9 มิ.ย. 2023 เวลา 03:00 • ธุรกิจ

“เครดิตบูโร” ธุรกิจเสือนอนกิน 1,000 ล้าน

เวลาสมัครบัตรเครดิต สังเกตไหมว่า จะมีส่วนหนึ่งในใบสมัคร ที่ไม่ว่าเราจะเลือกสมัครบัตรเครดิต กับผู้ให้บริการรายไหน จะต้องมีการเซ็นยินยอมเหมือนกัน
2
โดยเป็นการยินยอม ให้เปิดเผยข้อมูลของเรา แก่ผู้ให้บริการ เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาอนุมัติบัตรเครดิต
ซึ่งผู้ให้บริการข้อมูล ก็คือ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือที่หลายคนเรียกกันว่า เครดิตบูโร ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าองค์กรนี้ มีรายได้ระดับ 1,000 ล้านบาท
4
เครดิตบูโร มีที่มาอย่างไร
แล้วหารายได้มาจากอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ NCB เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านข้อมูลสินเชื่อ
ซึ่งจะมีการรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกของบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นสถาบันการเงิน ที่เป็นผู้ปล่อยกู้
2
โดยจะมีการให้ข้อมูลของผู้ที่มาขอสินเชื่อแก่สมาชิก เมื่อมีการร้องขอ เช่น ข้อมูลระบุตัวตน, ประวัติการได้รับสินเชื่อ, ประวัติการชำระหนี้, ประวัติการผ่อนชำระ เป็นต้น ซึ่งผู้ปล่อยกู้จะนำข้อมูล เพื่อไปประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อต่าง ๆ
4
แล้ว NCB มีที่มาอย่างไร ?
จุดเริ่มต้นของ NCB มีขึ้นในปี 2504 โดยสมาคมธนาคารไทย ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในไทย
4
ได้เข้าหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงแนวคิดที่จะให้มีหน่วยงานกลาง สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสินเชื่อ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
2
ในปี 2507 ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้ก่อตั้งหน่วยงานทะเบียนเครดิตกลาง เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบด้านข้อมูลสินเชื่อ
และได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. แต่มาหยุดชะงักลงในปี 2539 เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ
จนในปี 2541 กระทรวงการคลัง ได้รื้อฟื้นแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต ขึ้นมาอีกครั้ง
โดย ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น ในฐานะผู้รับผิดชอบดูแลธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส.
1
ได้ผลักดันให้ ธอส. เป็นหน่วยงานหลัก ในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตขึ้น โดยมีชื่อว่า บริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด
ในขณะที่ฝั่งธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้ก่อตั้ง บริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด ขึ้นในปี 2542 โดยมีธนาคารพาณิชย์ในไทย 13 ธนาคาร ร่วมถือหุ้นในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน
ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด หลังมีการร่วมลงทุนของ TransUnion Inc. และบริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน)
1
จนมาถึงปี 2548 บริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด ได้ควบรวมกิจการกับบริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด และเปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ในปัจจุบัน
3
โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นดังนี้
- 24.5% กลุ่มธนาคารพาณิชย์ในไทย ถือหุ้นในสัดส่วนเท่า ๆ กัน
- 15% ธนาคารอาคารสงเคราะห์
- 15% บริษัท พีซีซี แคปปิตอล จำกัด
- 12.25% บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน)
- 12.25% TransUnion Inc.
- 9% ธนาคารออมสิน
- 6% บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
- 6% ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
2
จะเห็นว่า NCB นั้น มีผู้ถือหุ้นหลักเป็นธนาคารต่าง ๆ ซึ่งก็มักจะมีสถานะเป็นลูกค้าไปด้วย หากมีการร้องขอข้อมูลเวลามีการขอสินเชื่อ
3
แล้ว NCB มีผลประกอบการเป็นอย่างไรบ้าง ?
ปี 2563 รายได้ 718 ล้านบาท กำไร 228 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 912 ล้านบาท กำไร 330 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 1,110 ล้านบาท กำไร 424 ล้านบาท
3
จะเห็นว่า NCB มีความสามารถในการทำกำไร 30 ถึง 40% เพราะองค์กร มีรายได้ประจำจากการขายข้อมูล
ในขณะที่ ต้นทุนของ NCB ก็คือข้อมูลที่มาจากบรรดาสมาชิก ที่จะต้องนำส่งอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่ต้องลงทุนอะไรเลย
สรุปแล้ว NCB เกิดมาจากการรวมตัวกัน ของทั้งหน่วยงานรัฐด้านการเงินการคลัง และบรรดาธนาคารต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อเป็นศูนย์กลาง ในการบริหารจัดการข้อมูล ที่มีรายได้ ระดับ 1,000 ล้านบาท เลยทีเดียว..
1
ใครอยากมีความรู้เรื่องตลาดหุ้น ลงทุนแมนแนะนำ หนังสือ BLACK SWAN เล่มนี้ ราคา 380 บาท ที่เล่าถึงความล้มเหลวก่อนที่จะสำเร็จของนักลงทุนในตำนาน 12 คน สามารถสั่งซื้อ ได้ที่
โฆษณา