2 มิ.ย. 2023 เวลา 01:20 • หนังสือ

#สรุป หนังสือ The Science of Storytelling

การเล่าเรื่องนั้นเป็นศาสตร์และศิลป์ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ The Science of Storytelling อธิบายถึง การเล่าเรื่องในมิติของประวัติศาสตร์ ศิลปะ และความเป็นศาสตร์ได้อย่างยอดเยี่ยม
.
อย่างไรก็ตาม มันเหมาะสมกับผู้ที่ชอบเสพสื่อต่างๆมาบ้างแล้วเพราะมีการถอดรหัสความสนุกจากหนังสือและภาพยนตร์มากมายหลายเรื่องทีเดียว อ่านแล้วได้แนวคิดมากมายมาปรับใช้กับการเล่าเรื่องของตนเองเลยอยากทำมาสรุปให้ฟังดังนี้
.
- เรื่องเล่า เป็นสิ่งที่ผูกโยงมนุษย์เข้าด้วยกันในหลายระดับ ทั้งครอบครัว องค์กร ไปจนถึงความเป็นชาติ และการขายของ
- สมองมนุษย์สนใจความเปลี่ยนแปลงเพราะมันเกี่ยวพันกับความอยู่รอดของชีวิต เรื่องเล่าที่ดีมักนำเสนอความเปลี่ยนแปลงดึงดูดให้สมองสนใจ
- แต่ความเปลี่ยนแปลงทั่วไปนั้นไม่เพียงพอ มันต้องเป็นความเปลี่ยนแปลงแบบปุบปับ หรือ เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง
- สถานการณ์ในเรื่องเล่าสร้างอารมณ์ร่วมให้กับผู้เสพผ่านการฟันฝ่าอุปสรรคของตัวละคร เรื่องเล่าที่ปราศจากตัวละครสร้างอารมณ์ร่วมได้ยากมากเพราะมันเป็นเหมือนการบอกเล่าสถานการณ์เท่านั้น
- เมื่อถอดรหัสจากเรื่องเล่ามากมายมักต้องมีปริศนาน่าฉงน แล้วพาเข้าสู่เหตุการณ์ที่ค่อยๆคลี่คลายปริศนานั้น แต่สุดท้ายเราจะพบว่าคิดผิดและรู้สึกว้าวกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆในเรื่อง
- แต่กระนั้น ซีรีส์ยาวๆหลายเรื่องก็สนุกตรงการค่อยๆคลายปริศนาซึ่งดึงดูดให้เราดูต่อไปได้เรื่อยๆ (แม้ว่าตอนจบจะเฉลยแบบไม่ได้เรื่องนักก็ตาม)
- การบรรยายให้เห็นภาพมีทริกเล็กๆง่ายๆคือ บอกลักษณะอย่างน้อย 2-3 อย่างของสิ่งๆนั้น เท่านี้สมองก็สร้างภาพออกมาได้ชัดเจนแล้ว
ฯลฯ
ที่สรุปออกมานี้ยังไม่ถึงครึ่งเล่มเลย
ท่านใดที่สนใจเสริมทักษะการเล่าเรื่องแนะนำให้อ่านแบบเต็มๆครับ
แปลออกมาได้ดีและเข้าใจง่ายมาก
สั่งได้ทาง inbox เพจ FB อาจวรงค์ ป๋องแป๋ง จันทมาศ
ราคา 350 บาท
ขอบคุณที่สนับสนุนครับ
อาจวรงค์
โฆษณา