21 มิ.ย. 2023 เวลา 03:00

The International Architecture Exhibition – La Biennale di Venezia

Venice Biennale กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้งใน ปี 2023 นี้ งานนิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดขึ้นทุก 2 ปีอย่าง เวนิสเบียนนาเล (The International Architecture Exhibition – La Biennale di Venezia) ที่ นครเวนิส ประเทศอิตาลี โดยจัดประจำทุกๆ 2 ปี โดยในปีนี้ ได้ Lesley Lokko เป็นผู้ดูแลจัดงาน เธอคือสถาปนิกหญิงลูกครึ่งกานา-สกอตแลนด์ ที่เป็นทั้งนักออกแบบและนักเขียน ซึ่งงานปีนี้จะมีไฮไลท์เด็ดๆ อะไรบ้าง วันนี้เคนไซเราจะพาไปดูกันครับ
.
[The Laboratory of the Future]
งานในปี 2023 นี้ กำลังจะจัดกันในวันที่ 20 พฤษภาคม ไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน มีนิทรรศการจากกว่า 63 ประเทศทั่วโลก และผลงานนักออกแบบ 89 คน ซึ่งตีมงานหลักในปีนี้ก็คือ ห้องทดลองแห่งอนาคตหรือ “The Laboratory of the Future”
.
ซึ่งคุณ Lesley เป็นลูกครึ่งมีพื้นเพจากแอฟริกา ดังนั้นเธอจึงอยากนำเสนอบทบาทของทวีปนี้ให้มากขึ้น และเธอได้เชื้อเชิญให้งานครั้งนี้ เป็นห้องทดลองของสถาปนิกให้คิดถึงดินแดนแห่งนี้ให้มากขึ้น และเป็นทวีปที่จะมีบทบาทสำคัญในอนาคต ‘Africa is the laboratory of the future,’
.
การตีความงานออกแบบของสถาปนิกทั่วโลก ที่จะมาออกแบบเกี่ยวข้องกับแอฟริกา ผมมองว่ามีความน่าสนใจมาก เพราะ เป็นทวีปที่มีเรื่องให้เล่าได้หลากหลาย จะเรื่องระบบนิเวศน์ เรื่องเชื้อชาติสีผิว เรื่องของประชากรที่เติบโตมากที่สุดในโลกในยุคที่ทั้งโลกกำลังเป็นสังคมคนสูงวัย หรือ จะเรื่องโอกาสการขยายตัวของเมืองต่าง ๆ ในทวีปนี้ ที่ยังไปได้อีกไกล
.
งานครั้งนี้ มีหลายงานจากนักออกแบบหลายคน ได้นำเสนอในระดับนานาชาติครั้งแรก ซึ่งทั้งตีมงานและลิสนักออกแบบที่เข้าร่วม คุณ Lesley ก็ได้พูดว่า “ฉันก็ไม่รู้เหมือนว่าผู้ชมทั้งโลกจะรีแอคอย่างไร แต่คนที่มาเข้าชมจะต้องได้รับความสุข ความหลงใหล passion... และเป็นการให้พื้นที่ให้มากที่สุด แด่เสียงที่ไม่เคยได้ได้เปล่งออกมาในงานระดับนานาชาติขนาดนี้มาก่อน”
.
งานครั้งนี้เราอาจเห็นถึง power ที่สถาปนิกหญิงที่เป็นผู้จัดงานนิทรรศการนี้ขึ้นมา ที่ต้องการนำเสนอแอฟริกาในมุมมองที่แตกต่าง และน่าสนใจมากขึ้น และกว่าครึ่งของนิทรรศการที่มาจัดในครั้งนี้กว่าครึ่งเป็นนักออกแบบแอฟริกา หรือเกี่ยวข้องกับแอฟริกา รวมถึงคุณ Francis Kéré สถาปนิกชาวแอฟริกาคนแรกที่ได้รางวัลPritzker ในปี2022 ที่ผ่านมา ก็จะมาร่วมจัดแสดงงานด้วยเช่นกัน
.
[‘workshop’ พื้นที่เวิร์คช็อปทดลอง ของผู้คน]
ในตีม Laboratory of the Future ยังสามารถตีความอย่างที่สอง โดยสำหรับบูทที่มาจากประเทศต่างๆ ก็คือแนวคิดเรื่องห้องทดลอง พื้นที่เวิร์คช็อป สำหรับอนาคต ให้คนจัดนิทรรศการและผู้เข้าร่วมสามารถร่วมกันสัมผัสประสบการณ์และหาความหมายไปพร้อมกัน
.
อย่างเช่น บูท Dancing Before the Moon ของประเทศอังกฤษที่ตั้งใจจะจัดแสดง การใช้วิถีชีวิตประจำวันของผู้คนเป็นเครื่องมือในการสร้างพื้นที่ Space และเป็นวิธีใหม่ในการมองหรือคิดถึงสถาปัตยกรรม มากกว่าเรื่องของของตัวอาคารและโครงสร้าง หรือเศรษฐกิจ แต่สถาปัตยกรรมมาจากความหมายของผู้คนที่ใช้งานมัน
.
หรืออย่างนิทรรศการของประเทศสิงคโปร์ ที่ชื่อ WHEN IS ENOUGH, ENOUGH? ที่ออกจะเป็นการทดลองจริงจัง จะให้ผู้เข้าร่วมทดลองวัดระดับว่าเท่าไรจึงจะพอ ผ่านการตอบคำถามและเดินไปตรงกลางนิทรรศการ ซึ่งจะเป็นม้วนอักษรสูง 5 เมตร คำถามมีตั้งแต่เรื่องของเมือง ความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบประสาท หรือ โภชนาการ
.
หรือตัวอย่างสุดท้ายอย่างบูทของ ประเทศอเมริกาที่นำเสนอ Everlasting Plastics ที่จะนำเสนอเรื่องการพลาสติกที่ปัจจุบันเป็นทรัพยากรหลักและปัญหาสำคัญของโลก โดยเป็นงานออกแบบของสถาปนิกและศิลปิน ที่เสนออิมแพคจากเศษซากของพลาสติกที่มีมากมายที่ท้วมท้นธรรมชาติและเมือง
.
ซึ่งจะเห็นว่าจากตีมงานนี้ ประเทศต่าง ๆ ได้ตีความและนำเสนอออกมาได้แตกต่างน่าสนใจ ชวนน่าติดตามอย่างมากครับ นักออกแบบคนใดที่มีโอกาส อย่าลืมแวะเวียนไปเยี่ยมชมงานนี้กันครับ
.
หากท่านสนใจกระเบื้อง Kenzai สามารถติดต่อสอบถามกับทางเพจของเราได้เลยครับ
Tel : 02 692 5080-90
#เคนไซตัวจริงเรื่องกระเบื้องภายนอก
#เคนไซผู้ผลิตกระเบื้องภายนอกรายแรกในไทย
#นึกถึงกระเบื้องภายนอกนึกถึงเคนไซ
#Kenzaiceramics #Floortile #Walltile
โฆษณา