3 มิ.ย. 2023 เวลา 02:49 • หุ้น & เศรษฐกิจ

3 สิ่งกระตุ้น ชวนให้นักลงทุน ‘หวั่นไหว’

#กระแสการเลือกตั้ง ในสัปดาห์นี้เริ่มเพลาๆ ลงไปถ้าเทียบกับสัปดาห์ก่อนๆ…
…แต่ผู้คนก็ยังไม่ละสายตาไปจาก #การเมือง เพราะแม้ว่า #การเลือกตั้ง จะจบไปแล้ว แต่ก็ถือว่ากระบวนการใน #การจัดตั้งรัฐบาล ยังไม่เสร็จสิ้น ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ก็เหมือนคุณได้งานแล้ว แต่ยังไม่ได้เซ็นสัญญาครับ 😬
แน่นอนว่า #ความไม่แน่นอนนี้ ยังคงเป็นหนึ่งในเหตุผลของ #ความผันผวน และ #ความหวั่นไหว ขึ้นลงของ #ตลาดหุ้นไทยครับ 😱
🤔 ความหวั่นไหวในตลาดหุ้น?
คำว่า ‘ความหวั่นไหว’ ทำให้คุณนึกถึงอะไรครับ
หลายคนอาจจะนึกถึง #รักครั้งแรก ใช่มั้ยครับ 💘
(ถ้าคุณลองค้นหาคำว่า ‘ความหวั่นไหว’ ใน Google ดู เนื้อหาแรกๆ ที่จะปรากฎขึ้นจะเป็นเรื่องของความรักทั้งนั้นเลย) 😄
ความรู้สึกที่อยู่ดีๆ เราก็มีคำถามที่ไม่มีคำตอบอยู่ในหัวเต็มไปหมด แล้วเรายังไม่สามารถตอบคำถามเหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง รู้สึกไม่เป็นตัวเองสุดๆ #สับสน #วุ่นวาย รู้สึกควบคุมไม่ได้ และไม่แน่นอนเอาเสียเลย
📌สภาวะอารมณ์ ‘หวั่นไหว’ คือ ความรู้สึกที่ไม่แน่นอน จนทำให้คุณเองสามารถคล้อยตามสิ่งที่เข้ามา ‘กระตุ้น’ ได้ง่าย หรือที่เราจะเรียกว่า #สิ่งเร้า ครับ
🫣 และอารมณ์ ‘หวั่นไหว’ นี่เองครับ ที่ทำให้นักลงทุนไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุนมานักต่อนักแล้ว เพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังหวั่นไหวอยู่ และตัดสินใจคล้อยตามไปกับสิ่งเร้า ที่เข้ามา #กระตุ้น
แล้วความ‘หวั่นไหว’ มันลุกลามไปจนถึงตลาดหุ้นได้อย่างไร ?
…ไปหาคำตอบกันต่อครับ 💬
ก่อนที่ตลาดจะหวั่นไหว นักลงทุนจะต้องหวั่นไหวก่อนครับ และการที่นักลงทุนหวั่นไหวพร้อมกันเป็นจำนวนมากนั่นเอง ที่ทำให้ตลาดหวั่นไหว และผันผวนได้
ตลาดหุ้นทุกตลาด หากเจอของแรงอย่างความไม่มั่นคง อะไรที่ยังไม่มี หรือไม่เห็นคำตอบสุดท้ายที่ชัดเจน จะสร้างความลังเลให้กับนักลงทุนครับ
📍เมื่อนักลงทุนหวั่นไหว ก็อาจจะมีผลต่ออารมณ์โดยรวมของตลาด จนมีแรงเทขายกันเป็นเทน้ำเทท่าก็ได้เหมือนกันครับ 📈
แล้วอะไรที่ทำให้นักลงทุนหวั่นไหวได้บ้าง? วันนี้เราขอมา #สรุป 3 สิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้นต่อมหวั่นไหวของนักลงทุน จนทำให้ตลาดเต้นแรงกว่าจังหวะหัวใจ ดังนี้ครับ
#การเมือง 💼
เห็นได้ชัดว่าส่งผลต่อนักลงทุนและตลาด และส่งผลมาโดยตลอด ไม่มากก็น้อย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกันเลยทีเดียว
อย่างในการเลือกตั้ง 8 ครั้งหลังสุด (ปี 2539 2544 2548 2549 2550 2554 2557 2562) ตลาดหุ้นปรับตัวเป็นลบ หลังเลือกตั้งผ่านไป #1เดือน สูงถึง 6 ครั้ง! คิดเป็น 75% ของทั้งหมด ซึ่ง Jitta Wealth ได้รวบรวมข้อมูลไว้อย่างละเอียดในนี้ 👉 https://www.facebook.com/jittawealth/posts/pfbid02ZtWnw5HxbE6dBZH7XjDDFWQLrQn3H9Ev9nMEuznPnXUo86i5qhSmDmJMq9n7KaRdl
บางครั้งคำว่า ‘การเมือง’ อาจจะทำให้คุณรู้สึกว่าไกลตัว แต่จริงๆ แล้วมันใกล้ตัวมากกว่าที่คิดครับ เรียกว่าอยู่รอบตัวไปหมด
ถ้าให้ลองนึกดูก็แทบไม่มีนโยบายไหนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือตลาดหุ้นเลย 😮
เช่น นโยบายที่เคยมีเกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ก็ยังช่วยส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวได้ 🏖️
และที่คุ้นเคยกันดีเลย นั่นก็คือ นโยบายการเงินการคลัง การเพิ่มลดดอกเบี้ย ปรับอัตราภาษี ที่ล้วนแต่กระทบเศรษฐกิจโดยตรงทั้งสิ้น 💸
เห็นได้ว่าแทบจะทุกนโยบายที่เกิดขึ้นจากภาครัฐ ล้วนหวนกลับมามีผลต่อเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นและนักลงทุนครับ
ดังนั้นเมื่อมีความไม่แน่นอนทางการเมือง หรือมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่นักลงทุนจะเกิดความหวั่นไหว จากสิ่งเร้าทางการเมืองเหล่านี้…
เหตุการณ์ต่อมา เป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก หรือแทบจะควบคุมไม่ได้เลย แถมดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกับการลงทุนเลยด้วยซ้ำ แต่กลับส่งผลกระทบต่อนักลงทุนและตลาดหุ้นอย่างมาก
#ดินฟ้าอากาศ 🌧️
ใครจะไปเชื่อครับว่า ‘ฝนตกแดดออก’ จะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ตลาดหุ้นหวั่นไหวได้ ไม่ว่าจะเป็น ช่วงฝนแล้งอย่างตอนนี้ที่ร้อนจนแทบจะระเหยเป็นไอ ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกรับประทานอาหารในร้านที่มีแอร์ แทนการนั่งรับลมร้อน 🥵
หรือช่วงที่ฝนตกหนัก จนแทบจะท่วมกันอยู่ทุกปี ก็สร้างแผลใจจนเกิดเป็นความหวั่นไหวไม่น้อยครับ เพียงแค่ฝนตกหนักติดต่อกันสัก 3 วัน โรงงานหรือบริษัทหลายแห่ง ต่างก็ต้องเตรียมการรับมือกันให้วุ่นแล้ว 🌧️
‘น้ำท่วม’ ดูจะเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนเห็นภาพชัดที่สุดครับ ☔
ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่อาจจะดูเกินจริงแต่จริง คือถ้าใครที่น้ำเคยท่วมบ้าน ฝนตกติดต่อกันหลายวัน ข่าวออกมาว่ามีแนวโน้มว่าน้ำจะท่วม
บอกได้เลยครับว่า ต้องคิดเตรียมการแล้วว่าถ้าท่วมจะทำอย่างไร (ประสบการณ์ส่วนตัว ขอบอกเลยว่า น้ำท่วมบ้านทีเจ็บหนักครับ)
 
การใช้จ่ายในช่วงนั้นก็คงจะต้องรัดกุมมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ฉุกเฉิน จนบางคนถึงกับต้องขายหุ้นเพื่อเตรียมเงินสดรอไว้เลยทีเดียว💸
อย่างเช่นในปี 2565 ที่ผ่านมา ที่มีปริมาณน้ำฝนสูงกว่าปกติ เนื่องจากฤดูฝนเริ่มต้นเร็ว ซึ่งแม้จะน้อยกว่าปี 2554 แต่จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ ก็ทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงราว 5% ในระยะเวลาแค่ 2 เดือน
และเหตุการณ์สุดท้าย ที่ถือเป็นสุดยอดตัวร้าย เลยก็ว่าได้ครับ 👿
#ข่าวสาร 📰 หรือเหตุการณ์ที่ถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง
เพราะไม่ว่าจะเป็นการเมือง หรือน้ำท่วม ต่างก็ถูกแพร่กระจายไปสู่นักลงทุนในรูปแบบของ ‘ข่าวสาร’ ครับ 🗞️
อย่างเช่นข่าวการก่อการร้ายที่ราชประสงค์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 และมีเหตุการณ์ต่อเนื่องในวันที่ 18 สิงหาคม 2558 จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ตลาดหุ้นปรับตัวลงราว 7% จึงจะกลับมาฟื้นตัวในอีก 2 สัปดาห์
และยิ่งสมัยนี้มีสื่อโซเชียลมีเดียมากมาย ที่นอกจากจะทำให้ได้รับข่าวสารอย่างรวดเร็วแล้ว บางข่าวที่เราไม่ได้สนใจก็ยังมาเข้าตา 😅
บางครั้งเป็นเรื่องที่ไม่ได้ผ่านการพิสูจน์ความถูกต้องด้วยซ้ำ กลับกลายเป็นข่าวดังภายในชั่วข้ามคืน และยิ่งเรื่องอะไรที่มีความเห็นของ #ชาวเน็ต เข้ามาเกี่ยวด้วยแล้ว ก็ยิ่งมีอิทธิพลครับ
เห็นได้จากที่หลายๆ บริษัท หุ้นตกเพียงเพราะชาวเน็ตไม่พอใจ ซึ่งผู้บริหารบริษัทใหญ่ๆ ต่างก็เคยปวดหัวกับเหตุการณ์เหล่านี้มาแล้ว
นี่ยังไม่นับเรื่องที่เป็น ข่าวจริงๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจ เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ที่นักลงทุนให้ความสนใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้วด้วยก็ยิ่งไปกันใหญ่ครับ
จนในบางครั้ง ข่าวที่เฉพาะเจาะจงแค่กับ 1 บริษัท กลับทำให้นักลงทุนพากันหวั่นไหวจนกลายเป็นกระทบทั้งอุตสาหกรรม หรือกระทบทั้งตลาดได้ง่ายๆ
นี่เป็นเพียงตัวอย่างของ 3 สิ่งที่มากระตุ้นเท่านั้นครับ ยังคงมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่จะทำให้นักลงทุน #หวั่นไหว ได้ จนพาลไปทำให้ตลาดผันผวนด้วย
🤗 ลงทุนอย่างมีสติ ยาวิเศษป้องกันสิ่งเร้า ที่จะเข้ามากระตุ้นหัวใจ
สาเหตุที่ สิ่งเร้าเหล่านี้ กระตุ้นให้คุณหวั่นไหวได้ เป็นเพราะคุณปล่อยให้มันมา #เล่นกับอารมณ์ของคุณ จนลืมมองถึงเหตุและผลจริงๆ ของมันครับ
✅ ดังนั้นเมื่อมีอะไรเข้ามาที่ทำให้คุณรู้สึกสับสน และหวั่นไหว สิ่งที่คุณควรทำคือ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ครับ
ทุกสิ่งเร้าสร้างผลกระทบได้หลายรูปแบบ อาจกระทบกับตลาดในระยะสั้น บ้างกระทบกับตลาดแบบอ้อมๆ หรืออาจจจะเป็นตัวพลิกเกมไปเลยก็ได้เช่นกัน
🤩 คิดอย่างมีสติ วิเคราะห์ถึงเหตุผล แยกแยะให้ได้
เมื่อคุณรู้สึก ‘หวั่นไหว’ ให้เริ่มคิดครับ ว่าเหตุการณ์นั้นคืออะไร และวิเคราะห์ว่ามันจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนของคุณยังไงบ้าง
จากนั้นจึงแยกแยะครับว่า มันส่งผลกระทบแค่ไหน และเมื่อไหร่ สำคัญเลยคือ ต้องอย่าเหมารวมครับ
💘ในการลงทุนระยะยาว ภาพรวมเป็นสิ่งสำคัญ คุณต้องแยกให้ออกว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นกับส่วนไหน
อย่าให้ความหวั่นไหว มาทำให้คุณตัดสินใจผิดพลาด แต่ทำให้มัน เป็นเซ็นเซอร์ ที่คอยเตือนให้คุณ หยุดคิด และหาวิธีรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น #อย่างมีเหตุผล
เพราะในการลงทุนระยะยาว ยังมีอะไรอีกมากครับ ที่จะเข้ามาทำให้คุณหวั่นไหวจนใจเต้น ตัดความรู้สึกที่ไม่จำเป็นออก แล้วโฟกัสที่เป้าหมาย และย้ายตัวเองไปสู่ความสำเร็จครับ
โฆษณา