8 มิ.ย. 2023 เวลา 11:53 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สรุป การทุจริต ในบริษัท STARK ความเสียหาย 50,000 ล้าน

ข่าวใหญ่ที่สุดในวงการตลาดทุนไทยในตอนนี้ ที่ทุกคนต้องรู้ คือการทุจริตของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STARK
3
รู้หรือไม่ว่า บริษัทนี้เคยมีมูลค่าสูงสุด ถึง 60,000 ล้านบาท แถมเคยถูกจัดให้อยู่ในดัชนี SET100 หรือก็คือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นไทย 100 อันดับแรกด้วย
4
ตัดภาพกลับมาที่ปัจจุบัน STARK มีมูลค่าเหลือเพียง 2,000 ล้านบาท หรือมูลค่าหายไป 58,000 ล้านบาท..
3
นอกจากนั้น STARK ยังกู้ยืมเงินมาจากทั้งธนาคาร และผู้ซื้อหุ้นกู้ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ให้ยืมระดับหมื่นล้านบาท
4
เรื่องราวของบริษัทนี้เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
2
จุดเริ่มต้นของบริษัท STARK นั้น เกิดขึ้นเมื่อ 8 ปีที่แล้ว เมื่อบริษัท Phelps Dodge บริษัทผู้ผลิตสายไฟฟ้า สัญชาติอเมริกัน ตัดสินใจขายธุรกิจในไทยที่ประสบปัญหา
4
โดยผู้ที่มารับซื้อต่อก็คือ คุณวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ทายาทคนโตของอาณาจักรสี TOA ด้วยมูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาท
6
แล้วทำไมทายาท TOA
ถึงเข้าซื้อกิจการผู้ผลิตสายไฟฟ้า ?
1
ก็ต้องบอกว่าเบื้องหลังของดีลนี้ มีผู้ช่วยคนสำคัญคือ คุณชนินทร์ เย็นสุดใจ
3
เขาคนนี้เป็นอดีตผู้บริหารโรงพยาบาลพญาไท ที่มีประสบการณ์ในการเข้าซื้อกิจการ คอยช่วยเหลือคุณวนรัชต์ ในการเดินเกมทางธุรกิจ
2
โดยแต่เดิมนั้นธุรกิจของ Phelps Dodge ในไทย ประสบปัญหาขาดทุน
4
แต่หลังจากที่คุณวนรัชต์ เข้าไปซื้อกิจการได้เพียงไม่กี่ปี บริษัทก็เริ่มพลิกกลับมามีกำไร
1
จนในปี 2562 หรือราว 4 ปีก่อน คุณวนรัชต์ก็ได้ตัดสินใจนำ Phelps Dodge เข้าตลาดหุ้นไทย
3
แต่ไม่ใช่การเข้าด้วยท่าปกติทั่วไป ที่เราคุ้นเคยกันแบบ IPO แต่จะเป็นการเข้าตลาดหุ้นด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Reverse Takeover หรืออีกคำหนึ่งที่อาจจะคุ้นหูกว่านั้น ก็คือ Backdoor Listing แปลเป็นไทยตรงตัวเลย คือ เข้าทางประตูหลัง..
19
แล้วเข้าตลาดหุ้นทางประตูหลัง
มันมีวิธีการอย่างไร ?
1
Backdoor Listing เป็นการนำธุรกิจเข้าตลาดหุ้น ด้วยการให้บริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นอยู่แล้ว เข้าซื้อสินทรัพย์หรือหุ้นของบริษัทที่ต้องการจะเข้าตลาดหุ้น
10
สำหรับในกรณีของ STARK บริษัทที่เป็นตัวตั้งต้นก็คือ บริษัท สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ SMM
2
วิธี Backdoor Listing ของกรณีนี้ก็คือ ให้ SMM เข้าไปซื้อกิจการ Phelps Dodge
8
โดยที่ SMM ซึ่งทำธุรกิจสื่อนั้น ไม่ได้มีเงินสดมากพอที่จะเข้าไปซื้อกิจการของ Phelps Dodge ดังนั้น SMM จึงต้องออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับกลุ่มของคุณวนรัชต์ คิดเป็นมูลค่า 12,900 ล้านบาท
7
และแน่นอนว่าการที่บริษัทเล็กออกหุ้นเพิ่มทุนจำนวนมากขนาดนี้ให้แก่ผู้ถือหุ้นรายใหม่ ก็จะทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมของ SMM มีสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทที่น้อยลงมาก หรือภาษาตลาดทุนเรียกว่า Dilution หรือที่แปลว่า เจือจาง นั่นเอง
9
และเรื่องนี้ก็ส่งผลให้กลุ่มของคุณวนรัชต์ กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ SMM ไปโดยปริยาย
8
หลังจากเข้าตลาดหุ้นได้สำเร็จ กลุ่มของคุณวนรัชต์ ก็จัดการ ขายกิจการเดิมของบริษัท SMM ออกไป และเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก SMM มาเป็นบริษัท STARK แทน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
4
ในช่วงแรกที่เข้าตลาด STARK ก็ดูเหมือนธุรกิจที่ดำเนินการเป็นปกติ ไม่ได้มีสัญญาณว่าจะเกิดการฉ้อโกงอะไร
1
จนกระทั่งปลายปี 2565 บริษัทได้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่สถาบันการเงินหลายแห่ง คิดเป็นมูลค่า 5,000 ล้านบาท เพื่อนำไปซื้อบริษัท LEONI Kabel และ LEONIsche
2
แล้ว LEONI ทำธุรกิจอะไร ?
3
LEONI เป็นธุรกิจผลิตสายไฟฟ้ารถยนต์ EV และสายไฟฟ้าที่ใช้ในสถานีชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ EV ในประเทศเยอรมนี
5
ถึงตรงนี้ STARK ก็ดูจะดำเนินธุรกิจเหมือนกิจการทั่วไปที่ชอบการควบรวมกิจการ โดยเริ่มตั้งแต่การ Backdoor เข้าตลาดหุ้น มีการประกาศเข้าไปลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
3
แต่จุดนี้เอง ที่เรื่องราวของ STARK ได้เริ่มแปลกไป เพราะในทันทีที่บริษัท ได้รับเงินเพิ่มทุนครบแล้ว ผู้บริหารของ STARK กลับยกเลิกดีล..
14
โดยให้เหตุผลว่า มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน LEONI จนอาจส่งผลกระทบกับสถานะทางการเงินของบริษัท
3
เรื่องยังไม่จบลงเพียงแค่นั้น ต่อมาเมื่อถึงกำหนดส่งงบการเงิน ประจำปี 2565 บริษัทกลับไม่ส่งงบการเงินตามกำหนด ทำให้หุ้นถูกขึ้นเครื่องหมาย SP และถูกพักการซื้อขายเป็นเวลา 3 เดือน
9
โดยในช่วงเวลาที่หุ้นถูกพักการซื้อขายเป็นเวลา 3 เดือน ก็มีรายงานว่า คุณชนินทร์ เย็นสุดใจ ประธานกรรมการบริษัท พร้อมกับผู้บริหารอีกหลายคนต้องลาออกไป
7
โดยมีคุณวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ รับตำแหน่งเป็นรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารแทน พร้อมกับออกมายอมรับว่า บริษัทอาจมีการฉ้อโกงทางบัญชีเกิดขึ้น
6
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัทก็ออกมาเรียกร้องให้บริษัทคืนเงินกู้ยืมมูลค่าราว 2,000 ล้านบาท
3
และเมื่อถึงวันที่หุ้นกลับมาเปิดให้ซื้อขายเป็นการชั่วคราวอีกครั้ง ราคาหุ้นก็ปรับตัวลดลงมากถึง 90% ภายในวันเดียว
6
ต่อมาบริษัทแจ้งว่าได้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อติดตามทรัพย์สินของบริษัทคืน รวมถึงบริษัทได้ดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit) ซึ่งนั่นก็แปลว่า บริษัทยอมรับแล้วว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นที่มีความเสียหายจำนวนมากเกิดขึ้นกับบริษัท..
4
หากเราดูงบการเงินของ STARK ในช่วงที่ผ่านมา เราจะสังเกตเห็นความผิดปกติ หรือความเสี่ยงอะไรได้บ้าง ?
3
1. บริษัทมีหนี้สูง
3
บริษัทมีหนี้สินสำคัญคือ
- หุ้นกู้ 6,700 ล้านบาท
- หนี้เงินกู้ยืมธนาคาร 8,600 ล้านบาท
8
ในขณะที่ส่วนของผู้ถือหุ้น ของบริษัทอยู่ที่ 8,600 ล้านบาท เมื่อเทียบกับหนี้ที่มีดอกเบี้ย จะคำนวณ D/E ได้ 1.8 เท่า
3
2. บริษัทมีปัญหาเรื่องวงจรเงินสด
5
บริษัทเริ่มมีระยะเวลาขายสินค้า และระยะเวลาเก็บหนี้ที่นานขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาต่อ เงินหมุนเวียนในการทำธุรกิจ ซึ่งทำให้บริษัทอาจจะต้องกู้เงินมา เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่อง
3
คำถามที่ชวนสงสัยต่อนักลงทุนก็คือ ถ้าในเมื่อบริษัท ดูมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องในการทำธุรกิจ แล้วบริษัทเอาเงินจากที่ไหน มาหมุนเวียนในการทำธุรกิจ ?
4
คำตอบก็คือ เงินกู้ยืม นั่นเอง
2
โดยที่ผ่านมา STARK มีการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน และการออกหุ้นกู้ มาอย่างต่อเนื่อง
2
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็เชื่อว่า พวกเราน่าจะเข้าใจถึงเรื่องราวของบริษัท STARK ตั้งแต่จุดเริ่มต้นว่า บริษัทมาจากไหน และมาถึงจุดที่บริษัท เป็นอยู่ในปัจจุบันได้อย่างไร
7
บทความนี้ก็น่าจะเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่ดี ที่สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องของความเสี่ยง ที่จะอยู่คู่กับการลงทุนเสมอ ไม่ว่าเราจะลงทุนในอะไร
2
อย่างกรณีของ STARK ที่มีรายชื่อผู้ถือหุ้น เป็นทั้งบุคคล และกองทุนที่น่าเชื่อถือ มีมูลค่าระดับหมื่นล้านบาท และบริษัทอยู่ใน SET100 ซึ่งแปลว่าเป็นบริษัทที่ใหญ่สุดเป็น 100 บริษัทแรกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
4
แต่ในวันนี้กลับถูกพบว่า ทุจริต และทำให้มูลค่าหายไปจนแทบไม่เหลืออะไร
2
และสำหรับคนที่ถือหุ้น STARK เหตุการณ์นี้คงเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ทำให้ขาดทุนมากที่สุดในชีวิตการลงทุนของท่าน เพราะมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ได้หายไป -90%
4
สิ่งที่ท่านควรทำต่อไป ก็คงไม่ใช่มานั่งเสียใจ เฝ้ารอว่ามันจะกลับมาจุดเดิมได้หรือไม่ แต่เป็นการนำกรณีศึกษานี้มาเป็นบทเรียนให้เราได้คิด และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นอีกในอนาคต
8
และเมื่อเราสามารถป้องกันความเสี่ยงได้ดีขึ้นในอนาคต ผลลัพธ์มันอาจจะมากกว่ามูลค่าที่เสียไปก็เป็นได้
7
รู้หรือไม่ว่า คุณชนินทร์ เย็นสุดใจ ประธานกรรมการ STARK (หนึ่งในบุคคลสำคัญของเหตุการณ์นี้) เคยให้สัมภาษณ์ว่า ที่เขาตั้งชื่อ STARK ก็เพราะว่านำมาจาก Tony Stark ตัวละครใน Marvel
18
ซึ่งสิ่งที่ Tony Stark ได้พูดใน Avengers: Endgame ก็น่าจะย้อนกลับมาเป็นข้อคิดในเหตุการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี..
4
“It's not about how much we lost. It's about how much we have left.”
20
“มันไม่เกี่ยวว่าเราสูญเสียไปเท่าไร มันสำคัญที่สิ่งที่เราเหลืออยู่ต่างหาก” - Tony Stark
16
-หนังสือ Gone Fishing with Buffett (2012) โดย Sean Seah
-หนังสือ Getting Started in Value Investing (2007) โดย Charles S. Mizrahi
โฆษณา