10 มิ.ย. 2023 เวลา 04:00 • ธุรกิจ

สรุปประวัติศาสตร์ “ทิชชู” จากของที่คนคิดว่าไม่จำเป็น

สู่ตลาดมูลค่า 2.6 ล้านล้าน ที่ใคร ๆ ก็ขาดไม่ได้
1
กระดาษทิชชู แทบจะเป็นของใช้จำเป็นขั้นพื้นฐาน ที่มีใช้กันทุกบ้าน จึงไม่แปลกใจเลยที่ ตลาดกระดาษทิชชูทั่วโลก จะมีมูลค่าสูงถึง 2.6 ล้านล้านบาท (ข้อมูลปี 2021)
แล้วตัวเลขนี้มากขนาดไหน ?
ถ้าหากเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของไทย ก็เทียบได้กับ 15% ของ GDP ประเทศไทย เลยทีเดียว
แต่รู้หรือไม่ว่า กว่ากระดาษทิชชู จะมีวันนี้ได้
มันเคยเป็นสินค้าที่ถูกมองว่า “สิ้นเปลือง” และ “ไม่จำเป็น”
แล้วเรื่องราวนี้น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
รู้หรือไม่ว่า กระดาษทิชชู ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นที่ฝั่งประเทศตะวันตก แต่มาจากฝั่งตะวันออกอย่าง “ประเทศจีน”
โดยประวัติศาสตร์ของกระดาษทิชชู ถูกบันทึกอย่างคร่าว ๆ เป็นครั้งแรก ตั้งแต่เมื่อช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 โดยนักปราชญ์ชาวจีน
ซึ่งตอนนั้น ชาวจีนเริ่มนำกระดาษ มาประยุกต์ใช้เป็นกระดาษชำระ และหลังจากนั้น ก็ได้พบบันทึกว่า ช่วงศตวรรษที่ 14 กระดาษทิชชู ถูกนำไปเป็นของใช้ของชนชั้นสูง
โดยกระดาษทิชชูที่แต่งกลิ่นหอม ถูกผลิตขึ้นแด่จักรพรรดิหงอู่ แห่งราชวงศ์หมิง เพื่อใช้ในพระราชวังโดยเฉพาะ
3
ส่วนในโลกตะวันตกนั้น ประวัติศาสตร์ของกระดาษทิชชู เริ่มขึ้นหลังยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1
เมื่อคุณ Joseph Gayetty นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ผลิตกระดาษทิชชู ออกมาขายเป็นครั้งแรก ในปี 1857 ในชื่อแบรนด์ว่า “Gayetty’s Medicated Paper”
2
ด้วยราคา 50 เซนต์ต่อ 500 แผ่น หรือตกแผ่นละประมาณ 115 บาท หากตีเป็นมูลค่าในปัจจุบัน
ซึ่งก่อนหน้านั้น ชาวอเมริกันนำกระดาษที่ใช้แล้วมารียูส ใช้ในห้องน้ำ ซึ่งไม่ดีในแง่ของสุขอนามัยเท่าไรนัก
คุณ Gayetty จึงชูจุดขายว่า กระดาษทิชชูของเขา “บริสุทธิ์ดุจหิมะ” เพราะเป็นกระดาษใหม่ ใช้แล้วทิ้ง ทำให้สะอาด และผลิตจากเยื่อกระดาษที่ไม่มีสารอันตราย
อย่างไรก็ตาม แม้จะประกาศจุดเด่นของสินค้าออกไป แต่ยอดขายกระดาษทิชชู ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เพราะนอกจากราคาสูงแล้ว ผู้คนสมัยนั้นยังไม่มีความรู้เรื่องสุขอนามัยที่ดีนัก
จึงไม่เห็นความสำคัญว่า ทำไมต้องเสียเงินซื้อของสิ้นเปลือง ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างกระดาษทิชชู ทำให้กิจการของเขาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่หวังไว้
จนกระทั่งในปี 1890 คุณ Edward Irvin และคุณ Clarence Scott สองพี่น้องเจ้าของโรงงานผลิตกระดาษ “Scott Paper” ได้นำกระดาษทิชชู กลับเข้ามาตีตลาดอีกครั้ง แต่ด้วยหน้าตาที่แตกต่างออกไป
2
โดยพวกเขาผลิตกระดาษทิชชูแบบม้วน มีรอยปรุออกมา
ซึ่งจุดต่างนี้ก็เป็นที่ถูกใจของผู้คน เพราะทำให้กระดาษทิชชูฉีกใช้ได้ง่าย แถมมีราคาย่อมเยา
และนั่นกลายเป็นจุดเปลี่ยนของกระดาษชำระไปตลอดกาล
1
อีกทั้งในตอนนั้น ชาวอเมริกัน เริ่มหันมาสนใจเรื่องสุขอนามัยกันแล้ว ประกอบกับมีระบบประปาทั่วถึง ทำให้การเข้าห้องน้ำอย่างถูกสุขอนามัย เป็นสิ่งที่ทุกคนจับต้องได้
2
อย่างไรก็ตาม โมเดลธุรกิจของพี่น้อง Scott ตอนนั้น เป็นแบบ B2B โดยพวกเขารับจ้างผลิตกระดาษทิชชู (OEM)ให้แบรนด์อื่น ๆ แทนที่จะเป็นการสร้างแบรนด์ของตัวเอง
จนกระทั่งปี 1896 คุณ Arthur ลูกชายของคุณ Edward เข้ามาช่วยกิจการ เขาได้เริ่มผลิตและทำการตลาดกระดาษทิชชู ภายใต้แบรนด์ของบริษัทเอง และหยุดรับผลิตให้แบรนด์อื่น
2
นับแต่นั้นมา ธุรกิจของของ Scott Paper ก็เติบโตอย่างก้าวกระโดด และหลังจากนั้นเพียง 10 กว่าปี บริษัท Scott Paper ได้กลายเป็นผู้นำตลาดกระดาษทิชชูในระดับโลก
จนกระทั่งในปี 1995 บริษัทก็ถูก Kimberly-Clark Corporation ยักษ์ใหญ่ด้านสินค้าอุปโภคบริโภค ของสหรัฐฯ เข้าซื้อกิจการไป
แล้วประวัติศาสตร์กระดาษทิชชู บอกอะไรเราบ้าง ?
2
- การออกแบบสินค้าและบริการ ควรคำนึงถึงประสบการณ์ในการใช้งานของกลุ่มลูกค้าเป็นสำคัญ
เพราะเพียงพี่น้อง Scott เปลี่ยนรูปแบบสินค้า ให้เป็นม้วนและมีรอยปรุ จึงทำให้ลูกค้าใช้งานได้ง่ายขึ้น และตัดสินใจลองใช้ได้ไม่ยาก
อีกทั้งสินค้าที่ถูกออกแบบมาอย่างใส่ใจ ทำให้ช่วยลดแรงต้าน จากความเป็นสินค้าใหม่ ที่ลูกค้ายังไม่คุ้นชิน
- จังหวะและโอกาสในธุรกิจ
แม้คุณ Gayetty เคยล้มเหลวกับกระดาษทิชชูไปก่อนหน้า แต่ Scott Paper ยังตัดสินใจผลิตกระดาษทิชชู เพราะพวกเขาเห็นว่า ตอนนั้นตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภค เอื้ออํานวยแล้ว
เรื่องสุขอนามัย กำลังเป็นเทรนด์ของสังคม ทำให้การใช้กระดาษชำระในห้องน้ำเป็นเรื่องพื้นฐาน จึงเป็นจังหวะที่ดีและเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับพวกเขา
ดังนั้น การมีวิสัยทัศน์มองเห็นความเป็นไปได้ในตลาด รวมถึงรอจังหวะที่เหมาะสม ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จ
- ความได้เปรียบจากการเข้าตลาดก่อนคู่แข่งขัน
ตั้งแต่ Scott กลายเป็นกระดาษทิชชูม้วน เจ้าแรกของโลก ที่นำเสนอสินค้าใหม่ได้สำเร็จ ก็มีบริษัทอื่น ๆ มากมายจากหลายประเทศ ผลิตสินค้าออกมาแข่ง
แต่ผ่านไปแล้วกว่าร้อยปี กระดาษทิชชู Scott ก็ยังเป็นแบรนด์แรก ๆ ที่ผู้บริโภคนึกถึง มาจนถึงปัจจุบัน
เพราะนอกจากความชำนาญ และประสบการณ์ที่นานกว่าเจ้าอื่น ๆ แล้ว
ความเป็นเจ้าแรก ๆ ยังช่วยให้แบรนด์เป็นที่คุ้นเคยและจดจำของลูกค้าได้มากกว่า อีกด้วย..
โฆษณา