29 พ.ค. 2023 เวลา 01:54 • หนังสือ

ความเชื่อควบคุมชีวิต จิตควบคุมกาย

“ถ้าคุณเชื่อว่าคุณทำได้ หรือเชื่อว่าคุณทำไม่ได้…ไม่ว่ายังไงคุณก็คิดถูก”
หนังสือ : The Biology Of Belief
BRUCE H.LIPTON PhD : ผู้เขียน
การคิดบวกเป็นกฏแห่งการมีชีวิตที่เพิ่มพูนและเป็นสุข ดังที่มหาตะมะ คานธีมพูดไว้
“ความเชื่อของคุณจะกลายเป็นความคิด
ความคิดของคุณจะกลายเป็นคำพูด
คำพูดของคุณจะกลายเป็นการกระทำ
การกระทำของคุณจะกลายเป็นนิสัย
นิสัยของคุณจะกลายเป็นจุดยืน
และจุดยืนของคุณจะกลายเป็นชะตากรรม”
สมองทำงานอย่างไร
เมื่อเข้าใจการทำงานของโปรตีน IMP แล้ว จึงสรุปว่าการทำงานของเซลล์โดยพื้นฐานจะถูกกำหนดโดยการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่โดนรหัสพันธุกรรมของมันเอง ไม่น่าแปลกใจเลยที่พิมพ์เขียวดีเอ็นเอซึ่งอยู่ในนิวเคลียสจะกลายเป็นโมเลกุลมหัศจรรย์
ที่ถูกถ่ายทอดสืบมายาวนานกว่า3,000 ล้านปี ของวิวัฒนาการ แต่ไม่ว่าพิมพ์เขียวดีเอ็นเอจะมีความเจ๋งสักแค่ไหนพวกมันก็ไม่สามารถ “ควบคุม”การทำงานของเซลล์ได้ ตามตรรกะแล้วยีนไม่สามารถตั้งโปรแกรมของเซลล์หรือสิ่งมีชีวิตล่วงหน้าได้นะ นั่นเพราะการอยู่รอดของเซลล์ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวอย่างว่องไวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาต่างหาก
เมื่อการคิดบวกเริ่มไม่บวกซะแล้ว
คุณต้องใช้มากกว่าความคิดบวกในการควบคุมร่างกายและชีวิตของคุณ การปรับพลังงานของจิตให้เป็นบวกสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและความสุขโดยรวม เราควรคิดแต่เรื่องที่เสริมสร้างชีวิต และกำจัดความคิดลบใดๆ ที่จะดูดพลังงานออกไป แต่ขอเน้นหนักๆ เลยว่าการคิดบวกอย่างเดียวไม่ได้ช่วยส่งผลใดๆ ต่อชีวิตเราเลย อันที่จริง บางครั้งคนที่สอบตก การคิดบวกยิ่งทำให้รู้สึกแย่เข้าไปอีก
เพราะจะตกอยู่ในภาวะจนตรอก คือ พวกเขาเชื่อว่าหมดหนทางเยียวยา ทั้งร่างกายและจิตใจของตัวเองแล้ว
จิตของคนเราดูเหมือนจะแยกออกเป็นสภาวะย่อย คือจิตสำนึกและจิตใต้สำนัก
จิตสำนึกคือผู้ขับเคลื่อนความเป็นตัวตน ร่างกาย และความรู้สึกของเรา ซึ่งเป็นจิตสร้างสรรค์ มันสามารถมองไปที่อนาคตข้างหน้า มองย้อนกลับไปในอดีต หรือหลุดพ้นจากขณะปัจจุบันเมื่อมันกำลังครุ่นคิดแก้ปัญหาบางอย่าง ด้วยความสามารถสร้างสรรค์นี้ จิตสำนึกจึงเป็นผู้กุมความฝัน ความปรารถนา และความหวังของเราไว้ มันคือจิตที่สร้าง “ความคิดบวก” ให้กับเรา
ตรงกันข้ามกับจิตใต้สำนักเปรียบเสมือนโกดังเก็บข้อมูลสิ่งเร้า คือการตอบสนองของเรา ซึ่งได้มาจากสัญชาตญาณ และประสบการณ์การเรียนรู้ จิตใต้สำนึกเป็นอุปนิสัยพื้นฐาน มันจะแสดงอาการตอบสนองแบบเดิมๆ และซ้ำๆ ต่อสัญญาณที่เราพบเจอ โดยเฉพาะความผิดหวังเสียใจ เช่นกี่ครั้งที่คุณรู้สึกโกรธเป็นฟืนเป็นไฟกับเรื่องเล็กๆน้อยๆอย่างหลอดยาสีฟันที่เปิดทิ้งไว้ การตอบสนองอย่างง่ายที่ถูกเก็บไว้ในจิตใต้สำนึก
บทสรุปง่ายๆ ก็คือ การรับรู้เชิงบวกของจิตช่วยให้สุขภาพของเราดีขึ้นได้ ด้วยการปรับระบบภูมิคุ้มกัน แต่การรับรู้เชิงลบกลับไปยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และเร่งให้โรคภัยถามหาเร็วขึ้น การรับรู้เชิงลบทำให้เกิดความเครียดแบบเรื้อรังที่บั่นทอนสุขภาพจิตและส่งผลเชิงลบอย่างลึกซึ้งต่อการทำงานของยีน
“ไม่มีอะไรที่เราต้องกลัว นอกจากความกลัว” การโยนความกลัวของเราทิ้งไปคือขั้นตอนแรกของการสร้างชีวิตที่สมบูรณ์แบะน่าพอใจยิ่งขึ้น
โฆษณา