10 มิ.ย. 2023 เวลา 15:32 • ธุรกิจ

“เป็นหมออยู่แล้ว ควรมีประกันสุขภาพเพิ่มเติมดีไหม?”

หลายคนคงเริ่มคิดว่า เขียนหัวข้อนี้ทำไม มันน่าจะมีความจำเป็นน้อยมากนะสำหรับคนเป็นหมอ ที่สามารถวินิจฉัยและสั่งการรักษาตัวเองได้ หรือให้เพื่อน/รุ่นพี่/รุ่นน้อง/หรือครูบาอาจารย์ช่วยดูแลให้ได้ หรืออย่างน้อยๆ ที่สุด ที่โรงพยาบาลที่ทุกคนทำงานอยู่ก็น่าจะต้องดูแลทุกท่านในฐานะบุคลากรคนหนึ่งอย่างแน่นอน
 
หลายๆ ท่าน หรือแม้กระทั่งตัวเราเอง ก็คิดอย่างงั้น ทุ่มเทแรงกายแรงใจทำเพื่อโรงพยาบาลขนาดนี้ มึงจะต้องดูแลกูบ้างแหละ ไม่สนใจใยดีช้าน เด่วจะลาออก… ไปอยู่ในที่ที่มีคนเห็นค่าดีกว่า
วันนี้ไม่ได้เรียกว่าเป็นหลักการอะไรมากมาย แต่แค่อยากมาแชร์ไอเดีย มาแชร์ความคิด ของคนคนหนึ่งที่เคยอยู่ในระบบราชการ และอยู่ระบบเอกชน แม้อายุอานามอาจจะไม่ได้มาก (เหรอ?) เรื่องที่แชร์นี้อาจจะช่วยเป็นข้อมูลให้ท่านทั้งหมดคิดทบทวนถึงสวัสดิการการรักษาของทุกท่านมากขึ้นไม่มากก็น้อย
จากเส้นทางวางแผนการเงินหลังจบบอร์ดที่ได้นำเสนอไปเมื่อครั้งที่แล้วผ่านปิรามิดทางการเงิน ขั้นตอนที่เป็นพื้นฐานสำคัญขั้นตอนหนึ่งที่ได้กล่าวไปแล้ว ก่อนที่จะเริ่มทำ saving หรือ invesment ก็คือ การมี “Protection & Risk transfer”
(ติดตามหัวข้อ “หลังมีบอร์ด ควรวางแผนการเงินอย่างไร?” ได้ที่
โดยหัวข้อ protection & risk transfer เน้นความสำคัญไปที่ การโอนย้ายความเสี่ยงต่างๆ ที่ตัวท่านทั้งหลายพึงอาจจะมี หรืออาจจะได้รับ ไปให้คนอื่น (ประกัน) ดูแลแทน จะได้ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงไว้แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งในหัวข้อที่แล้วแทบไม่ได้พูดถึงเรื่อง “ประกันสุขภาพ” เลย แล้วมันยังมีความจำเป็นอยู่ไหม ????
“จำเป็น หรือ ไม่จำเป็น” ขึ้นกับว่าท่านอยู่ในระบบแบบใด และมีปัจจัยสภาวะรอบข้างอะไรบ้าง ซึ่งอยากจะมีแชร์ไอเดียเป็น step คร่าวๆ ตามนี้
1. อย่างแรก “สำรวจสิทธิการรักษาขั้นพื้นฐาน” ว่าท่านมีสิทธิ์แบบใด เช่น สิทธิเบิกจ่ายตรง สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิบัตรทอง 30 บาท เนื่องจากแต่ละสิทธิ์ อย่างที่ทุกท่านทราบกัน ครอบคลุมการรักษาพื้นฐานใกล้เคียงกัน แต่มีการรักษาบางอย่าง ยาบางอย่าง รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์บางอย่างที่อาจจะต้องมีส่วนต่างจากสิทธิ์ที่ไม่เท่ากัน
2. นอกจากสิทธิ์พื้นฐาน ท่านมีสิทธิ์อะไร “เพิ่มเติม” จากที่ทำงานท่านจัดสรรให้ บางท่านอยู่เอกชน ได้รับสิทธิ์การรักษาฟรี หรือ ได้รับส่วนลดค่ารักษาพยาบาล จากโรงพยาบาลที่ท่านทำงานสังกัดอยู่
เมื่อได้รู้สิทธิ์การรักษาของตัวเองทั้งหมดแล้ว ท่านก็จะพอทราบคร่าวๆ แล้วว่า สมมติท่านเจ็บป่วยที ยาอะไรพอจะเบิกได้บ้างหรือเบิกไม่ได้บ้าง ค่าส่วนต่างห้องพิเศษเป็นเท่าไรต่อคืน ถ้าเป็นสิทธิ์เบิกจ่ายตรงก็น่าจะดูมีภาษีดีสุด เนื่องจากครอบคลุมยานอกบัญชีมากกว่า ส่วนต่างค่าห้องพิเศษ เข้าใจว่าส่วนต่างน้อยที่สุดในบรรดา 3 สิทธิ์พื้นฐาน
คราวนี้อยากให้ลองมองเป็นสถานการณ์สมมุติ เพิ่มเข้าไปอีก…
3. ตำแหน่งงานของท่าน “มีความมั่นคงเพียงใด” เจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ลาป่วย 4-5 วัน ไม่น่าจะได้รับผลกระทบอะไรมากมาย ยาก็สั่งเองได้ และสวัสดิการการลาป่วยน่าจะมีกันทุกโรงพยาบาล (เว้นโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งที่อาจจะไม่มีวันลา อาศัยตัดเงินการันตีเอา ก็มี) แต่ ลองนึกถึงความเจ็บป่วยที่มากกว่านั้น เช่น
** ถ้าสมมุติกระดูกหัก ขาหัก แขนหัก ต้องพักฟื้นสัก 2-4 weeks โดยเฉพาะท่านสายหัตถการท่านหลาย ถ้าเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น ส่งผลต่อสถานะการทำงานของท่านมากเพียงใด ถ้าเป็นคลินิกส่วนตัวคือ จบกัน ถ้านั่งตรวจ OPD ไม่ได้เลย ก็คือปิดคลินิก เหล่าสายคลินิก skin คงต้องพักร่างไปสักระยะ เหล่าโรงพยาบาลเอกชนอาจจะพอใช้วันลา+ตัดเงินการันตี พอจะถูๆ ไถๆ ไปได้ ของโรงพยาบาลรัฐบาลน่าจะชิวสุด เพราะตำแหน่งท่านมั่นคงมาก
*** ถ้าหนักมากไปกว่านั้นละ? สมมุติเป็นมะเร็ง ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด คีโม ฉายแสง สิริรวมๆ ขอประมาณสัก 6 เดือน… ตำแหน่งงานท่านยังมั่นคงอยู่ไหม ??? หรือถ้าสุดท้ายไปจบที่ ทุพพลภาพถาวร มันจะเป็นอย่างไรต่อไป?
ที่พยายายามให้ทุกคนจินตนาการถึงความมั่นคงในงานก็เพราะว่า สิทธิ์การรักษาบางสิทธิ์เป็นสิทธิ์ที่ติดมากับตำแหน่ง เวลาหลุดจากตำแหน่งสิทธิ์นั้นย่อมหมดไปด้วย คนที่ได้รับผลกระทบน่าจะเป็นกลุ่มที่ทำงานโรงพยาบาลเอกชน ที่ถ้าเราไร้ซึ่งความสามารถในการทำงานให้โรงพยาบาล มีโอกาสที่ท่านจะไม่ได้ไปต่อ ได้ซองขาวไปพักผ่อนพร้อมเสียสิทธิ์การรักษาของท่านไปด้วย
(แต่ด้วยความโชคดีที่คนไทยเรานั้น ถึงหลุดจากตำแหน่งใดๆ หมดสิ้น ก็จะยังกลับสู่สิทธิ์พื้นฐาน บัตรทอง หรือ ส่งประกันสังคมเองต่อได้)
4. สำรวจ cash flow ขั้นแรกของเรา ว่าเงินเก็บฉุกเฉินที่เก็บไว้ “ถ้าขอเจียดไปใช้ฉุกเฉินเพื่อการรักษานั้น พอไหม?” แน่นอนว่าการเจ็บป่วยใดๆ ย่อมมีค่าใช้จ่ายส่วนต่างเสมอ
อยากได้ยานอกบัญชีเพิ่ม (รวมถึงยาแพงๆ อย่าง targeted therapy ตัวใหม่ๆ ), อยากได้อุปกรณ์การแพทย์บางตัวเพิ่ม, บางคน end up ต้อง long-term H/D เสียค่าฟอกทุก session, หรือแม้กระทั่งอยากนอนห้องพิเศษ, หรือบางครั้งเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ หรือ เจ็บป่วยต่างถิ่นต่างจังหวัดอยากไปนอนพักที่โรงพยาบาลเอกชน มีความสามารถในการจ่ายเงินส่วนต่างนั้นมากเพียงใด ?
ถ้าสำรวจหมดแล้ว พบว่าสิทธิ์การรักษาที่ตัวเองมีนั้นเพียงพอ ยานอกบัญชีช้านไม่ need ยาบัญชี 1,2 ฉันโอเค มีเงินเก็บ หรือเข้าขั้นรวย นอนเอกชนได้เป็นสัปดาห์เป็นเดือนไม่หวั่น หรือเสียค่าส่วนต่างได้ทุกรูปแบบ แบบไม่จำกัดวงเงิน ค่าแลปนอก / ยานอก ไม่อั้น ท่านเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องทำประกันสุขภาพเพิ่มก็ได้ เนื่องจากสิทธิ์พื้นฐานของท่านเพียงพออยู่แล้ว
(** แต่ขอเพิ่มเติม ท่านที่เข้าขั้นรวย หรือ มีเงินเก็บเพียงพอ cash flow ลื่นปรื๊ดๆ แบ่งมาทำประกันสุขภาพทุกปี ก็ยังเสียน้อยกว่าเก็บเงินไปจ่ายค่ารักษาเป็นก้อนๆ อีกนะ แต่จะไม่ทำก็ได้ เพราะมันเป็นเงินของท่าน ท่านมีสิทธิ์จะวางเงินไว้ในตำแหน่งไหนก็ได้ บางท่านว่าเอาไปลงทุน เอาปันผลหรือกำไรจากการลงทุนมาจ่ายดีกว่า อันนี้ก็ขึ้นกับการวางแผนของแต่ละบุคคล** )
แต่ๆๆๆๆ… สำหรับท่านที่สำรวจแล้ว พบว่า เออวะ… ที่ฉันมีพื้นฐาน ฉันว่าไม่เพียงพอแน่ๆ ท่านเหล่านี้ คือ ท่านที่ “สมควรจะมีประกันสุขภาพอย่างยิ่ง” เพื่อ protection และ transfer risk ของท่านตรงจุดนี้
โดยจะทำประกันสุขภาพในปริมาณเท่าไรนั้น ควรสำรวจ cash flow เราด้วย ถ้าทำเยอะไปจนกระทบต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันก็ไม่ควร หรือถ้าจะทำน้อยไป ครอบคลุมค่าใช้จ่ายไม่ครบ อันนี้ก็จะแอบเซ็งว่าทำไมจ่ายประกันไปทุกปี ต้องมาเสียค่าอะไรหยุมหยิมๆ ทุกครั้ง โดยแนะนำให้เป็นแบบ “เหมาจ่ายค่ารักษา” ไปเลย เพื่อความครอบคลุมทุกหมวดค่ารักษา
“สำหรับท่านที่มีประกันสุขภาพเดิม” อยู่แล้ว (โดยเฉพาะท่านที่ทำมานานแล้ว) แนะนำให้รีบกลับไปเปิดหาเล่มกรมธรรม์ของท่านว่าครอบคลุมค่ารักษาอะไรบ้าง เนื่องจากประกันสุขภาพแบบเก่าๆ นั้น จะไม่ได้เป็นค่ารักษาเหมาจ่าย จะมีจำกัดตามหมวดต่างๆ ยิบย่อยๆ จนน่ารำคาญใจ ซึ่งแนะนำให้ทำเพิ่มเป็นแบบเหมาจ่ายเพื่อความครอบคลุมกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบันจะปลอดภัยกว่า
ถึงจุดนี้แล้ว ทุกคนคงได้แนวไอเดีย แนวคิดไปประกอบกับบริบทของตัวเองไม่มากก็น้อย หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อทุกคนนะครับ แต่อย่างไรก็ตาม อโรคยา ปรามา ลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ขอให้ไม่เจ็บป่วยจะดีที่สุดครับ XOXO
สุดท้ายฝากบทความที่ดูจะมีเนื้อหาใกล้เคียงกัน “เป็นมะเร็ง สิทธิ์บัตรทอง ประกันสังคม เพียงพอจริงหรือ?” ด้วยครับ ตามไปอ่านได้ที่
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ทำประกัน ติดต่อได้ทาง inbox , line , DM IG
#pulmofinance
#AIA
#synergy10
โฆษณา