5 มิ.ย. 2023 เวลา 10:18 • ธุรกิจ

“หลังจบบอร์ดวางแผนการเงินอย่างไรดี?”

ช่วงนี้เป็นฤดูกาลสอบบอร์ดของ Resident/Fellow
อีกเพียงไม่ถึง 1 เดือน จะมีว่าที่ staff จบใหม่มากมาย
เชื่อว่า เป็นปัญหาสำหรับเพื่อนแพทย์หลายๆ ท่าน ไม่รู้ว่าจะบริหารจัดการเงินอย่างไรดีหลังเรียนจบบอร์ด เนื่องจากแต่ละท่านมีแผนอนาคตที่ต่างกัน
บางคนวางแผนแต่งงาน
บางคนวางแผนมีลูก (ทั้งมีคนแรก และ มีลูกเพิ่ม)
บางคนเตรียมตัวเป็นแม่บ้าน full time (สามีเลี้ยง…อันนี้เริ่ดสุดๆ) 😇
บางคนเตรียมตัวเรียนต่อ 🥲
บางคนวางแผนทำงานเก็บตังค์อย่างเดียว เตรียมเกษียณ
วันนี้ขอมาแชร์และนำเสนอไอเดีย ผ่านไอเดียเดิม คือ “ปิรามิดทางการเงิน”
อาจจะทำให้หลายๆ ท่านได้ไอเดียไปใช้ไม่มากก็น้อย
ขั้นที่ 1 : Cashflow management
เชื่อว่าหลายท่านคงเริ่มมีเงินเก็บกันบ้างแล้ว บางท่านเก็บได้ตั้งแต่ก่อนเรียนจบ บางท่านพ่อแม่เก็บไว้ให้ บางท่านเก็บเงินได้ตอนใช้ทุน บางท่านใช้หมดแล้วตอนกลับมาเรียน resident/fellow
แต่… อยากให้มา “ทบทวนรายรับรายจ่าย” ของตัวท่านเองใหม่อีกครั้ง เนื่องจากหลังเรียนจบ เงินเดือนก็เปลี่ยนแปลง ภาระต่าง ๆ ก็ เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการ update เงินเข้าออกแต่ละเดือนใหม่หลังเรียนจบจึงเป็นสิ่งแรกที่ควรจะทำ 🥇
หนี้ภาระต่าง ๆ ที่ต้อง “จ่ายออกไปในแต่ละเดือน” ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ไม่ควรเกินแบบสุด ๆ คือ 30-40% ของรายรับ เช่น เงินเดือน 100,000 บาท ไม่ควรมีหนี้ก้อนใหญ่ๆ ต่อเดือน เกิน 30,000 - 40,000 บาทต่อเดือน เพราะอย่าลืมว่า ท่านยังมีค่าใช้จ่ายประจำวัน ค่ากินค่าอยู่ บางท่านมีครอบครัวแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวลูกและครอบครัวมากขึ้น ดังนั้นถ้าท่านมีภาระกับหนี้ก้อนใหญ่มากเกินไป จะทำให้ท่านรู้สึกตึงมือ หมุนเงินใช้ต่อเดือนกันพัลวันได้ 😵
ได้เงินเดือนมาต้องรีบหักออกอย่างน้อย 20% เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน อย่างน้อยควรมีเก็บไว้สักประมาณ 3-6 เดือน “ของรายจ่ายในแต่ละเดือน” เพื่อ…เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้มั่นใจว่ามีเงินสำรองไว้ใช้ได้อย่างน้อย 3-6 เดือนอย่างเพียงพอในช่วงที่กำลังแก้ปัญหานั้นๆ เป็นการชั่วคราว 💵
⭐️ ซึ่งเงินเก็บฉุกเฉินนี้ ควรเก็บในรูปแบบของการพร้อมใช้ ไม่ต้องคำนึงถึงอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่จะได้รับนะครับ เอาแบบบ้านๆ ถอนใช้ได้ทันที ก็บัญชีออมทรัพย์ธรรมดาเนี่ยแหละครับ แต่ในปัจจุบัน แนะนำเป็น e-saving นะครับ เนื่องจากได้ดอกเบี้ยสูงกว่าออมทรัพย์ธรรมดา แถมถอนได้ทุกเวลาอีกด้วย⭐️
ขั้นที่ 2 : Protection & Risk transfer
ปัญหาหลัก ๆ ของอาชีพหมอ ก็คือ ต้องเอาแรงกาย และ เวลา ไปแลก ดังนั้นถ้าท่านเกิดทำงานไม่ได้ขึ้นมา มันก็ย่อมไม่มีรายได้ ซึ่งจะมากน้อยขึ้นอยู่กับว่าท่านอยู่ในสังกัดไหน รับราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย อยู่โรงพยาบาลเอกชน (ทั้ง full time และ Part time) หรือเปิดคลินิกส่วนตัว (ทั้งเปิดเองเต็มตัว หรือ เปิดเสริมจากเวลาทำงานเดิม)
แต่ไม่ว่าจะมากจะน้อย นั่นหมายถึงรายได้ทีท่านต้องเสียไปอย่างแน่นอน และถ้ายิ่งท่านเป็นเสาหลักหาเงินหลักให้ครอบครัว นั่นย่อมส่งผลกระทบต่อคนทั้งครอบครัวและจะนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ต่อไปเป็นลูกโซ่
📍ดังนั้น ขอให้ระลึกเสมอว่า “ตัวท่านเองมีค่ามาก” ทั้งในมูลค่าทางการหารายได้ และ มูลค่าที่จะสร้างประโยชน์ให้ตนเองและคนรอบข้าง เสียเวลาเรียนมานาน อย่าด้อยค่า และทำให้มูลค่าเหล่านี้สูญเสียไป
🛡️🛡️ ปิดความเสี่ยงเหล่านี้ ด้วยการหาเกราะคุ้มกัน และ โอนย้ายความเสี่ยงเหล่านี้ให้ประกันช่วยดูแล
💚 ประกันชีวิต : อันนี้ขอให้ทำทุนประกันคุ้มครองชีวิตท่าน บางท่านคิดไม่ออกว่าควรทำมากน้อยเท่าไรดี ? อย่างน้อยให้ใกล้เคียงหนี้สินและภาระที่ท่านมี เพราะถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น จะได้ไม่ทิ้งภาระให้คนข้างหลังท่านต้องลำบาก
💚 ประกันอุบัติเหตุ : อันนี้จะดีสำหรับคนที่ต้องเดินทางไปทำงานตลอด บางท่านทำงานต่างอำเภอ บางท่านทำงานจังหวัดข้างเคียง บางท่านต้องบินไปทำงานจังหวัดไกลๆ สัปดาห์ละครั้ง ซึ่งยิ่งเดินทางบ่อย ยิ่งเสี่ยงต่ออุบัติเหตุบ่อย การมีประกันอุบัติเหตุไว้ย่อมดีกว่า เนื่องจากครอบคลุมทั้งค่ารักษา การสูญเสียอวัยวะ การทำงานไม่ได้ และการเสียชีวิต ถ้าเทียบกับค่าเบี้ยที่ต้องเสียเพียงหลักพัน แลกกับความคุ้มครองหลักแสนหลักล้าน อันนี้นับว่าคุ้มค่า
💚 ประกันที่มีความคุ้มครองภาวะทุพพลภาพ : อย่าลืมว่าความเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ ถ้าเป็นหนักถึงขั้นเสียชีวิตไป ก็ยังมีประกันชีวิตที่เราทำไว้ช่วยดูแล แต่ถ้ามันไม่ตายละ ??? ถ้าพิการถาวร นอนติดเตียง จะทำอย่างไร ??? การทำประกันที่คุ้มครองภาวะทุพพลภาพแบบนี้ด้วย ก็จะช่วยปกป้องและลดความเสี่ยงจุดนี้ได้
***แต่อยากโน้ตไว้นิดนึงว่า ทุพพลภาพของเรา ของทางการแพทย์ และของทางประกันนั้น ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ก่อนจะต้องสอบถามเงื่อนไขที่ชัดเจนจากตัวแทนก่อนที่จะทำประกัน***
💚 ประกันชดเชยรายได้ : ในกรณีที่ท่านเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ทำงานไม่ได้ 4-5 วัน จะได้อุ่นใจว่า ยังมีรายได้ชดเชยจากประกันมาช่วยทดแทน แม้ว่าอาจจะไม่มากเท่าที่ท่านทำได้ แต่อย่างน้อยก็จะได้ไม่หนักหนาสาหัสเกินไป จะมีประโยชน์มากถ้าท่านเปิดคลินิกส่วนตัว หรือทำงานเอกชนที่ไม่มีสวัสดิการวันลา หรือ ไม่มีเงินการันตีให้ท่านแล้ว
💚 ประกันโรคร้ายแรง : ฟังดูเหมือนจะไกลตัว แต่ข่าวที่ออกมาทุกวันนี้ คือ เรียนจบเป็นมะเร็ง กันมากขึ้น คือ โรคร้ายพวกนี้เรายิ่งเจอมันในช่วงที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ ท่านจะมั่นใจได้อย่างไร ว่ามงจะไม่มาลงที่ท่าน เวลาเป็นโรคร้ายพวกนี้มันกินระยะเวลารักษานาน และส่งผลให้ท่านทั้งหลายประกอบอาชีพการงานแบบปกติไม่ได้ และทำให้ความสามารถในการหารายได้มันหายไป อย่างต่ำๆ ก้อหลักเดือน ถึง หลักปี ประกันโรคร้ายแรงก็จะมาช่วยแบ่งเบา ช่วยอุดจุดนี้ให้ท่าน
ด้วยเงินก้อนก้อนหนึ่งที่ท่านจะสามารถทำไปใช้จ่ายชั่วคราว ขณะรักษาตัวอยู่ได้ บางประเภทมีค่าชดเชยการนอนโรงพยาบาลขณะท่านนอนรักษาตัวด้วยโรคร้ายแรงอีกด้วย ได้ทั้งเงินก้อน ได้ทั้งเงินชดเชย เชื่อว่าทำให้ท่านรักษาตัวอย่างไม่พะว้าพะวงอย่างแน่นอน
⭐️ตัวประกันพวกนี้ ถ้าท่านมีความสามารถในการทำ อยากให้ทำให้ครอบคลุมให้หมดทุกจุดความเสี่ยง แต่ถ้ามีข้อจำกัด ขอให้เลือกทำชนิดที่ท่านคิดว่า เหย… เราน่าจะเสี่ยงแบบนี้มากที่สุดก่อน แล้วค่อยๆ ทยอยทำเพิ่มตัวอื่นตามมาได้ แต่…ไม่อยากให้เนิ่นนานเกิน เพราะอย่างที่บอก โรคร้าย อุบัติเหตุ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันเป็นของไม่เที่ยง มันจะมาเยือนเราได้ทุกเมื่อ ดังนั้นการไม่ประมาทและวางแผนป้องกัน as soon as possible จึงเป็นเรื่องจำเป็น⭐️
ขั้นที่ 3 : Saving and Investment (ขอ add tax planning ไว้ในหัวข้อนี้ด้วย)
เชื่อว่าหลายๆ ท่าน หลังจากเรียนจบ เงินเดือนออก แทบรีบอยากจะพุ่งมาเก็บเงินและลงทุนกันเลยทีเดียว เพราะถ้ารวยแล้วฝันว่าจะเลิกทำงาน หรือ ทำงานเอาสังคมสวยๆ พอ
ขั้นนี้ ก็ถือเป็นขั้นที่สำคัญ ที่จะสร้างความมั่งคั่งในตัวเอง และนำไปสู่การวางแผนเกษียณของท่านได้เลย “แต่ไม่อยากให้ท่านมองข้าม ขั้นที่ 1 และ 2 ไป” เพราะ ตอนนี้ท่านเพิ่งจบมา ยังไม่ได้มีทรัพย์สินที่แบบมั่นคงมาก ถ้าเกิดเหตุอันใดขึ้น แล้วการลงทุนของท่านยังอยู่ระหว่างการสะสมหรือสร้าง passive income ให้ท่านยังได้ไม่มากพอ เงิบเก็บและเงินลงทุนของท่านต้องสะดุดลงอย่างแน่นอน
⚠️ อันดับแรกท่านต้องประเมินความเสี่ยงของตัวท่านเองก่อน ว่ารับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากน้อยขนาดไหน ท่านสามารถประเมินได้ใน
🎯 กำหนดเป้าหมายในการลงทุนใช้ชัดเจน ว่าลงทุนเพื่ออะไร แบ่งเป็นระยะสั้น กลาง และระยะยาว (รวมถึงแผนเกษียณ) สำหรับแผนการเกษียณ สามารถคำนวณเงินที่ต้องการเก็บในยามเกษียณได้ ใน
✅ เลือกเครื่องมือทางการเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมาย และความเสี่ยงที่ท่านรับได้
ซึ่งในกรณีนี้จะเป็น individual แล้วแต่บุคคลแต่ละคน แต่จะขอเน้นในเป้าหมายระยะยาวคือเกษียณและกัน เพราะทุกคนย่อมหนีวันเกษียณไม่พ้น
🔸 สำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้มาก อาจจัดสัดส่วนการลงทุนในหุ้น/ตราสารทุนมากหน่อย อาจแบ่งบางส่วนไปลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกหรือสินทรัพย์ความเสี่ยงสูง เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้มากขึ้น
“แต่อย่าลืมว่าอันนี้เป็นพอร์ตการเกษียณ ในระยะแรกอาจจะลงสัดส่วนความเสี่ยงได้มาก แต่อย่าลืมปรับสัดส่วนการลงทุน เมื่ออายุมากขึ้น ช่วงใกล้เกษียณจะได้ไม่ผันผวน”
🔸 สำหรับคนรับความเสี่ยงได้น้อย ควรหันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อยลง เช่น ตราสารหนี้ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล อาจจะลงสัดส่วนในหุ้นหรือตราสารทุนบ้างเล็กน้อย เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้มากขึ้น
🟢 แต่อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาลงทุนเอง อาจลงทุนใน “กองทุนรวม” โดยเลือกกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ตามความเสี่ยงที่เรารับได้ และถ้ายิ่งลงทุนในกองที่ เป็น “SSF, RMF” ก็จะมีประโยชน์มาก เพราะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมอีกด้วย โดยจะ “แนะนำให้ซื้อให้เต็มอัตราทางภาษีที่สามารถซื้อได้” เพราะเปลี่ยนจากเงินที่ต้องจ่ายภาษีเป็นเงินเก็บเกษียณของเราจะดีกว่า
⭐️ สำหรับคนที่ลงทุนระยะยาว โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อการเกษียณ แล้วไม่อยากให้พอร์ตผันผวนมาก นอกจากจะเฉลี่ยสัดส่วนมาลงในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำอย่างตราสารหนี้ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาลแล้ว ยังมีตัว “ประกันบำนาญ” เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากได้รับสิทธิทางภาษี ยังได้ความคุ้มครองชีวิต และยามเกษียณได้เงินคือแน่นอนทุกปีตามสัญญา และที่สำคัญคือมีความเสี่ยงที่ต่ำ ไม่ต้องไปนั่งผันผวนยามอายุ 60
โดยสามารถอ่านรายละเอียดตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่
อย่างไรก็ตามขอยินดีกับการสอบผ่านล่วงหน้าของทุกคน ขอให้ชีวิต staff ไม่โหดร้ายเท่าตอนเป็น resident/fellow และขอให้การเงินมั่นคง และ เกษียณสำราญกันถ้วนหน้า
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน inbox , Line และ DM ทาง IG
#pulmofinance
#AIA
#Synergy10
โฆษณา