29 พ.ค. 2023 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

คำนวณลดหย่อนภาษีถูกปุ๊บ ซื้อ SSF/RMF ได้ปั๊บ

หนึ่งในค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของชาวมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ก็คือ “ค่าใช้จ่ายทางภาษี” ซึ่งโดยปกติแล้ว การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เราจะทำการยื่นปีละ 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีถัดไป
อย่างเช่น กรณีรายได้ที่เกิดขึ้นในปี 2566 จะต้องยื่นภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2567 เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายทางภาษี หรือเงินภาษีที่เราต้องจ่ายก็สามารถลดหย่อนได้ เพื่อให้เงินภาษีที่เราต้องจ่ายนั้นน้อยลง
  • โดยเราสามารถคำนวณ ภาษีเงินได้ ได้จากสมการ ดังต่อไปนี้
[รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อนของผู้มีรายได้] = เงินได้สุทธิ
หลังจากนั้นเราจะนำ เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่เราต้องจ่าย
ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ว่านี้ ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเรา แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการคำนวณตามหลักการของภาษี ซึ่งจะสัมพันธ์กับรูปแบบของเงินได้ที่ได้รับ มีด้วยกัน 8 รูปแบบ
- อ่านรายละเอียดเงินได้พึงประเมิน และการคำนวณหักค่าใช้จ่ายแต่ละกรณี ได้ที่ : https://www.rd.go.th/556.html
ตัวอย่าง การคำนวณภาษีเงินได้
  • นาย A เป็นพนักงานบริษัททั่วไป
หากนาย A มีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือน หรือ 360,000 บาทต่อปี จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ที่ 50% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
และมีค่าลดหย่อนของผู้มีรายได้อยู่ที่ 60,000 บาท ที่สามารถนำมาหักได้ทันที
ดังนั้น เงินได้สุทธิ = 360,000 - 100,000 - 60,000 = 200,000 บาท
โดยที่เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ไม่เสียภาษี
ซึ่งเราจะนำ เงินได้สุทธิ ส่วนที่เกิน 150,000 บาท x อัตราภาษี (ตามแต่ละช่วงรายได้) = เงินภาษีที่เราต้องจ่าย
โดยในกรณีนี้ นาย A มีเงินได้สุทธิอยู่ที่ 200,000 บาท ซึ่งอยู่ในช่วงเงินได้ 150,001 - 300,000 บาท ต้องเสียอัตราภาษีที่ร้อยละ 5
วิธีการคำนวณภาษีที่ต้องเสีย เราก็จะคำนวณจากเงินได้ส่วนที่เกิน 150,000 บาท คือ 200,000 - 150,000 = 50,000 บาท เท่ากับว่า นาย A จะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 50,000 x 5% = 2,500 บาท
  • อีกกรณีหนึ่ง หากนาย B มีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือน หรือ 600,000 บาทต่อปี เราจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ที่ 50% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และมีค่าลดหย่อนของผู้มีรายได้อยู่ที่ 60,000 บาท
เท่ากับ นาย B จะมีเงินได้สุทธิ 600,000 - 100,000 - 60,000 = 440,000 บาท
โดยในกรณีนี้ นาย B ต้องนำมาคำนวณภาษีตามขั้นบันได ซึ่งอยู่ในช่วงเงินได้สุทธิ 2 ขั้น
ขั้นแรก 150,001 - 300,000 บาท เสียอัตราภาษีที่ร้อยละ 5 = 7,500 บาท
ขั้นสอง 300,001 - 500,000 บาท เสียอัตราภาษีที่ร้อยละ 10
= (440,000 - 300,000) x 10% = 14,000 บาท
รวมทั้งสิ้น นาย B จะต้องเสียภาษีรวม 21,500 บาท
*หมายเหตุ : คำนวณจากอาชีพพนักงานบริษัท มีรายได้ช่องทางเดียว มีสถานะโสด และไม่มีค่าลดหย่อนอื่น ๆ
เมื่อรู้เงินได้สุทธิที่เราต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีแล้ว ก็จะสามารถคำนวณต่อได้ว่า เราควรจะซื้อกองทุน SSF หรือ RMF จำนวนเท่าไร เพื่อให้สามารถลดหย่อนภาษีของเราได้อย่างเต็ม MAX นั่นเอง
สำหรับวิธีการคำนวณจำนวนเงินที่ควรซื้อกองทุน SSF และ RMF ให้นำ…
เงินได้สุทธิ - 150,000 = จำนวนเงินที่ควรซื้อกองทุน SSF/RMF (ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ ไม่มีการลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติม)
ทั้งนี้ ก็จะมีเงื่อนไขการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ดังนี้
SSF ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท
RMF ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
ทั้งนี้ การซื้อ SSF, RMF, PVD, กบข., ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน เพื่อลดหย่อนภาษี เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท และจะต้องพิจารณาเงื่อนไขระยะเวลาการถือครอง SSF/RMF และการลงทุนต่อเนื่องสำหรับ RMF ร่วมด้วย
ยกตัวอย่างเช่น
- กรณี นาย A มีเงินได้สุทธิ 200,000 บาท จะสามารถซื้อกองทุนได้จำนวน 50,000 บาท (200,000 - 150,000) โดยสามารถเลือกซื้อกองทุน SSF หรือ RMF ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้
- กรณี นาย B มีเงินได้สุทธิ 440,000 บาท จะสามารถซื้อกองทุนได้จำนวน 290,000 บาท (440,000 - 150,000) โดยสามารถเลือกซื้อกองทุน SSF ได้เต็ม 200,000 บาท และแบ่งไปซื้อ RMF อีก 90,000 บาท หรือจะซื้อ RMF ทั้ง 290,000 บาท ก็ทำได้เช่นกัน โดยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของกองทุนที่ระบุไว้ข้างต้น
อย่างไรก็ตาม หลายคนพอเห็นตัวเลขที่ต้องซื้อกองทุนในจำนวนที่สูง เมื่อเทียบกับเงินภาษีที่ต้องจ่าย ก็คิดว่า…ถ้างั้นยอมเสียภาษีเลยน่าจะดีกว่า แต่อย่าลืมว่า จำนวนเงินเหล่านั้น สามารถนำไปใช้เพื่อต่อยอดให้เติบโตได้อีกในอนาคตเช่นกัน
เช่น ถ้านำเงินไปลงทุนในกองทุน SSF หรือ RMF นอกจากสามารถนำเงินลงทุนนั้นมาลดหย่อนภาษี ก็ยังมีโอกาสต่อยอดเงินของเราให้เติบโตจากการทบเงินในการลงทุนได้อีกด้วย
หากใครที่เริ่มสนใจลงทุนกับ SSF และ RMF ปัจจุบันก็มีหลายนโยบายให้เลือกลงทุน ไม่ว่าจะเป็น กองทุนที่ให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ อย่าง KT-HEALTHC RMF กองทุนแบรนด์หรู อย่าง KT-LUXURY-SSF หรือกองทุนต่างประเทศ อย่าง KT-VIETNAM-SSF, KT-CHINA RMF ก็สามารถเลือกได้ตามความต้องการเลย
📍 สำหรับท่านใดที่สนใจ หรือต้องการ Fund Fact Sheet
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- KT-LUXURY-SSF : https://bit.ly/3pIQWoE
นโยบายกองทุน : เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน PICTET - PREMIUM BRANDS (กองทุนหลัก) เพียงกองเดียว ในชนิดหน่วยลงทุน (share class) “I” ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ความเสี่ยงระดับ 6)
- KT-VIETNAM-SSF : https://bit.ly/3pEiBat
นโยบายกองทุน : เน้นลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ และจัดตั้งในประเทศเวียดนาม รวมถึงบริษัทที่ดำเนินธุรกิจหลัก มีรายได้หลัก หรือเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ และได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม (ความเสี่ยงระดับ 6)
- KT-CHINA RMF : https://bit.ly/453OM39
นโยบายกองทุน : เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน BGF China Fund (กองทุนหลัก) เพียงกองเดียว โดยเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน หรือเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน (ความเสี่ยงระดับ 6)
- KT-HEALTHC RMF : https://bit.ly/3M5v12B
นโยบายกองทุน : เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Janus Henderson Global Life Sciences Fund (กองทุนหลัก) โดยเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต (Life Sciences) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาหรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต (ความเสี่ยงระดับ 7)
หรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่
ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ
บลจ.กรุงไทย โทร. 02 686 6100 กด 9
ลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย
ดาวน์โหลด :
คำเตือน :
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) / ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk) / ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk) / ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk) เป็นต้น
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรืออาจจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม / กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
References :
โฆษณา