17 มิ.ย. 2023 เวลา 03:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สรุปวิธี ตกแต่งบัญชี ของ STARK 25,000 ล้าน โดยการสร้างยอดขายปลอม

และสร้างธุรกรรมอำพรางเพื่อสนับสนุนยอดขายปลอม เรื่องนี้น่าจะเป็นข่าวใหญ่ที่สุดในรอบปีนี้ของวงการตลาดทุน บริษัท STARK บริษัทที่เคยเป็นบริษัทใหญ่สุด 100 บริษัทแรกในตลาดหลักทรัพย์ ได้ยอมรับว่ามีการตกแต่งบัญชีเกิดขึ้น โดยมีการตกแต่งบัญชีในหลายแง่มุม มูลค่ารวมกันมากถึง 25,000 ล้านบาท
11
และการตกแต่งบัญชีครั้งนี้กลับเกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทเอง ซึ่งผู้ถือหุ้นใหญ่คนนั้น เป็นบุคคลที่คาดไม่ถึงอีกด้วย..
4
มาถึงตอนนี้ ทุกคนคงสงสัยแล้วว่า การตกแต่งบัญชีมีรายละเอียดเป็นอย่างไร ถ้ามีคนมาอธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็น่าจะทำให้ป้องกันความเสี่ยงแบบนี้ได้
4
ถ้าพร้อมแล้วเริ่มเลย ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
4
จากข้อมูลที่เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินสรุปได้ว่า บริษัท STARK ได้ตกแต่งบัญชีดังนี้
1
1. การสร้างยอดขายปลอม แบบไม่มีใครจ่ายเงินจริง
1
วิธีการที่บริษัท STARK ทำก็คือ รายงานเอกสารขายเท็จ โดยไม่มีการจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าจริง
และเมื่อบริษัทไม่ได้ขาย บริษัทก็ไม่ได้เงินสด ทำให้บริษัทก็ต้องตั้งยอดลูกหนี้การค้าที่เป็นเท็จจำนวนมาก หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ บริษัทต้องแจ้งว่ามีลูกค้าติดเงินบริษัทอยู่จำนวนมาก
4
โดยยอดของการสร้างลูกหนี้การค้าปลอมนั้น สูงเกินความเป็นจริง 5,005 ล้านบาท ในปี 2565 และ 923 ล้านบาทในปี 2564 และ 97 ล้านบาท ก่อนปี 2564
1
สรุปก็คือ ปลอมมานานหลายปีแล้ว ปลอมตั้งแต่ก่อนปี 2564 ตอนแรกปลอมหลักสิบล้าน ปีต่อ ๆ ไป ปลอมหนักขึ้น และปีล่าสุด 5,005 ล้านบาท
5
เมื่อคำนวณแล้วยอดขายปลอม แบบไม่มีใครจ่ายเงินจริง รวมเป็นเงิน 6,025 ล้านบาท..
6
2. การสร้างยอดขายปลอม แบบจ่ายเงินโดยพวกเดียวกันเอง
1
วิธีการที่บริษัท STARK ทำก็คือ ทำเอกสารการขายให้แก่คนในกลุ่มเดียวกัน แล้วก็ชำระเงินกันเอง โดยไม่มีการจัดส่งสินค้าจริง ในปี 2565 มียอดขายปลอมนี้จำนวน 1,890 ล้านบาท โดยบริษัทบอกว่า เป็นการรับชำระเงินจากบริษัท เอเชีย แปซิฟิก ดริลลิ่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกันกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่ง และ บริษัท ไทย เคเบิ้ล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มกิจการ
13
3. จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มของยอดขายปลอม
2
ปกติแล้วการขายสินค้า บริษัทต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ของรายได้ การที่ไม่ถูกกรมสรรพากรจับได้ก่อนหน้านี้ ก็แปลได้ว่า บริษัทยอมจ่าย VAT 7% เพื่อสร้างยอดขายปลอม จึงทำให้บริษัทต้องตัดจำหน่ายลูกหนี้ในส่วนภาษีของยอดขายปลอมนี้มูลค่า 611 ล้านบาท
7
4. การสร้างรายจ่ายปลอม ให้พวกเดียวกันเอง
2
วิธีการที่บริษัท STARK ทำก็คือ บริษัทแกล้งทำเป็นสั่งซื้อสินค้าเพื่อบันทึกเป็นรายจ่ายให้กับบริษัท แต่ทีนี้บริษัทไม่ได้สินค้าจะทำอย่างไร ? คำตอบก็คือ ลงบัญชีเป็นการจ่ายเงินล่วงหน้าเพื่อซื้อสินค้า โดยเงินสดออกจากบริษัท ในขณะที่อีกฝั่งตั้งรายการเป็นบริษัทอื่นติดหนี้ STARK ที่จะส่งสินค้าให้
7
คำถามต่อไปก็คือ แล้วเงินสดออกไปที่ไหน ?
7
ผู้ตรวจสอบบัญชีพบว่า เงินสดไม่ได้ออกไปที่คู่ค้าของบริษัท แต่กลับวิ่งไปที่ บริษัท เอเชีย แปซิฟิก
ดริลลิ่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเดิมที่เกี่ยวข้องกันกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่ง โดยรายการจ่ายเงินปลอมนี้มีจำนวนมากถึง 10,451 ล้านบาท..
9
คุ้น ๆ มั้ย ชื่อบริษัทนี้เป็นชื่อเดียวกันกับบริษัทที่จ่ายเงินเพื่อสร้างยอดขายปลอม หรือก็อาจแปลได้ว่า STARK จ่ายเงินสดค่าสินค้าปลอมให้บริษัทนี้ แล้วบริษัทนี้ก็วนเงินส่วนหนึ่งกลับมาซื้อสินค้าปลอมจากบริษัท STARK
3
ที่พีกคือ ผู้ตรวจสอบบัญชีพบว่าเหตุการณ์สร้างรายจ่ายปลอมนี้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 หรือเมื่อไม่กี่เดือนก่อนนี้เอง..
8
5. การล้างลูกหนี้ โดยสร้างรายการรับเงินปลอมจากต่างประเทศ
1
เมื่อบริษัทตั้งลูกหนี้เยอะ ๆ ในงบการเงินก็จะดูไม่ค่อยดี บริษัทจึงสร้างรายการชำระเงินปลอมจากต่างประเทศขึ้นมา เพื่อล้างลูกหนี้ในปีก่อน ๆ ให้มียอดน้อยลง มูลค่า 6,086 ล้านบาท และจากเส้นทางการรับชำระเงิน ได้แสดงว่าเป็นการโอนเงินจากบริษัท เอเชีย แปซิฟิก ดริลลิ่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (อีกแล้ว) พูดง่าย ๆ ก็คือบริษัทนี้เอาเงินสดที่บริษัทจ่ายค่าสินค้าปลอม นอกจากจะมาซื้อสินค้าปลอมแล้ว ยังวนกลับมากลับมาล้างลูกหนี้ในปีก่อนด้วย..
9
เรื่องราวทั้งหมดนี้ผู้บริหารของบริษัทได้ยอมรับแล้วว่าตกแต่งบัญชี และได้ปรับปรุงรายการบัญชีให้ถูกต้องแล้ว
3
คำถามก็คือ เมื่อปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้อง มันกระทบอะไรบ้าง ?
1
สรุปอีกที
1
1.สร้างยอดขายปลอม แบบไม่มีใครจ่ายเงินจริง 6,025 ล้านบาท
2.สร้างยอดขายปลอม แบบจ่ายเงินโดยพวกเดียวกันเอง 1,890 ล้านบาท
3.จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มของยอดขายปลอม 611 ล้านบาท ซึ่งต้องถูกตัดจำหน่าย
4.สร้างรายจ่ายปลอม ให้พวกเดียวกันเอง 10,451 ล้านบาท
5.ล้างลูกหนี้ปลอม 6,086 ล้านบาท
8
เมื่อรวมมูลค่าการปลอมแปลงทั้งหมดใน 5 ข้อที่กล่าวมา ก็จะได้เป็น “25,063 ล้านบาท”
4
ใช่แล้วอ่านไม่ผิด บริษัทนี้ตกแต่งบัญชีมูลค่ารวม 25,063 ล้านบาท..
พอเรื่องเป็นแบบนี้ บริษัทก็เลยต้องปรับงบการเงินให้เป็นไปตามความจริง ย้อนกลับไปตั้งแต่งบการเงินปี 2564
3
ลูกหนี้การค้า ปี 2564
-เดิม 15,571 ล้านบาท
-แก้ไขเป็น 6,306 ล้านบาท
ที่หายไปเกือบ 10,000 ล้านบาท แปลว่า การสร้างยอดขายปลอมของ STARK ทำให้ STARK ไม่ได้มีลูกหนี้ที่รอเก็บเงินมาก เหมือนที่เคยแจ้ง
3
รายได้จากการขาย ปี 2564
-เดิม 25,217 ล้านบาท
-แก้ไขเป็น 17,487 ล้านบาท
STARK สร้างยอดขายปลอมในปี 2564 ประมาณ 7,700 ล้านบาท
6
กำไรสุทธิ สำหรับปี 2564
-เดิม กำไร 2,795 ล้านบาท
-แก้ไขเป็น ขาดทุน 5,689 ล้านบาท..
2
และเพราะการขาดทุน ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นในปี 2564 ลดลง
-เดิม 6,591 ล้านบาท
-แก้ไขเป็น 2,845 ล้านบาท
1
พอปรับข้อมูลในปี 2564 แล้ว บริษัทก็ได้รายงานผลประกอบการปี 2565
บริษัทมีรายได้ 25,213 ล้านบาท
ขาดทุน 6,651 ล้านบาท
1
นั่นแปลว่า ถ้ารวมปี 2564 และ 2565 เข้าด้วยกัน STARK จะขาดทุนมากถึง 12,340 ล้านบาท ใน 2 ปีนี้
4
ทำให้ล่าสุด STARK มีส่วนผู้ถือหุ้น -4,403 ล้านบาท จากการขาดทุนจากการดำเนินงาน และ การปรับปรุงรายการที่ผิดพลาด จนมีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์..
1
ซึ่งขั้นตอนต่อไป STARK น่าจะต้องขอยื่นต่อศาลล้มละลาย เพื่อเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการต่อไป..
สรุปแล้ว ที่ผ่านมา STARK มีการตกแต่งบัญชีมานานแล้ว และวันนี้ ทุกอย่างที่ซ่อนเอาไว้ ก็ได้ถูกเฉลยให้ทุกคนได้รับรู้ และที่น่าตกใจคือ การตกแต่งบัญชีครั้งนี้มีความเกี่ยวข้องกับ บริษัท เอเชีย แปซิฟิก ดริลลิ่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของผู้ถือหุ้นใหญ่ของ STARK เอง
12
กรณีของ STARK เป็นอีกหนึ่งบทเรียนสำหรับนักลงทุนที่เชื่อเพียงตัวเลขในงบการเงิน ไม่ว่างบการเงินนั้นจะถูกผ่านการตรวจสอบบัญชีจากบริษัทชื่อดังแค่ไหน
5
อย่างกรณีของ STARK บริษัทที่ตรวจสอบบัญชี STARK ในปีก่อนหน้าก็อยู่ใน BIG4
7
วิธีที่อาจช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ก็คือ
1. เมื่อเราลงทุน เราอย่ามั่นใจอะไรมากเกินไป เราต้องเผื่อโอกาสที่จะผิดพลาดไว้เสมอ
3
2. การกระจายการลงทุนนั้นสำคัญ ไม่เอาเงินทั้งหมดทุ่มไปกับหุ้นตัวเดียว เพราะอย่างในกรณี STARK ถ้าเราลงทุนแต่ STARK ตัวเดียว เงินจะหายไปเกือบหมดทั้งก้อน
3. ไม่กู้ยืมเงินคนอื่นมาลงทุน อย่างกรณี STARK ถ้าใครใช้มาร์จินกู้คนอื่นมาลงทุน นอกจากจะเงินหายหมด เรากลับต้องมีภาระชดใช้หนี้คนอื่นด้วย
5
4. มองข้อมูลให้รอบด้านเหนือไปกว่างบการเงิน ดูความไม่ปกติของบริษัทอย่างอื่นประกอบ นอกจากงบการเงินเพียงอย่างเดียว เช่น กรณีของ STARK มีความไม่ปกติคือ การยกเลิกดีลซื้อกิจการทั้งที่บริษัทได้เงินจากการเพิ่มทุน หรือแม้แต่ การที่บริษัทเลือกเข้าตลาดหุ้นด้วยวิธี Backdoor Listing
4
และท้ายที่สุด เมื่อเราเห็นสัญญาณความไม่ปกติแล้ว เราอย่าลำเอียง เข้าข้างตัวเองไปเรื่อย ๆ ว่าสัญญาณความผิดปกติเหล่านั้นมันไม่สำคัญ
3
การบริหารความเสี่ยงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการลงทุน
2
ตามที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนในตำนานได้กล่าวไว้
กฎข้อแรก คือ จงอย่าขาดทุน
กฎข้อสอง คือ อย่าลืมกฎข้อแรก..
3
โฆษณา