13 มิ.ย. 2023 เวลา 12:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

EA: สรุปธุรกิจและรายได้ในไตรมาส 1/2023

EA: ENERGY ABSOLUTE PCL
1Q23
📌 Business Model
บริษัทฯ และบริษัทย่อยดำเนินธุรกิจหลัก 4 กลุ่ม ดังนี้
1️⃣ ธุรกิจไบโอดีเซล (Biodiesel) | ดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ดังนี้
🔶 ไบโอดีเซล (B100): เชื้อเพลิงทดแทนจากธรรมชาติที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มเป็นหลัก นำมาใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล ซึ่งปัจจุบันมีกำลังผลิตอยู่ที่ 650,000 ลิตรต่อวัน และขายให้กับผู้ค้านำมันรายใหญ่ของประเทศทั้งหมด (99%) เป็นการทำสัญญาครั้งละ 3 เดือน ถึงสูงสุดไม่เกิน 3 ปี
🔶 กรีนดีเซล (Green Diesel): เรียกอีกชื่อว่า Hydrogenated Vegetable Oil หรือ HVO เป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตจากน้ำมันปาล์ม และไขมันเสีย เช่น น้ำมันพืชใช้แล้ว หรือไขมันสัตว์ ซึ่งกรีนดีเซลมีคุณสมบัติเทียบเคียงกับดีเซลปิโตรเลียม สามารถนำไปใช้กับยานยนต์สรรถณะสูงได้ ขายให้กับลุกค้าจากประเทศในทวีปยุโรปผ่านบริษัทค้าน้ำมัน
🔶 กลีเซอรีนบริสุทธิ์ (Purified Glycerine): เป็นสารที่ได้จากการกลั่นในขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซล ซึ่งสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา เครื่องสำอาง สบู่ เป็นต้น มีกำลังผลิต 80 ตันต่อวัน ส่วนใหญ่จะขายในประเทศมากกว่าต่างประเทศ
🔶 ผลิตภัณฑ์พลอยได้: กรีเซอรีนดิบ กรดไขมันอิสระ กรดไขมันปาล์ม เป็นต้น ลูกค้าจะเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายสินค้าเคมีภัณฑ์ ทั้งในและต่างประเทศ
🔶 สารเปลี่ยนสถานะ (Phase Change Material: PCM): เป็นวัสดุที่มีพลังงานในการเปลี่ยนสถานะสูง มีอุณหภูมิในการหลอมเหลวและแข็งตัวคงที่ที่ค่าใดค่าหนึ่ง ทำให้สามารถนำไปใช้เพื่อรักษาอุณหภูมิและช่วยลดการใช้พลังงานลงได้ โดยนำไปเป็นส่วนประกอบต่างๆ มีหน้าที่ในการคงความร้อนและความเย็นของวัสดุนั้นๆ เช่น ผนังบ้าน เสื้อผ้า ขนส่ง บรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมความเย็น มีกำลังผลิต 130 ตันต่อวัน ขายให้กับบริษัทผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง และผู้ผลิตเส้นใย ทั้งในและต่างประเทศ
2️⃣ ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Power) | ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าทั้งสิ้น 12 โครงการ ดังนี้
*COD คือ วันที่เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์
**Adder คือ ได้รับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า ตามสิทธิและประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ (BOI)
🔶 โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 4 โครงการ รวมขนาดกำลังผลิต 278 MW ประกอบไปด้วย
🔹 โครงการอีเอ โซล่า ฟาร์ม: ขนาดกำลังการผลิต 8 MW COD ตั้งแต่วันที่ 17 Oct 2012 ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า PPA กับ กฟภ. กำหนดระยะเวลาครั้งละ 5 ปี ต่อเนื่องจนกว่าจะมีการยุติสัญญา
🔹 โครงการ 1: ขนาดกำลังการผลิต 90 MW COD ตั้งแต่วันที่ 23 Dec 2013 Adder อายุ 10 ปี นับตั้งแต่วัน COD ซึ่งจะหมดในปี 2023 (คาดว่ารายได้จะหายไป ~1,300-1,400 MB)
🔹 โครงการ 2: ขนาดกำลังการผลิต 90 MW COD ตั้งแต่วันที่ 17 Feb 2015 Adder อายุ 10 ปี นับตั้งแต่วัน COD ซึ่งจะหมดในปี 2025
🔹 โครงการ 3: ขนาดกำลังการผลิต 90 MW COD ตั้งแต่วันที่ 1 Apr 2016 Adder อายุ 10 ปี นับตั้งแต่วัน COD ซึ่งจะหมดในปี 2026
⏳ โครงการ 1, 2 และ 3 ได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า PPA กับ กฟผ. กำหนดระยะเวลาครั้งละ 5 ปี โดย กฟผ.ต้องแจ้งต่ออายุสัญญาล่วงหน้า 30 วันก่อนหมดอายุสัญญา และได้ Adder ในอัตรา 6.5 Bath/kWh
🔶 โรงไฟฟ้าพลังงานลม จำนวน 8 โครงการ รวมขนาดกำลังผลิต 386 MW ประกอบไปด้วย
🔹 โครงการหาดกังหัน 1, 2 และ 3: ขนาดการผลิตรวม 126 MW แบ่งเป็น 36 MW 45 MW และ 45 MW ตามลำดับ เริ่ม COD ตั้งแต่ 3 Mar, 10 Jun และ 23 Jun 2017 ตามลำดับ ทำสัญญาซื้อขายกับ กฟผ. มีกำหนดระยะเวลาครั้งละ 5 ปี ได้ Adder ในอัตรา 3.5 Bath/kWh มีอายุ 10 ปี ซึ่งจะหมดในปี 2027 ตามลำดับ COD
🔹 โครงการหนุมาน 1, 5, 8, 9 และ 10: ขนาดการผลิตรวม 260 MW แบ่งเป็น 45 MW, 48 MW, 45 MW, 42 MW และ 80 MW ตามลำดับ เริ่ม COD ตั้งแต่ 25 Jan, 22 Mar, 25 Jan, 30 Mar และ 13 Apr 2019 ตามลำดับ ทำสัญญาซื้อขายกับ กฟผ. มีกำหนดระยะเวลาครั้งละ 5 ปี ได้ Adder ในอัตรา 3.5 Bath/kWh มีอายุ 10 ปี ซึ่งจะหมดในปี 2029 ตามลำดับ COD
⏳ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคลสำกรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการ เป็นระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่ 12 Feb 2015 (ซึ่งหมดไปแล้วตอน Feb 2023) ปัจจุบันจะได้ลดหย่อน 50% ต่อไปอีก 5 ปี สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมทั้ง 8 โครงการ
3️⃣ ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน (EV & Battery) | แบ่งได้ 3 กลุ่ม
🔶 พัฒนา ผลิตและจำหน่ายแบตเตอรี่ (Battery): โดยการเข้าซื้อหุ้นของ AMITA-Taiwan เป็นบริษัทจดทะเบียนใน ESM ของตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่ ประเภท ลิเที่ยมไอออน พอลีเมอร์ และได้จัดตั้ง “Amita Technology” (Thailand) เพื่อพัฒนา ผลิตและจัดจำหน่ายแบตเตอรี่ลิเที่ยมไอออน ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 1 GWh/Year ปัจจุบันได้ผลิตและจำหน่ายให้แก่กลุ่มธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าภายในกลุ่มบริษัท ได้แก่ รถบัสไฟฟ้า เรือไฟฟ้า หัวรถจักรแบตเตอรี่ เป็นต้น
⏳ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคลสำกรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการ เป็นระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่ 22 Oct 2019 หลังจากนั้นจะได้ลดหย่อน 50% ต่อไปอีก 5 ปี สำหรับและมีกำลังการผลิตที่ได้รับการส่งเสริมปีละ ~1,832,914 ชิ้น (12,830,400 เซลล์)
🔶 ธุรกิจบริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station): เป็นการขยายธุรกิจเพื่อรองรับรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า ภายใต้เครื่องหมายการค้า “EA Anywhere” ภายใต้บริษัทย่อ “พลังงานมหานคร” เป็นสถานีให้บริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ PHEV (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) และ BEV (Battery Electric Vehicle) มีทั้งการอัดประจุแบบกระแสสลับได้สูงสุด 44 kW/h และการอัดแบบกระแสตรง สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล อัดได้สูงสุด 150 kW/h ในส่วนของรถบัส รถบรรทุก อัดได้สูงสุด 300 kW/h
⏳ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคลสำกรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการ เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ 2 Apr 2019 และมีกำลังการผลิตที่ได้รับการส่งเสริม 5,600 หัวจ่าย
🔶 ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV): สร้างโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ที่ดำเนินธุรกิจโดย “AAB” (Absolute Assembly) เพื่อผลิตรถโดยสารไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้า หรือรถกระบะไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีเรือไฟฟ้า หัวรถจักรแบตเตอรี่ และพาวเวอร์คาร์ ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% โดยการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศมาประกอบร่วมกับชิ้นส่วนสำคัญที่ออกแบบและผลิตในประเทศ เป็นกระบวนการผลิตแบบ Automated Manufacturing Process โดยใช้แบตเตอรี่จาก Amita Technology (Thailand)
⏳ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่และชิ้นส่วน เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ 13 May 2020 จำนวน 10,000 คันต่อปี และตั้งแต่ 20 Jan 2021 จำนวน 15,000 คันต่อปี และสำหรับกิจการผลิตรถโดยสารไฟฟ้า และรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 29 Jul 2021 พร้อมกำลังผลิตส่งเสริมปีละ ~3,000 คัน
4️⃣ กลุ่มธุรกิจอื่น | วิจัยและพัฒนา
🔶 ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ ยานยนต์ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์: เป็นศูนย์ทดสอบสมรรถณะ ความปลอดภัย และรับรองมาตรฐานสากลสำหรับแบตเตอรี่
🔶 วิจัยและพัฒนา: วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องจากน้ำมันปาล์มโดย Green Technology Research และวิจัยและพัฒนา EV และแบตเตอรี่ โดย MINE Mobility เพื่อเป็นการต่อยอดให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
📌 Financial Highlight
🔶 1Q23
🔹 Revenue: 8,894.7 MB, 87.6% YoY, -6.6% QoQ | เติบโตจากธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนและ EV & Battery เป็นหลัก
🔹 GPM: 37.1% จาก 4Q22 ที่ 30.1% และจาก 1Q22 ที่ 38.7% | GPM ลดลงกว่าแต่ก่อน (40-50%) เนื่องจากธุรกิจ EV & Battery มี Margin อยู่ประมาณ 15-25% ซึ่งน้อยกว่าธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอย่าง Solar (~80%) และ Wind Farm (~50-70%) แล้วแต่ฤดูกาล
🔹 SG&A: 4.1% จาก 4Q22 ที่ 3.9% และจาก 1Q22 ที่ 6.8%
🔹 EBITDA: 42.2% จาก 4Q22 ที่ 34% และจาก 1Q22 ที่ 48.2%
🔹 Net Profit: 2,319.8 MB, +69.8% YoY, +6.8% QoQ | เติบโตจากธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนและ รถบัส EV เป็นหลัก
🔹 NPM: 26.1% จาก 4Q22 ที่ 22.8% และจาก 1Q22 ที่ 28.8%
📌 Guidance 2023
🔶 Revenue Growth >50%
Breakdown by Business 2022 >>2023
🔹 Biodiesel: 27% >> 17%
🔹 Power: 41% >> 27%
🔹 Battery & EV: 31% >> 53%
🔹 Others: 1% >> 3%
🔶 CAPEX 11,000 MB Breakdown by Business
🔹 Biodiesel: 5%
🔹 Power: 19%
🔹 Battery & EV: 63%
🔹 Others: 13%
📌 Business Outlook
🔶 Amita Technology | ใน 3Q23 คาดว่าจะสามารถขยายกำลังการผลิตไปได้ถึง 2 GWh โดยจะเป็นแบบเตอรี่แบบ NMC และใน 1Q24 จะขยายไปได้ถึง 4 GWh โดยรวมแบตประเภท LFP
🔶 AAB | กำลังผลิตปัจจุบันเต็มที่ 3 กะ ผลิตได้ 9,000 Units/Year ปัจจุบันใช้เต็ม 1 กะ ผลิตได้ 3,000 Units/Year ตั้งแต่ต้นปีบริษัทได้ส่งรถไปแล้ว >1,000 คัน ซึ่งวางเป้าในปีนี้ว่าจะส่งรถ EV ที่ 3,000-4,000 คัน แบ่งเป็น EV Bus 2,000 คัน และ EV ประเภทอื่นๆ อีกราวๆ 2,000 คัน
🔶 EV Bus | เริ่มมีการเจราจากับหน่วยงานในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อขยาย EV Bus ไปต่างประเทศ คาดว่าจะมีความชัดเจนในช่วง 2H23
🔶 EV Truck | บริษัทบอกว่าจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 3 ปี ส่วนแบตเตอรี่มีอายุอยู่ ~3,000 รอบการชาร์จ ถ้าชาร์จวันละครั้งก็มีอายุ ~8 ปี ปัจจุบันส่งมอบไปแล้วกว่า 300 คันให้แก่ Partner ที่เป็นบริษัท Logistic และ Hypermarket ไปทดลองใช้ และคาดว่าจะสามารถส่งมอบได้ต่อเนื่องในระดับ 200-300 คันต่อไตรมาส ซึ่งถ้า Partner เหล่านั้นสามารถ Proving ได้
ด้วยขนาด Market Size ที่มากกว่า EV Bus และใน 1 ปีจะมี Recurring Registration (รถบรรทุกจดทะเบียนใหม่) ที่ 70,000 คันต่อปี ถ้าบริษัทสามารถไปกินส่วนแบ่งตรงนั้นได้ส่วนนึงก็จะเป็นรูมให้เติบโตได้ ซึ่งคาดว่ากว่าจะมี Impact กลับมาในช่วงปลายปี หรือจนกว่าจะ Proving ในตลาดได้ ปัจจุบันผลิตในไลน์ผลิตย่อย ที่อยู่ในโรงงาน แต่ถ้าได้รับการตอบรับที่ดีอาจจะต้องมีการขยายโรงงาน (ดูอีกที่ช่วง 2H23)
🔶 EV Train | ปัจจุบันอยู่ในช่วงของการ Test Run ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย คาดว่าจะสามารถนำไปใช้แบบ Official ในช่วงปลายปี 2023 หรือต้นปี 2024 เป็นการทำร่วมกับกับ CRC (China Railway Construction) ปัจจุบันกำลังมองหา Solution ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดอยู่ ว่าอนาคตจะประกอบและผลิตที่ไทย หรือจะผลิตที่จีนแล้วส่งเข้ามา
🔶 Carbon Credit | ปัจจุบัน Solar Farm สามารถ Saving ได้ ~350,000 TCO2/Year และ Wind Farm Saving ได้ ~450,000 TCO2/Year และคาดว่าในปี 2030 บริษัทจะสามารถ Saving ได้ 10 Million TCO2/Year
📌 Summary
ในภาคของธุรกิจในบริษัท ปีนี้ปัจจัยที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของกำไรบริษัทต้องยกให้ EV & Battery เนื่องจากอีก 2 ธุรกิจนั้นไม่ได้มีการเติบโตที่มีนัยมากนัก อย่าง Biodiesel ที่มีรายได้มากแต่ผลกำไรกับทรงๆ บวกลบเล็กน้อยสลับกันไป
ส่วนธุรกิจ Power ปีนี้ถ้าสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าและขายได้เท่ากับปีที่แล้วก็ถือว่าเป็น Recurring ที่คงตัว ไม่ได้เป็น Growth ให้กับบริษัท แถมในช่วงปลายปีนี้ ยังมีการสิ้นสุด Adder 90 MW ตีเป็นรายได้ราวๆ 1,300-1,400 MB ทำให้มองว่าการเติบโตที่จะเกิดขึ้น ต้องมากจาก EV & Battery นั่นเอง
มาดูในส่วน EV & Battery ปีที่แล้วส่งมอบรถ ประมาณ 1,160 คัน สร้างรายได้ ~8,600 MB มี GPM ประมาณ 12-15% ปี 2023 นี้ คาดว่าจะส่งรถ 3,500-4,000 คัน คิดแบบหยาบๆ ก็น่าจะสร้างรายได้ ~26,000-29,000 MB (+50-60% YoY) ก็จะได้ GP ~3,120-4,350 MB (+~30% YoY) เนื่องจากมี Margin ต่ำกว่ากลุ่ม Power ที่เป็นตัวกำไรหลักของบริษัท
แต่ในระยะสั้นการฟื้นตัวของราคาหุ้นมีโอกาสถูกจำกัดจากความเสี่ยง จากการเข้าสู่ภาวะ Recession ทำให้ภาคของการขนส่งและภาคเอกชนมีการชะลอการลงทุนในส่วนของ EV ออกไป ส่งผลให้ Momentum ของกลุ่ม EV ลดลง ในมุมมองเทคนิคอล อาจเข้าลงทุนหลังการปรับฐานของราคาหุ้น ให้สะท้อนผลกระทบจาก Recession เสร็จไปก่อน (2H23)
#JTrader
#เทรดไปเที่ยวไป
#แผนชัดก็ซัดเลย
#EA
ปล1. จากข้อมูลข้างต้น ไม่มีเจตนาชักชวน หรือให้ซื้อ-ขายตามบทความข้างต้น
ปล2. การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรพิจารณาไตร่ตรองการลงทุนว่าจะซื้อหรือขายด้วยตัวท่านเองเท่านั้น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา