6 มิ.ย. 2023 เวลา 13:44 • การเกษตร

ปล่อยน้ำให้ "ต้นข้าว"

วันนี้มาแชร์ เกร็ดความรู้เล็กน้อย ในการทำนาข้าว จากประสบการณ์ที่พบเจอ ที่เคยทำนาข้าวมาหลายปี ปกติการทำนาข้าวในอดีตนั้น ถือว่าเป็นรูปแบบดั้งเดิม เป็นวิธีการทำนาข้าวที่ อาจกล่าวได้ว่าต้องรอฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งเมื่อถึงหน้าฝนแล้วก็จะมีการเตรียมดินเพราะปลูกข้าว ฝนก็จะตกตามฤดูกาล มีการคาดเดาไม่ยาก วางแผนที่จะทำนาก็ถือว่าง่าย
แต่ปัจจุบันนี้ อาจกล่าวได้ว่า มีอุปสรรคในการทำนาข้าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ สภาพอากาศแปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตกตามฤดูกาล พอเข้าฤดูฝน ฝนก็ตกเพียงเล็กน้อย แถมยังทิ้งช่วง ทำให้การทำนาข้าวยากมากขึ้นกว่าเดิมและส่งผลให้ผลผลิตที่ได้รับลดน้อยลง
และจากปัญหา ฝนไม่ตกตามฤดูกาลหรือฝนทิ้งช่วง จึงต้องหาวิธีการใหม่ๆมาปรับใช้ในการทำนาข้าว ซึ่งทางบ้านผู้เขียนก็ได้เลือกใช้วิธี " การปล่อยน้ำให้ต้นข้าว" การปล่อยน้ำให้ต้นข้าวถือเป็นทางเลือกที่ดี เพราะถ้ารอฝนตกตามฤดูกาล ต้นข้าวก็จะได้รับผลกระทบ เช่น ต้นข้าวยืนต้นตาย วัชพืชเกิดและแย่งอาหารต้นข้าว เป็นต้น
การปล่อยน้ำให้ต้นข้าว จึงถือเป็นแนวทางป้องกันและแนวทางแก้ปัญหา แต่ทั้งนี้ การปล่อยน้ำให้ต้นข้าวนั้น จะต้องพิจารณาตามความเหมาะสม ซึ่งจะต้องดูการเติบโตของต้นข้าวประกอบด้วย
และการปล่อยน้ำให้ต้นข้าว ทางบ้านผู้เขียน จะรอให้ต้นข้าวเติบโตและมีความสูงโดยประมาณ 10-20 เซนติเมตร ถึงจะปล่อยน้ำให้ต้นข้าว ซึ่งการปล่อยน้ำให้ต้นข้าวช่วงนี้ก็เพราะว่าต้นข้าวมีความแข็งแรงนั่นเอง
ปล่อยน้ำให้ต้นข้าว
และการปล่อยน้ำให้ต้นข้าว ก็ถือว่ามีข้อดีเช่นกัน คือ
1. ลดการเกิดวัชพืช
2. ลดต้นทุนการกำจัดวัชพืช
3. น้ำที่ปล่อยลงนาข้าวจะไปช่วยย่อยสลาย วัชพืช ฟางข้าว เศษใบไม้ ที่ถูกไถกลบ จนทำให้เน่าสลายและกลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นข้าว
4. ต้นข้าวเจริญเติบโตตามช่วงวัยและส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
ดั้งนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการปล่อยน้ำให้ต้นข้าวนั้นจะต้องดูปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย เช่น สภาพดินฟ้าอากาศและต้องติดตามข่าวสาร พยากรณ์อากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อจะได้วางแผนในการปล่อยน้ำให้ต้นข้าว ตามความเหมาะสม..
อย่างไรก็ตาม การปล่อยน้ำให้ต้นข้าวนั้น ก็ถือว่ามีค่าใช้จ่าย ผู้อ่านจะต้องนำไปปรับใช้และบริหารค่าใช้จ่ายให้ดี ซึ่งนี้ก็ถือเป็นต้นทุนในการผลิต และผู้เขียนหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่สนใจการทำเกษตรไม่มากก็น้อย
สามารถแบ่งปันองค์ความรู้หรือแนะนำหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้นะครับ
กด Like&Share เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนได้
ผู้เขียน : MR. SJ
🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾
โฆษณา