการเจรจาตกลงเรื่องฝการลดขนาดรายจ่าย รายการค่าใช้จ่าย
ที่ควรลด ฯลฯ
การตกลงกันได้ จึงเลี่ยงความเสี่ยง
ไม่ให้ผิดนัดชำระหนี้ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาได้ในเวลานี้ และช่วยคลี่คลายความกังวล
ผลกระทบที่มีด้านอื่นๆ ด้วย
ภาพประกอบ: ทั้งสองฝ่าย ตกลงที่จะกำหนดวงเงินการใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลยกเว้นค่าใช้จ่ายด้านกลาโหม เพื่อหลีกเลี่ยงเงินสำรองหมก
โดยทั้งสองฝ่าย ตกลงที่จะกำหนดวงเงินการใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลยกเว้นค่าใช้จ่ายด้านกลาโหม แม้ว่ายังคงมีข้อโต้แย้งอยู่ อาทิ เงื่อนไขการทำงาน
ของระบบการจ่ายสวัสดิการสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยที่มีความเข้มงวดขึ้น ที่พรรคริพับลิกันเรียกร้องก็ตาม
แต่ก็ดูจะมีความคืบหน้าในการเจรจาบ้างแล้ว
หลังการขานรับผลการเจรจาบรรลุข้อตกลงนี้ คาดว่า
จะช่วยคลี่คลายความกังวลเรื่องเสถียรภาพทางการเงิน
และลดคามวุ่นวายที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับ
ตลาดพันธบัตรของสหรัฐอเมริกา ทั้งลดความเสี่ยงของ
ผู้ที่ฝากเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา นักลงทุนส่วนบุคคล ลดกระแสเงินไหลออกนอกประเทศ ทั้งเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ ด้วย
ภาพประกอบ: เมื่อทั้งสองพรรคบรรลุข้อตกลง จะส่งผลบวกต่อตลาดพันธบัตร และตลาดการเงินที่เกี่ยวข้อง แม้ยังมีความเสี่ยง
ตลาดหุ้นวอลล์ สตรีทก็อาจได้รับอานิสสงส์ในแง่บวก
ดอลล่าร์ที่อาจแข็งค่าขึ้นซึ่งสวนทางกับเงินเยน
อย่างไรก็ตาม การขยายการขำระหนี้ อาจส่งผลกระทบต่อการพิจารณาการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารของสหรัฐอเมริกาแทน ที่มีกำหนดประชุมนโยบายการเงินกลางเดือนมิถุนายน 2566 ที่จะถึงนี้
หากทั้งสองพรรคไม่มีข้อตกลงดังกล่าวข้างต้น
เกิดสถานการณ์เลวร้ายลง นักวิเคราะห์ญี่ปุ่นมองว่า
ญี่ปุ่นก็มีความเสี่ยงต่อคลื่นที่จะมากระทบ
ทั้งราคาหุ้นที่ร่วงลงและเงินเยนที่แข็งค่าจะพุ่งสูงขึ้น
ในญี่ปุ่นได้
ภาพประกอบ: นักการเงินญี่ปุ่นไม่กังวลในวิกฤติเพดานหนี้รอบนี้ จากประวัติศาสตร์ทีีเคยผ่านวิกฤติมาแล้ว 3 ครั้ง แต่ภาระหนี้สินไม่ได้หมดลง
ซึ่งก็เป็นไปตามที่ตลาดโตเกียว และผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินของญี่ปุ่นส่วนใหญ่คาดการณ์ในแง่บวกไว้ ว่า
ครั้งนี้ ไม่น่าจะเป็นอะไร เนื่องจากในอดีตสหรัฐฯ
ก็เคยก้าวข้ามวิกฤติผิดนัดชำระหนี้มาได้แล้วถึง 3 ครั้ง
คือ ในปี 2554 ปี 2556 และปี 2558
โดยในปี 2554 สามารถร่างกฎหมายเพดานหนี้
ได้ทันท่วงทีก่อนผิดนัดชำระหนี้ ปี 2556 และปี 2558 ระงับการใช้เพดานหนี้ แต่สิ่งที่แตกต่างจากอดีตมาก บทบาทอำนาจ และท่าทีระหว่างสภาล่าง (สภาผู้แทนราษฏร) กับ สภาสูง (วุฒิสภา) มีโอกาสที่จะพลิกผัน
ก่อนที่ร่างกฎหมายจะผ่านได้เช่นกัน
อีกทั้ง ทั้งสองฝ่านตกลงบนหลักพื้นฐาน
ของการขยายเพดานชำระหนี้ออกไปนั้น
ไม่ได้หมายถึงหนี้สินสาธารณะนั้นจะลดลง
หรือ หมดไป
หากรัฐบาลไม่ได้แก้ปัญหาหนี้สิน
อย่างจริงจัง ภาระดอกเบี้ยก็อาจจะเพิ่มขึ้น
ภาระหนี้สินก็อาจถึงประสบวิกฤติวันใดวันหนึ่งอีกครั้ง
หากเป็นประเทศเล็กๆ ก็อาจล่มสลายได้ง่าย
ขาดความเชื่อมั่น ต่างชาติก็อาจทยอยขายพันธบัตรของ
สหรัฐอเมริกาที่ถืออยู่กันมากขึ้น เช่นประเทศจีน ญี่ปุ่น เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก:
kazuhiko-tamaki-idJPKBN2X20EK
หากท่านชอบคอนเทนท์นี้
อย่าลืม กด “ไลค์”
หากท่านเห็นว่าคอนเทนท์นี้ มีประโยชน์
อย่าลืม กด “แชร์”
หากท่านมีข้อเสนอแนะหรือเพิ่มเติมความคิดเห็น
อย่าลืม ส่ง “คอมเมนท์” ด้วยจักขอบคุณยิ่ง
อย่าลืม… ติดตามสาระดีๆ ในตอนต่อไป ได้ที่
โฆษณา