4 ก.ค. 2023 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ภาษีครึ่งปี สำคัญอย่างไร

หลายคนอาจมีคำถามว่า บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ก็ยื่นภาษีทุกปีอยู่แล้วทำไมต้องยื่นเสียภาษีครึ่งปีอีก? ซึ่งก็มีแค่บุคคลที่มีเงินได้บางประเภทเท่านั้นที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีครึ่งปี โดยการเสียภาษีครึ่งปีนี้ถือเป็นการบรรเทาภาระภาษี เพราะหากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมากในตอนปลายปี (ชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป)
3
โดยภาษีเงินได้ครึ่งปีที่จ่ายไป สามารถนำไปใช้หักออกจากภาษีประจำปีที่คำนวณได้ ตัวอย่างเช่น นายเอได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีไปแล้วจำนวน 6,000 บาท พอสิ้นปีนายเอคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายเป็นจำนวน 9,000 บาท นายเอก็จ่ายภาษีเพิ่มแค่ 3,000 บาทเท่านั้น (9,000-6,000 บาท)
แบบ ภ.ง.ด. 94
การเสียภาษีบุคคลธรรมดา นอกจากการยื่นภาษีประจำปีแล้ว ยังมีเงินได้อีกกลุ่มที่ต้องเสียภาษีกลางปีผ่านการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 หรือแบบแสดงรายการเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม–มิถุนายน โดยต้องยื่นเสียภาษีในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน และเมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 นี้แล้วเมื่อถึงปลายปีจะต้องคำนวณภาษีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม และยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 อีกครั้ง โดยนำยอดภาษีที่ได้ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด. 94 มาหักออก
1
ใครบ้างที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94
ผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ได้แก่ บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ ตามกฎหมายภาษีมาตรา 40(5) – (8) ซึ่งได้แก่
- เงินได้ประเภทที่ 5 เงินหรือประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น ที่ดิน บ้าน รถยนต์ เป็นต้น
1
- เงินได้ประเภทที่ 6 เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น กฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น
- เงินได้ประเภทที่ 7 เงินได้จากการรับเหมาที่ต้องจัดหาสัมภาระที่สำคัญนอกเหนือจากเครื่องมือ
1
- เงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในเงินได้ประเภทที่ 1-7 แล้ว
ยื่นภาษีครึ่งปีใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่
"ค่าลดหย่อน" เป็นสิทธิประโยชน์ที่ช่วยให้ผู้มีเงินได้เสียภาษีน้อยลง ซึ่งการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในช่วงครึ่งปีสามารถทำได้ โดยแบ่งรูปแบบการลดหย่อนภาษีเป็น 3 กลุ่ม โดยนำมายกเป็นตัวอย่างได้ดังนี้
1
กลุ่มแรก คือ กลุ่มที่ลดหย่อนได้ครึ่งเดียวของการใช้สิทธิเต็มปี
กลุ่มแรก คือ กลุ่มที่ลดหย่อนได้ครึ่งเดียวของการใช้สิทธิเต็มปี
กลุ่มที่สอง คือ ตัวอย่างกลุ่มที่ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงในช่วงครึ่งปีแรก แต่ยอดลดหย่อนอาจจะน้อยกว่าแบบเต็มปี เช่น
เบี้ยประกันชีวิต และดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย โดยทั้งสองส่วนสามารถใช้สิทธิได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 95,000 บาท ซึ่งน้อยกว่าแบบเต็มปีที่ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท เนื่องจากเงินที่จ่ายจริงจำนวน 10,000 บาทแรกเป็นค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งลดหย่อนได้เพียงกึ่งหนึ่ง เท่ากับ 5,000 บาท ส่วนอีก 90,000 บาทเป็นค่าลดหย่อนตามกฎกระทรวง 126 ซึ่งลดหย่อนได้เต็มจำนวน 90,000 บาท
1
กลุ่มสุดท้าย คือ ตัวอย่างกลุ่มที่ลดหย่อนได้สูงสุดตามที่จ่ายจริงตามปกติ และยอดลดหย่อนสูงสุดเท่ากับแบบเต็มปี เช่น
- กองทุนรวม SSF ได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีที่ได้รับ และไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุน RMF ได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท (เมื่อรวมกับกองทุนรวม SSF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15,000 บาท
1
ประกันสังคมสามารถหักลดหย่อนได้เพียง 6 เดือน (ตามที่จ่ายจริง) ซึ่งไม่เท่ากับจำนวนที่จ่ายแบบเต็มปีจึงแนะนำให้ตัดออก
ไม่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีได้ไหม
1
การยื่นภาษีครึ่งปียื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2566 ถ้าหากไม่ยื่นภาษีจะมีโทษตามกฎหมาย คือ ค่าปรับไม่ยื่นแบบ 2,000 บาท และเงินเพิ่ม (ดอกเบี้ย) จากภาษีที่ต้องจ่ายในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) โดยนับตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2566 เป็นต้นไป
1
กล่าวโดยสรุป สิ่งที่ทุกคนต้องรู้ในฐานะของบุคคลธรรมดานั่นคือ ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เนื่องจากการยื่นภาษีครึ่งปีไม่ใช่ภาระ แต่เป็นหน้าที่และสิ่งที่ทุกคนควรรู้และทำความเข้าใจเพื่อที่จะได้ยื่นและเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง
บทความโดย : อังค์วรา ไชยอนงค์
โฆษณา