1 มิ.ย. 2023 เวลา 08:47 • ธุรกิจ

อนาคตของการเงินธนาคาร ตอนที่ 2 โจทย์ใหญ่ของธนาคารที่อยากอยู่รอดในอนาคต

หน้าที่ของธนาคาร ถ้าให้พูดสั้น ๆ คือ เป็นตัวกลางทางการเงิน
เราได้ยินแบบนี้กันมาตลอด แต่คำนี้ จริง ๆ แล้วมีความหมายอย่างไรกันแน่?
2
สรุปให้ฟังอีกทีครับ (ใครรู้อยู่แล้วก็ข้ามไปได้เลย) ธนาคารมีหน้าที่หลายอย่างในระบบเศรษฐกิจ หลัก ๆ ก็คือ
1
1. การจัดการเงินฝากและการกู้ยืมเงิน: ประชาชนทั่วไปน่าจะคุ้นเคยกับหน้าที่ข้อนี้มากที่สุด กล่าวคือธนาคารมีหน้าที่รับฝากเงินจากลูกค้าและให้บริการในการกู้ยืมเงินให้แก่ลูกค้า โดยใช้เงินฝากของลูกค้าเป็นทรัพยากรในการให้บริการกู้ยืมแก่บุคคล ธุรกิจ หรือองค์กรต่างๆ เพื่อช่วยเสริมสร้างกิจการ การศึกษา หรือความต้องการเงินอื่นๆ
2
2. การบริการทางการเงินและการลงทุน: ธนาคารมีบทบาทในการให้บริการทางการเงินต่างๆ แก่ลูกค้า เช่น เปิดบัญชีธนาคาร ออมทรัพย์ บัตรเครดิต บริการการโอนเงิน บริการการชำระเงิน การออกเช็ค หรือการให้บริการการลงทุน เช่น พันธบัตรและหุ้นกู้ นอกจากนี้ยังควรต้องปรับปรุงระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การโอนเงินระหว่างบัญชี การชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต การชำระเงินผ่านมือถือ หรือการใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตต่างๆ
1
3. การบริหารจัดการเงินและเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน: ธนาคารเป็นผู้ให้บริการในการบริหารจัดการเงินแก่ลูกค้า ซึ่งรวมถึงการให้คำปรึกษาทางการเงิน การวางแผนการเงิน การบริหารจัดการค่าใช้จ่าย ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน และการเตรียมการเงินสำหรับเหตุการณ์พิเศษ เป็นต้น
1
ที่ผ่านมาก็มี 3 ข้อแค่นี้ โดยรวม ธนาคารจึงมีบทบาทสำคัญในการให้บริการทางการเงินแก่บุคคลและธุรกิจ และเป็นตัวกลางที่สนับสนุนกิจกรรมเศรษฐกิจทั้งในระบบภายในและระหว่างประเทศ
1
ถ้ามองจากมุมสูง เป้าหมายของธนาคาร โดยรวมก็ไม่ได้ต่างจากธุรกิจอื่น คือมุ่งรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ได้ในระยะยาว
ในขณะที่ธนาคารกำลังประคองส่วนแบ่งของตัวเองอยู่นั้น สายลมแห่งอนาคตก็กำลังพัดมาสู่วงการธนาคารอย่างแรง และมีทิศทางที่ชัดเจน
หลายแห่งจึงเริ่มพบว่า การทำหน้าที่ 3 ข้อแบบเดิม ด้วยวิธีการเดิม แล้วประคองส่วนแบ่งไว้เฉย ๆ น่าจะทำต่อไปไม่ได้แล้ว แต่ต้องเริ่มทำการ "เปลี่ยน" ตามเทรนด์ยักษ์ 5 ประการ (ตรงนี้แนะนำให้ย้อนกลับไปอ่านตอนที่ 1 ของซีรีส์นี้)
2
ต่อไปนี้คือบางโจทย์ที่ธนาคารพยายามเริ่มหยิบมาพิจารณาใช้ในการปรับเปลี่ยน ลองไปถามธนาคารไหนที่รู้จักก็ได้ ทุกธนาคารล้วนขยับตัวไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งต่อไปนี้
2
1. ดำเนินธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและบริการด้านการเงินออนไลน์: ทำโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาบริการและกระบวนการธุรกิจ ทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน เช่น การใช้งานแอปพลิเคชันมือถือ การชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน การใช้ระบบการตรวจสอบและอนุมัติออนไลน์ หรือการใช้งานเทคโนโลยีเชิงพื้นฐานเช่นบล็อกเชนในการทำธุรกรรมทางการเงิน
1
ปัจจุบันนี้เราก็เห็นธนาคารที่พัฒนาและเสริมสร้างระบบการเงินออนไลน์ที่ง่ายต่อการใช้งานและปลอดภัยระดับหนึ่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ากำลังหันมาเลือกใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
2
2. การเน้นบริการลูกค้าด้วยคุณภาพแบบพรีเมี่ยม: ทิศทางนี้คือให้ความสำคัญกับการพัฒนาบริการลูกค้าที่เน้นความสะดวกสบายและประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งอาจรวมถึงการให้คำปรึกษาทางการเงินและการวางแผนการเงินที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการและสถานะการเงินของลูกค้าแต่ละคน (personalized financing)
2
3. การเน้นการเงินยั่งยืน: ธนาคารหลายแห่งเริ่มขยับไปส่งเสริมการเงินยั่งยืนและการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อมโยงผลกระทบของการลงทุนกับด้านสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการเลือกลงทุนที่มีการพิจารณาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
2
4. การบริหารความเสี่ยงและการป้องกันการฉ้อโกงทางการเงิน: เรื่องที่ดูพื้นฐานแบบนี้ความจริงเป็นโจทย์ที่ไม่ใช่อยู่นิ่งเลย ธนาคารส่วนใหญ่กำลังปรับปรุงระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อเตรียมตัวและป้องกันการฉ้อโกงทางการเงินที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มความมั่นคงของระบบความปลอดภัยในการดำเนินธุรกิจทางอินเทอร์เน็ต
2
5. การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน: หลายธนาคารกำลังเริ่มเห็นความสำคัญของการเกี่ยวข้องและสนับสนุนกิจกรรมในชุมชน เริ่มทำงานร่วมกับองค์กรสังคมและรัฐบาลในการสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่นและการพัฒนาที่ยั่งยืน
2
จาก 5 ข้อนี้ เราสามารถพอสรุปได้ว่า โจทย์หลักของการปรับตัวของธนาคารในอนาคตขึ้นอยู่กับความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการใช้งาน (เทคโนโลยี) และความต้องการของลูกค้านั่นเอง ธนาคารจึงต้องประเมินและปรับปรุงกลยุทธ์ตลอดเวลา และไม่สามารถหนีความต้องการและความพอใจของลูกค้าในอนาคตได้เลย
2
ในแง่นี้ แต่ละธนาคารจึงต้องเร่งตีความโจทย์ให้ละเอียด สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ขึ้นมา และหาวิธีการเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากหลาย อย่างที่ในวันนี้เราเร่ิมเห็นบางธนาคารที่ขายหวย ขายทอง ขายเซียมซี เป็นต้น
แต่นั่นก็อาจเป็นเพียงลูกเล่นในระยะเปลี่ยนผ่าน แท้จริงแล้วแก่นแกนของธนาคารในอนาคตที่แท้จริงจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เพราะว่าแต่ละธนาคารก็จะมีธุรกิจอยู่ในตลาดเฉพาะของตนเอง มีฐานลูกค้าของตัวเอง และมีเป้าหมายในทางยุทธศาสตร์เฉพาะตัว
1
ลองประมวลลักษณะร่วมหรือแก่นแกนของธนาคารที่น่าจะยืนสู้โลกต่อไปได้ในอนาคต สรุปออกมาได้สามโมเดล
1. "Digital-First Banks (ธนาคารที่ยกบริการไปอยู่ในโลกติจิตัล)" ธนาคารไทยเกือบทั้งหมดกำลังเดินไปทางนี้ ซึ่งทำให้บริการจะอยู่บนฐานของดิจิตัลเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดระบบดิจิตัลจะมาแซงระบบดั้งเดิม และจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ทางการเงินบริการใหม่ ๆ อีกมากมาย เพื่อตอบโจทย์ฐานลูกค้ารุ่นที่ "เกิดมาก็ดิจิตัล (digital-native)"
2
2. "Sustainable Banks (ธนาคารที่ยั่งยืน)" เป็นกลุ่มที่มุ่งมั่นยืนหยัดในหนทางแห่งความยั่งยืน กลุ่มนี้จะนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยให้ลูกค้าลดผลกระทบของตัวเองที่มีต่อส่ิงแวดล้อมได้
3
3. "Innovative Banks (ธนาคารที่มีนวัตกรรม)" ธนาคารกลุ่มนี้จะสร้างนวัตกรรมขึ้นมาอยู่เรื่อย ๆ และพยายามมองหาวิธีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังเปิดใจให้เทคโนโลยี โมเดลธุรกิจใหม่ ๆ และความร่วมมือใหม่ ๆ ตลอดเวลา (ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเทคโนโลยีเสมอไป)
2
แม้แต่หน้าที่ของธนาคาร 3 ข้อที่กล่าวในตอนต้นของบทความเองก็อาจจะเปลี่ยนไป หรืออย่างน้อยคือขยายตัว หลายธนาคารเริ่มออกมาพูดว่า ตนเองจะเปลี่ยนจากธนาคารไปเป็นบริษัทเทคโนโลยี (tech company) นี่อาจเป็นสัญญาณของการขยายตัวออกนอกธุรกิจการเงิน กลิ่นรสของธนาคารในอนาคตก็จะเปลี่ยนไปอีก
2
แต่เรื่องอย่างนี้พูดง่ายกว่าทำ
สุดท้ายนี้ แน่นอนว่าไม่มีธนาคารไหนที่จะไม่ถูกกระทบจากความเปลี่ยนแปลง แม้แต่ธนาคารที่ทันสมัยที่สุดก็หนีไม่พ้นที่จะถูกกาลเวลากลืนกิน ถ้าไม่ปรับตัวให้เข้ากับภูมิทัศน์ความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
1
มีแต่ธนาคารที่อ้าแขนรับความเปลี่ยนแปลงและหมั่นสร้างนวัตกรรมอยู่เสมอ กลุ่มพวกนี้แหละที่จะประสบความสำเร็จและอยู่รอดได้ในระยะยาว
ทีแรกตั้งใจจะยกตัวอย่างธนาคารที่พร้อมรับมือในอนาคต ว่าอยู่ที่ไหน ชื่อเสียงเรียงนามเป็นอย่างไรบ้าง แต่ขอยกยอดไปไว้ในตอนหน้านะครับ
โฆษณา