13 มิ.ย. 2023 เวลา 03:44 • สิ่งแวดล้อม

ธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิด(บ่อดักน้ำ)

การกักเก็บน้ำไว้ใช้โดยเฉพาะหน้าแล้งนับว่าสำคัญ หลายปีก่อนที่ระบบการให้น้ำ ลำเลียงน้ำ แม้กระทั่งการจัดเก็บน้ำ เช่น ระบบอ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ยังไม่ครอบคลุม ก็จะมีการขุดบ่อเพื่อดักและจัดเก็บน้ำ ดังจะเห็นในท้องไร่ปลายนาในสมัยก่อนๆ
เมื่อความเจริญมีมากขึ้นบ่อดักน้ำเหล่านั้นก็ค่อยๆหายไป ไม่หลงเหลือให้เห็นแล้วในปัจจุบันและพัฒนากลายมาเป็น ฝายน้ำล้น ฝายชะลอน้ำและธนาคารน้ำใต้ดินในที่สุด
การจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินถือเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของการดักและจัดเก็บน้ำเอาไว้ใช้ ทำให้น้ำไหลซึมลงใต้พื้นดินได้อย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันเรามีพื้นป่าและต้นไม้ใหญ่น้อยมาก ไม่เพียงพอต่อการกักและชะลอการไหลของน้ำ และยังทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนตามมาอีกด้วย
1. ขุดหลุมวางท่อขนาด 50x80 ซม. จำนวน 3 ท่อ บริเวณขอบด้านข้างวงบ่อซีเมนต์ใส่ก้อนหินขนาดใหญ่ และหินกรวดเพื่อดักน้ำเข้าในบ่อ
การทำธนาคารน้ำใต้ดินในแต่ละพื้นที่คล้ายๆกัน แต่หลักในการทำเหมือนกัน จะแตกต่างกันที่วัตถุประสงค์ บริบทของการทำ พื้นที่ที่ทำ บริเวณที่ทำ เช่น พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ดอน พื้นที่ราบเรียบ หรืออื่นๆ
2. วางไม้ หรือ ท่อ พี.วี.ซี. ขนาด 1 นิ้วครึ่งใว้ในวงบ่อ
วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้นั้นก็ไม่ต่างกันแล้วแต่ข้อมูลที่ได้รับมาของผู้ทำ ทั้งนี้ก็ใช้ความเหมาะสม ความสะดวก เป็นหลัก
3. ปิดฝาบ่อให้เรียบร้อย
สิ่งที่ผู้เขียนอยากกล่าวถึงคือวัสดุที่ใส่ลงไปในธนาคารน้ำใต้ดิน(บ่อดักน้ำ)
นั่นคือวัสดุสังเคราะห์ต่างๆ เช่น ยางรถยนต์ ขวดพลาสติก และอื่นๆ ที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ วัสดุเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไปจะเริ่มย่อยสลาย ทำให้น้ำใต้ดินมีการปนเปื้อน(หากมีงานวิจัยผู้เขียนจะเอามาอ้างอิงให้ทราบอีกครั้ง)เพราะถ้าทำให้ถูกหลักแล้วก็ไม่ต้องไปแก้ปัญหาที่จะตามมาในอนาคต
ดังนั้นหากท่านหรือองค์กรใดต้องการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน(บ่อดักน้ำ)เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆแล้ว กรุณาใช้วัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน ท่อนไม้ ฯลฯ ใส่ลงไปภายในบริเวณวงบ่อซีเมนต์บ่อดักน้ำหรือไม่ต้องใส่อะไรลงไปเลยก็ยิ่งดีเพราะ
1. ง่ายต่อการจัดการและบำรุงรักษา
2. เพิ่มพื้นที่การดัก/จัดเก็บน้ำ และสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้
3. ลดมลพิษและการปนเปื้อนของน้ำใต้ดิน
สำหรับตัวอย่างธนาคารน้ำใต้ดิน(บ่อดักน้ำ)ที่ผู้เขียนได้ทำนั้น ผู้เขียนได้ใช้วัสดุดังนี้
1. ท่อซีเมนต์กลม ขนาด 50x80 ซม. จำนวน 3 ท่อ
2. ฝาปิดท่อซีเมนต์ขนาด 80 ซม. จำนวน 1 ฝา
3. หินกรวด
4. หินก้อนใหญ่
5. ไม้ไผ่หรือท่อ พี.วี.ซี. ขนาด 1 นิ้วครึ่ง ยาว 150 ซม. จำนวน 1 ท่อน
 
ท่านไดมีเคล็ดลับ มีเทคนิค ในการทำธนาคารน้ำใต้ดิน(บ่อดักน้ำ)กรุณาแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นประโยชน์กันได้ครับ ขอบคุณครับ
หมายเหตุ : บ่อตัวอย่างนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการดักน้ำแล้วสูบน้ำออกจากพื้นที่ เพราะเป็นบริเวณบ้านที่เป็นแอ่งกระทะและรองรับปริมาณน้ำฝนในหมู่บ้าน
ตัวอย่างการทำ ธนาคารน้ำใต้ดิน
โฆษณา