18 มิ.ย. 2023 เวลา 11:30 • หนังสือ

จุดกำเนิดไอเดียเปลี่ยนโลก

ถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่กำลังตามหานวัตกรรมหรืออยากทำให้องค์กรของคุณผลิตนวัตกรรมขึ้นมาได้นั้น อย่าพลาดหนังสือเล่ม "WHERE GOOD IDEAS COME FROM - จุดกำเนิดไอเดียเปลี่ยนโลก"
.
ทุกวันนี้โลกกลายเป็นสงครามของนวัตกรรม หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ต้องการที่จะผลิตนวัตกรรมออกมาให้ได้มากที่สุดเพราะความได้เปลี่ยนอันมหาศาล แต่นวัตกรรมก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจได้มาได้โดยง่ายและอาจจะต้องใช้เวลานานมากไปกับมัน
🔔🔔🔔
🟢วันนี้เรามาหาดูกันว่าการที่เราจะสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้นั้น มีปัจจัยใดบางที่ส่งผล ช่วย และเร่งปฏิกิริยาให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมาได้ ซึ่งมีทั้งหมด 7 ข้อด้วยกันครับ
🔹1. ความเป็นไปได้อันใกล้
คือ นวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดมานั้น เป็นการต่อยอดจากความรู้ที่พึ่งคิดค้นได้ก่อนหน้า เช่น คุณต้องรู้ว่าโลกกลมก่อนคุณถึงจะสร้างแผนที่โลกทรงกลมได้ ในทางกลับกัน เราไม่สามารถสร้างรถยนต์ไฟฟ้าได้ถ้าเรายังไม่รู้จักแบตเตอรี่ที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญได้ครับ นั้นจึงทำให้บางนวัตกรรมต้องใช้เวลาหลายสิบปีเพื่อผลิตมันออกมาครับ
🔹2. เครือข่ายที่มีสถานะเป็นของเหลว
คือ สภาพแวดล้อมแบบปิดที่เปิดโอกาสให้ผู้คนได้พบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลและทดลองอะไรใหม่ๆ ซึ่งเปลี่ยนเป็นสถานะของเหลว ถ้าคุณมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เปิดโอกาสให้คนแต่ละหน่วยงานมีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูลกันก็เปรียบเสมือนแข็ง ส่วนการที่คุณไม่มีสภาพแวดล้อมปิดเลยก็ทำให้การพบปะกันของข้อมูลสำคัญเกิดขึ้นได้ยากเปรียบดังของเหลว ซึ่งสองสถานะนี้ทำให้เกิดนวัตกรรมได้ยากมากครับ
🔹3. ลางสังหรณ์อันเชื่องช้า
หรือก็คือ นวัตกรรมหนึ่งจะเกิดขึ้นมาได้นั้นอาจจะต้องใช้เวลาให้คุณได้เชื่อมโยงข้อมูลต่างๆก่อนมันถึงจะเกิดขึ้นมาได้ ส่วนใหญ่แล้วคนที่คิดค้นนวัตกรรมไม่ได้เกิดจากการปิ้งไอเดียสุดพิเศษขึ้นมาในทันที แต่เป็นการค่อยๆสั่งสมความสนใจหรือลางสังหรณ์ของตัวเองไว้ เพื่อรอเวลาให้คุณได้ขบคิดถึงมันอย่างจริงจัง
🔹4. การค้นพบโดยบังเอิญ
มันคือการที่ความคิดของเราได้ถูกเชื่อมโยงและผสมผสานกันอย่างบังเอิญ นั้นทำให้การที่คุณได้พูดคุยกับคนนอกวงการหรือทำกิจกรรมอื่นๆกลับเป็นการเปิดโอกาสให้คุณเจอนวัตกรรมใหม่ๆแทน เมื่อรวมกับ "ลางสังหรณ์อันเชื่องช้า" ที่รอข้อมูลสำคัญมาเชื่อมโยงอยู่แล้ว ก็จะทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมาได้ครับ
🔹5. ความผิดพลาด
ความผิดพลาดไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่หรือน่าตกใจสำหรับเหล่าคนที่สร้างนวัตกรรมครับ แถมยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการต่อยอดไปสู้วิธีที่ดีกว่าและถูกต้องกว่าอีกด้วย ในบางกรณีที่ความผิดพลาดยังทำให้เกิดการค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาอยู่ก่อนหน้าเลยสักนิดครับ
🔹6. การเปลี่ยนหน้าที่ของโครงสร้าง
มันคือการค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆจากสิ่งเก่าๆของอุตสาหกรรมอื่นครับ บางครั้งนวัตกรรมใหม่ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องเป็นอะไรที่แปลกใหม่เลย แต่เป็นสิ่งเก่าๆที่เปลี่ยนหน้าที่ของมันเฉยๆเท่านั้นเอง เช่น เฮนรี่ ฟอร์ด ผู้ปฏิวัติวงการรถยนต์โดยการผลิตเฉพาะส่วนหรือการที่ทำให้การผลิตรถไม่จำเป็นต้องใช้คนอีกต่อไป ซึ่งเขาได้แนวคิดนี้มาจากกระบวนการจัดการเนื้อหมูของอุตสาหกรรมอาหารนั้นเองครับ
🔹7. รากฐาน
นวัตกรรมล้ำยุคในปัจจุบันเกิดจากการที่เรานำนวัตกรรมเก่าหลากหลายส่วนมาต่อยอดหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้น เป็นเหมือนการที่เราต่อยอดจากรากฐานเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น เกิดเป็นวัฏจักรที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆอีกมากมาย ทั้งยังเป็นการช่วยลดเวลาในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพราะการสร้างสิ่งที่แปลกใหม่เลยต้องใช้เวลาจำนวนมากกว่าการต่อยอดจากสิ่งเดิมๆครับ
หากคุณคิดว่านวัตกรรมสำคัญสำหรับคุณ ลองนำ 7 ปัจจัยนี้ไปใช้ดูนะครับ บางทีนวัตกรรมที่คุณตามหามานานอาจจะอยู่ในสวนสาธารณะใกล้บ้านคุณก็ได้นะครับ
🔔🔔🔔
เป็นหนังสือที่พูดถึงวิธีการเกิดนวัตกรรมอีกเล่มที่ไม่ได้สื่อแค่เรื่องของนวัตกรรมเพียงอย่างเดียวแต่ยังสื่อถึงเรื่องอื่นๆที่เป็นความคิดดีๆอีกด้วย แต่ที่ผมชอบเลยคือ เขาอธิบายนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากคนผ่านกระบวนการทางธรรมชาติที่น่าตื่นเต้นและสอดคล้องกันอย่างน่าตกใจ แต่จะสนุกแค่ไหนนั้น คุณต้องลองอ่านเองครับ😜
#wheregoodideascomefrom #จุดกำเนิดไอเดียเปลี่ยนโลก #อ่านแล้วลืมก็ให้คนอื่นช่วยจำ #พัฒนาตนเอง
โฆษณา