6 มิ.ย. 2023 เวลา 14:25 • ความคิดเห็น
น่าจะได้นะคะ ลองเทียบธนบัตรตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยดูค่ะ
ธนบัตรชำรุดไม่เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช 2501 มาตรา 18 จำ​แนกไว้ 4 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะของธนบัตรชำรุด
1 ธนบัตรครึ่งฉบับ
ธนบัตรครึ่งฉบับ คือ ธนบัตรที่ถูกแยกตรงกลางหรือใกล้กับกลางเป็นสองส่วนตามยืนเท่านั้น
หลักเกณฑ์การรับแลก - ให้รับแลกเปลี่ยนแต่ละครึ่งฉบับ ได้ครึ่งราคาของราคาเต็มของธนบัตรนั้น โดยต้องเขียนคำร้องการขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด
2 ธนบัตรต่อท่อนผิด
ธนบัตรต่อท่อนผิด คือ ธนบัตรซึ่งมีส่วนของธนบัตรฉบับอื่นมาต่อเข้าเป็นฉบับเดียวกัน
หลักเกณฑ์การรับแลก - ถ้าไม่เกินสองท่อน แต่ละท่อนเป็นธนบัตรแบบและชนิดราคาเดียวกัน ให้รับแลกเปลี่ยนได้เต็มราคาของธนบัตรนั้น ในกรณีที่ธนบัตรชำรุดขาดออกจากกันมากกว่าสองท่อน จะต้องเขียนคำร้องการขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด
3 ธนบัตรขาดวิ่น
ธนบัตรขาดวิ่น คือ ธนบัตรซึ่งมีส่วนหนึ่งส่วนใดขาดหายไป
หลักเกณฑ์การรับแลก - ​หากส่วนที่เหลืออยู่มีมากกว่าครึ่งฉบับ และสามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นธนบัตรรัฐบาล และมีสภาพที่จะไม่เสียหายจากการจัดส่ง ให้รับแลกเปลี่ยนได้เต็มราคาของธนบัตรนั้น
4 ธนบัตรลบเลือน
ธนบัตรลบเลือน คือ ธนบัตรที่มีเหตุทำให้อ่านข้อความหรือตัวเลขไม่ได้ความ
หลักเกณฑ์การรับแลก - หากการลบเลือนนั้น ไม่ถึงกับทำให้ไม่รู้ได้ว่าเป็นธนบัตรแท้จริง โดยให้รับแลกเปลี่ยนได้เต็มราคาของธนบัตรนั้น ซึ่งในกรณีนี้จะต้องเขียนคำร้องการขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ทำการพิสูจน์ว่าเป็นธนบัตรรัฐบาล
ส่วนวิธีการและสถานที่แลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด ตามรูปด้านล่างค่ะ
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฆษณา