9 มิ.ย. 2023 เวลา 21:13 • ข่าวรอบโลก

คนไทยผู้คิดค้น ‘Siri’ แอปพลิเคชัน A.I. Assistants ใน iPhone

10-6-23-ข่าวนานละ มาเล่าสู่กันฟัง🤗🤗ถ้าไม่มีคดีความฟ้องร้องกันจนเป็นข่าวใหญ่โตระดับโลก คงไม่มีใครคาดคิดว่า APPLE เจ้าของ iPhone ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบริษัทไฮเทคชั้นนำ จะละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ชื่อ ‘Siri’ และคงไม่มีใครคาดคิดอีกเช่นกันว่า เบื้องหลังซอฟต์แวร์นั้น แท้ที่จริงแล้ว…เป็นฝีมือของคนไทย
สิทธิบัตรและคำพิพากษา
Sirisเป็นซอฟต์แวร์บนโทรศัพท์มือถือ iPhone ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้เสมือนมีหุ่นยนต์เลขานุการติดตัวไปด้วยทุกที่ แถมบางทีเก่งกว่าเลขานุการจริงๆ เสียด้วยซ้ำ
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ บุญจริง
คดีความที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นการฟ้องร้องที่เกิดขึ้นจากสิทธิบัตรหมายเลข 177798 B2 มีชื่อผู้ประดิษฐ์จดทะเบียนร่วมสองท่าน คือ Profressor Cheng Hsu ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตามหลักวิชาการ และเจ้าของวิทยานิพนธ์คือ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ บุญจริง ซึ่งขณะนั้นเป็นนักศึกษาปริญญาเอกของ Rensselaer Polytechnic Institute ที่ Troy, New York
โดยศาลสูงของสหรัฐอเมริกาได้พิพากษาให้ “รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ บุญจริง” ชนะคดีละเมิดสิทธิบัตร Siri ให้ APPLE จ่าย 25 ล้านดอลลาร์
เมื่อเป็นคดีความเลยต้องมีการแต่งตั้ง ทนาย ยอดค่าปรับซึ่ง Apple ต้องจ่ายดังกล่าวจึงถูกแบ่งเป็นหลายส่วน เพื่อให้แก่ Marathon Patent Group ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Dynamic Advances
สำหรับสาวก iPhone คงจะรู้จักsSiri กันเป็นอย่างดี แต่ถ้าเป็นแฟนพันธุ์แท้ Android อาจไม่คุ้นเคยกับชื่อนี้เท่าใดนัก
Sirisจัดเป็น A.I. Assistants หรือโปรแกรมช่วยอำนวยความสะดวกบนโทรศัพท์มือถือในรูปแบบ Artificial Intelligence หรือ A.I.มีแนวคิดการทำงานที่เรียกว่า Natural Language Interface หรือ การใช้ภาษามนุษย์ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับเครื่องจักร
อธิบายง่ายๆ ได้ว่าการที่sSiri สามารถตอบคำถามเจ้าของโทรศัพท์มือถือที่ถามคำถาม หรือสั่งให้แอปทำโน่นทำนี่ด้วยภาษาพูดได้นั้น
เกิดขึ้นจากตรรกะของ Natural Language Interface ที่ “รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ บุญจริง” คิดค้นขึ้นผ่านกระบวนการที่ซับซ้อนในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำถามหรือคำสั่ง จากฐานข้อมูลที่sSiri สามารถเข้าถึงได้
จากกรณีของsSiri มีคำถามเกิดขึ้นหลักๆ สองคำถาม
หนึ่ง เป็นไปได้ไหมที่บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่แท้แล้วมีเบื้องหลังการละเมิดลิขสิทธิ์ทำนองนี้อีกมากมาย
สอง แนวความคิดที่ล้ำหน้าเช่น Natural language interface ของ “รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ บุญจริง” ซึ่งเป็นประชาชนจากประเทศเล็กๆ อย่างประเทศไทย จะยังมีคนเล็กคนน้อย คนธรรมดาสามัญแบบนี้ กำลังสร้างสรรค์ผลงานอันล้ำค่าเหมือนหSiri อยู่ในอีกหลายประเทศไหม
คำถามข้อหลังนี้เป็นคำถามใหญ่พอสมควร
ซึ่งประเทศไทยก็มีคนเล็กคนน้อย คนธรรมดาสามัญที่เป็นคนเก่งมากมายอย่างไม่ต้องสงสัย
เพราะเรามีเด็กนักเรียนที่ชนะเลิศการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ
เรามีนักดนตรีและนักกีฬาเยาวชนเก่งๆ หลากหลายประเภท
เรามีนักวิจัยที่มีความสามารถมากมาย
แนวคิดเรื่อง Natural Language Interface ของรองศาสตราจารย์ ดร.วีระ บุญจริง เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของคนที่ทำความฝันให้เป็นจริง ความฝันที่เด็กทั่วโลกอยากสื่อสารด้วยคำพูดกับตุ๊กตา หรือหุ่นยนต์ของเล่น
ความสำเร็จของ Natural Language Interface หรืออีกนัยก็คือsSiri ที่เรามองข้ามไปไม่ได้ก็คือเบื้องหลังการถ่ายทำ ซึ่งหมายถึงเบื้องหลังการทำงาน การคิดค้น การประดิษฐ์ นวัตกรรมให้กับโลก ที่ไม่เพียงอาศัยองค์ความรู้ ประสบการณ์ลองผิดลองถูก และความอดทน มุมานะ
แต่ยังต้องอาศัยการส่งเสริมสนับสนุนจากหลายภาคส่วนในการค้นหาและต่อยอดผลึกความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้น แปรรูปให้เป็นความจริงที่จับต้องได้
ไม่ว่าจะเป็นเด็กโอลิมปิกวิชาการ นักดนตรี นักกีฬาเยาวชน หรือนักวิจัยอย่าง “รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ บุญจริง”
Natural Language Interface ของ “รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ บุญจริง” จึงเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ “ไฟสร้างสรรค์” และที่สำคัญก็คือ เป็นตัวอย่างของผู้ริเริ่ม ในความหมายของ “คนทำทาง”
เป็น “คนทำทาง” ที่เป็นผู้บุกเบิก ถากถางเส้นทางให้แก่ผู้ที่เดินตามมา
เชื่อเหลือเกินว่าในวันหนึ่งข้างหน้า คนรุ่นหลังที่กำลังเสาะแสวงหาเส้นทางเดินหรือที่อยู่ที่ยืนของตัวเองหากได้ศึกษาตัวอย่างของ “รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ บุญจริง” เจ้าของฉายา “คุณพ่อของ Siri” คงจะได้รับแรงบันดาลใจ หรือ “ไฟสร้างสรรค์” ได้เป็นอย่างดีครับ
โฆษณา