3 มิ.ย. 2023 เวลา 23:02 • ข่าว

แบงก์เดินหน้า “ขึ้นดอกเบี้ย” ต้นทุนธุรกิจพุ่ง-กู้บ้านจ่ายแพง

แบงก์เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยตาม กนง. “กรุงเทพ” นำร่องปรับทั้ง 2 ขา ดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อยแตะ 7.05% ต่อปี “กสิกรฯ-EXIM-ธ.ก.ส.” ขยับตาม “ทีทีบี” รอดูตลาด-คู่แข่ง ยอมรับลูกหนี้กู้ซื้อบ้านต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้น “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ชี้รอบนี้แบงก์ต้องชั่งน้ำหนักให้ดี เหตุเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง EIC เผย 2 กลุ่มเจอผลกระทบเหตุเศรษฐกิจฟื้นไม่ทั่วถึง สมาคมอาคารชุดชี้แบงก์เข้มปล่อยกู้ดีเวลอปเปอร์เผยรายกลาง-รายเล็กลำบาก แนะเบรกลงทุน นายกฯจัดสรรเผยดอกเบี้ยขาขึ้น ผสมโรงต้นทุนพลังงาน สวนทางกำลังซื้อชะลอ
แบงก์ระวังกระทบลูกหนี้
ดร.เชาว์ เก่งชน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า จากที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ล่าสุด (31 พ.ค.) ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เป็น 2.0%
4
และแม้ว่า กนง.จะส่งสัญญาณว่ายังมีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่การประชุมรอบต่อไป (เดือน ส.ค.) คาดว่า กนง.จะต้องรอดูและประเมินเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้าก่อน เนื่องจากมีความไม่แน่นอนอยู่มาก อย่างไรก็ดี หากแนวโน้มเศรษฐกิจออกมาดี การท่องเที่ยวขยายตัวดีกว่าคาด กนง.ก็สามารถขึ้นดอกเบี้ยต่อได้
1
“การเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อยังเป็นไปได้ แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขที่สถานการณ์ต่าง ๆ ต้องลงตัวมาก ๆ ตอนนี้ กนง.คงไม่อยากส่งสัญญาณว่าจะหยุดขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไป” ดร.เชาว์กล่าว
ดร.เชาว์กล่าวว่า รอบนี้แบงก์คงจะต้องคำนึงถึงการทำธุรกิจของลูกค้า ความต้องการสินเชื่อ และภาวะเศรษฐกิจ ที่ตอนนี้ภาคการส่งออกแย่กว่าคาด เพราะเศรษฐกิจต่างประเทศชะลอตัว ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมก็ไม่ดี มีแค่ภาคการท่องเที่ยวที่ดี นอกจากนี้ ยังมีประเด็นความไม่แน่นอนเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล เรื่องนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ที่ยังรอความชัดเจน
“การส่งผ่านนโยบายการเงินรอบนี้ แบงก์อาจจะต้องชั่งน้ำหนักพิจารณาเรื่องสภาพคล่อง ต้องวิเคราะห์กันว่า เป็นโอกาสที่แบงก์จะขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนักว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นกับความเสี่ยงด้านเครดิต และคำนึงถึงการทำธุรกิจของลูกค้าว่าเป็นอย่างไร และต้องเป็นการขึ้น 2 ขาเพื่อให้สมดุลกัน” ดร.เชาว์กล่าว
“แบงก์กรุงเทพ” นำร่องขึ้นดอกเบี้ย 2 ขา
ขณะที่ธนาคารกรุงเทพนำร่องประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ มีผลตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย. 2566 เป็นต้นไป โดยระบุว่าปรับตามคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่อง
นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า ดอกเบี้ยเงินฝากจะปรับขึ้น 0.05-0.25% ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับขึ้น 0.20% โดยอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ (MLR) หรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลาขยับขึ้นเป็น 6.85% ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเอ็มโออาร์ (MOR) หรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชีขยับเป็น 7.30% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ (MRR) หรืออัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดีเป็น 7.05% ต่อปี
2
“กสิกรไทย” ขยับตาม มีผล 6 มิ.ย. 66
ขณะที่ธนาคารกสิกรไทย ขยับตามมาติด ๆ โดยนายกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำสำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล 0.05% – 0.25% เพื่อเป็นการเพิ่มกำลังซื้อให้ลูกค้าสามารถรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจได้อย่างราบรื่น
1
ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อให้สอดรับกับการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารจึงได้ทำการปรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพิ่มขึ้น 0.20% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) และ อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 7.02% 7.34% และ 7.05% ต่อปี ตามลำดับโดยให้มีผลในวันที่ 6 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป
EXIM bank ขึ้น Prime Rate อีก 0.25%
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ย Prime Rate 0.25% ต่อปี จาก 6.25% ต่อปี เป็น 6.50% ต่อปี ซึ่งยังคงเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดีที่ต่ำที่สุดในระบบ มีผลตั้งแต่วันที่ 6 มิ.ย. 2566 เป็นต้นไป
1
โฆษณา