20 มิ.ย. 2023 เวลา 13:00 • ธุรกิจ

ลูกหนี้กรรมการ จัดการยังไงดี?

เพิ่งผ่านช่วงปิดงบการเงินได้ไม่นาน เจ้าของธุรกิจหลายคนคงเจอรายการแปลกๆ ในงบการเงินที่เรียกว่า “ลูกหนี้กรรมการ” หรือ “เงินให้กู้ยืมกรรมการ” และแอบสงสัยใช่มั้ยคะว่าเราไม่เคยยืมเงินบริษัทสักนิดแล้วมีรายการนี้อยู่ในบัญชีได้อย่างไร และการมีลูกหนี้กรรมการแบบนี้มีปัญหาภาษีมาเกี่ยวข้องเสียด้วยนะ
ในวันนี้ Zero to Profit จะมาเล่าให้ทุกคนฟัง ถึงที่มาที่ไป และวิธีจัดการบัญชีลูกหนี้กรรมการไม่ให้เกิดขึ้นอีกค่ะ
สาเหตุของการเกิดลูกหนี้กรรมการ ถ้าไม่ได้ให้กู้ยืมกันจริงแบบมีสัญญา อาจเกิดจาก 2 สาเหตุนี้
1. กรรมการถอนเงินออกจากบริษัทโดยนักบัญชีไม่รู้สาเหตุหรือไม่มีเอกสารค่าใช้จ่ายกำกับ แม้จะไม่ได้ทำสัญญา นักบัญชีก็ต้องบันทึกเป็นลูกหนี้กรรมการไว้เมื่อมีการโอนเงินออกค่ะ
2. บริษัทจดทะเบียนด้วยทุนชำระ 1 ล้านบาท แต่ไม่ได้มีการใส่เงินเข้าไปในบัญชีบริษัทจริง 1 ล้านบาทจริง
ลูกหนี้กรรมการ ทางภาษีต้องคิดดอกเบี้ยระหว่างกัน
การที่บริษัทให้เงินกู้ยืมแก่กรรมการนั้น ตามมาตรา 65 ทวิ (4) เรื่องค่าตอบแทน เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินตามราคาตลาด ณ วันที่ให้กู้ยืมเงิน ดังนี้
ถ้ามีเงินอยู่แล้ว ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
ถ้ากู้เงินจากที่อื่นมา ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
นั่นก็แปลว่า ในทางภาษีสรรพากรบังคับให้บริษัทคิดดอกเบี้ยกับกรรมการค่ะ แต่ทางบัญชีไม่ได้บังคับไว้ นี่จึงเป็นสาเหตุให้นักบัญชีต้องปวดหัวตอนปิดงบการเงินค่ะ
สรุปประเด็นภาษี
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นภาษีอื่นที่เกี่ยวข้องอีก เราขอสรุปออกมาให้ทุกคนตามนี้เลย
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้คิดดอกเบี้ยราคาตลาดและรวมคำนวณเป็นรายได้ดอกเบี้ยใน ภ.ง.ด.50
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากไม่ใช่การซื้อขายสินค้าหรือให้บริการทางการค้า ไม่เสีย VAT
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2 (5) ในอัตรา 3.3% แต่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
อากรแสตมป์ ผู้ให้กู้เสียภาษี ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท เสียอากรแสตมป์ 1 บาท ถ้าคำนวณค่าอากรแล้วเกิน 10,000 บาท ให้เสียอากรที่ 10,000 บาท
ไม่อยากมีลูกหนี้กรรมการ ต้องทำอย่างไร
1. ทุกครั้งที่ถอนเงินต้องมีเอกสารประกอบ เช่น อนุมัติเบิกเงินล่วงหน้า/มีเอกสารเคลียร์ยอดเงินเบิกล่วงหน้าเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย โดยแนบกับใบเสร็จรับเงินเป็นประจำทุกเดือน
2. บันทึกตัวเลขทางบัญชีให้สอดคล้องกับเอกสารจดทะเบียน – เราแนะนำให้จ่ายชำระค่าทุนจดทะเบียนตามจริง หรือก่อนจดทะเบียนบริษัทควรระบุยอดตามที่ชำระจริงเท่านั้น
เห็นมั้ยคะว่า ทางที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ คือ การทำเอกสารรับจ่ายให้ครบถ้วนทุกครั้งที่เกิดรายการซึ่งช่วยลดการเกิด ลูกหนี้กรรมการได้ สำหรับเจ้าของธุรกิจคนไหนที่กำลังงงว่าตัวเองไปเป็นหนี้บริษัทเมื่อไร แนะนำให้รีบแก้ไขโดยด่วน อย่าปล่อยให้ปัญหาสะสมเป็นดินพอกหากหมู จนไม่มีทางออกนอกจากจ่ายภาษีแบบไม่เต็มใจนะคะ
ทำบัญชีตามจริง กำจัดรายการลูกหนี้กรรมการออกจากงบการเงิน ติดต่อ
Line: @zerotoprofit หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y
ติดตาม Zero to Profit ได้ที่
โฆษณา