30 พ.ค. 2023 เวลา 07:51 • ข่าว

ผู้บริหารกองทุน..แพะรับบาปของเทมาเส็ก?

หลังเจ๊งยับกับธุรกิจคริปโต FTX ที่ล่มสลาย
3
เทมาเส็กโฮลดิงส์ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ได้ประกาศตัดเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนใน FTX แพลทฟอร์มซื้อ-ขายเงินคริปโตชื่อดังที่ล้มละลายไปเมื่อช่วงปลายปี 2565 ที่ผ่านมา ที่ทำให้เทมาเส็กสูญเงินมากถึง 275 ล้านเหรียญสหรัฐ
1
แม้จะมีการไต่สวน แซม แบงก์แมน-ฟรายด์ อดีตประธานผู้บริหาร และหนึ่งในผู้ก่อตั้ง FTX โดยสำนักอัยการกลางสหรัฐ ว่าเขาอยู่เบื้องหลังการฉ้อโกงเงินของนักลงทุนจากทั่วโลกนับพันล้านดอลลาร์ แต่สุดท้ายศาลได้ตัดสินว่า แซม แบงก์แมน-ฟรายด์ ไม่มีความผิด
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เทมาเส็ก ได้พิจารณาแล้วว่า ทีมผู้บริหารระดับอาวุโส และ ทีมวิเคราะห์การลงทุนของบริษัทมีส่วนต้องรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจร่วมลงทุนกับ FTX ด้วยการถูกตัดเงินเดือน
1
ทั้งนี้ เทมาเส็ก ไม่ได้ระบุอัตราเงินเดือนที่จะถูกลดเป็นจำนวนเท่าใด แต่คณะกรรมการกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติรู้สึกผิดหวังกับการลงทุนครั้งนั้น และยังส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของเทมาเส็กอย่างมาก
ครั้งหนึ่ง FTX ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในแพลทฟอร์มเทรด เงินคริปโตที่ทรงอิทธิพลอย่างมากในตลาดการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล เคยมีมูลค่าการซื้อขายรายวันสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลกมาแล้ว โดยเทมาเส็กได้ตัดสินใจร่วมลงทุนกับ FTX ถึง 2 ครั้ง ในช่วงเดือนตุลาคม 2564 เป็นเงิน 210 ล้านเหรียญ และเพิ่มอีก 65 ล้านเหรียญในเดือนมกราคม 2565
1
ด้านผู้บริหารกองทุนเทมาเส็ก แย้งว่าได้ใช้เวลาประเมินธุรกิจการซื้อขาย แลกเปลี่ยนเงินคริปโตมานานถึง 8 เดือน รวมถึงตรวจสอบบัญชีการเงินที่แสดงผลประกอบการที่มีกำไรของ FTX ก่อนตัดสินใจลงทุน ซึ่งถ้าหากเทียบกับมูลค่าของกองทุนเทมาเส็กในเดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 2.98 แสนล้านเหรียญ ก็จะพบว่าเงินที่นำไปลงทุนใน FTX มีสัดส่วนที่น้อยมาก เพียงแค่ 0.09% เท่านั้นที่แทบไม่ส่งผลต่อกำไรโดยรวมของบริษัท
1
แต่ทว่า ลอเรนซ์ หวัง รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ไม่คิดเช่นนั้น เพราะการสูญเงินใน FTX กระทบกับชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของเทมาเส็ก ที่เป็นกองทุนของรัฐบาล ซึ่งก็คือเงินออมของชาติ ที่ชาวสิงคโปร์คาดหวังว่ารัฐบาลจะนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างมูลค่า และมีอนาคตที่ดี
1
แต่ความผิดพลาดจากการลงทุนใน FTX เกิดจากความมั่นใจในธุรกิจด้านเทคโนโลยี และทรัพย์สินดิจิทัลที่มากเกินไป ว่าจะเป็นเทรนของโลกธุรกิจการเงินยุคใหม่ เทมาเส็กจึงกระโดดลงไปร่วมลงทุนตั้งแต่แรกๆ แม้จะเห็นว่ามีความเสี่ยงสูงแต่ก็เชื่อมั่นในผลตอบแทนที่มากกว่าในอนาคต แต่สุดท้ายกลายไปการลงทุนที่สูญเปล่าไปทันทีที่ FTX ล่มสลาย ผู้ก่อตั้งอย่าง แซม แบงก์แมน-ฟรายด์ กลายเป็นบุคคลล้มละลาย และถูกจับกุมดำเนินคดีข้อหาฉ้อโกง และจงใจปกปิดข้อมูลที่ทำให้นักลงทุนเข้าใจผิด
1
และบอร์ดบริหารของเทมาเส็ก ตัดสินใจให้พนักงานเป็นแพะรับบาปของหายนะจากการลงทุนใน FTX ซึ่งอาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนของการพิจารณาการลงทุนในสินทรัพย์ใดๆของเทมาเส็ก เมื่อพนักงานต้องแบกรับผลจากการขาดทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเช่นนี้
1
****************
ติดตามบทความของ "หรรสาระ" เพิ่มเติมได้ที่
Facebook - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
Twitter - @HunsaraByJeans
Blockdit - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
Tiktok - @HunsaraByJeans
แพลทฟอร์มคุณภาพ ไม่ปิดกั้นการมองเห็นเนื้อหา
****************
แหล่งข้อมูล
โฆษณา