Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชีวิตติดโต๊ะ
•
ติดตาม
21 มิ.ย. 2023 เวลา 13:12 • การศึกษา
ความเป็นมาของเครื่องแบบนักเรียนเตรียมฯ
ทำไม #ชุดนักเรียน ของโรงเรียน #เตรียมอุดมศึกษา จึงไม่มีชื่อโรงเรียน เลขประจำตัว และชื่อนักเรียนปักติดอยู่บนเสื้อ ?
ช่วงปี 2516 กรมสามัญศึกษาได้ออกระเบียบบังคับให้ทุกโรงเรียนปฏิบัติเหมือนกันหมด คือให้นักเรียนทุกคนต้องปักชื่อย่อของโรงเรียน และชื่อของตนเองหรือเลขประจำตัวบนเสื้อ เพื่อจะทราบได้ว่า เรียนที่ไหน ? และเมื่อทำผิดแล้ว จะได้ตามตัวได้ถูกคนถูกตัว
แต่นักเรียนโรงเรียนเตรียมฯ ไม่ต้อง เพราะ ผอ. ขณะนั้น เข้าชี้แจงกับทางกระทรวงว่า นักเรียนของโรงเรียนเตรียมฯ ดี และเรียบร้อยอยู่ในระเบียบทุกคนไม่จำเป็นต้อง มีชื่อโรงเรียนหรือชื่อนักเรียนติดที่อกเสื้อ
อธิบดีฯ ก็ถามกลับมาทันทีว่า "แล้วคุณหญิงจะเอาอะไรมาเป็นหลักประกัน"
ผอ. ตอบว่า "โต๊ะกับเก้าอี้ตัวหนึ่ง"
อธิบดี ถึงกับอึ้ง
แล้วโต๊ะกับเก้าอี้ 1 ตัวนั้นสำคัญอย่างไร
เป็น โต๊ะ และ เก้าอี้ ของผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในขณะนั้น
คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู
นับจากวันนั้นมาถึงวันนี้ ด้วยเกียรติของ ตอ. จึงเป็นโรงเรียนเดียวในประเทศไทย ที่นักเรียนไม่ต้องปักชื่อของโรงเรียน หรือชื่อของตนเองไว้ที่อกเสื้อ โดยมีคำสั่งจากผู้อำนวยการ อาจารย์คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู
ว่านักเรียนเตรียมฯ ทุกคนจะต้องติดตราสัญลักษณ์พระเกี้ยวน้อยที่อกเสื้อ หากใครถอดพระเกี้ยวออก จะถูกลงโทษ
คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู กล่าวว่า "นักเรียนเตรียมฯ แค่เห็นข้างหลังก็รู้ว่าเป็นนักเรียนเตรียมฯ".
(บทความข้างต้นนี้ คัดลอกจากเพจ "บูรพาไม่แพ้")
ขอเล่าเรื่องเพิ่มเติม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท ที่ตั้งอยู่ติดกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมัยคุณหญิงบุญเลื่อนเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน เคยเผชิญความเสี่ยง จากความรู้สึกไม่ปลอดภัย ที่เกิดจากความเป็นอริต่อกันของ นักเรียนช่างกลปทุมวัน กับนักเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย(ชื่อและสถานะเดิมที่ยังเป็นวิทยาลัยอาชีวะในสมัยนั้น)
นักเรียนทั้งสองโรงเรียนนี้ มักยกพวกตีกันบ่อยๆ เด็กนักเรียนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งเด็กอุเทน เด็กปทุมวัน รวมทั้งโรงเรียนอื่นๆในย่านนี้ ที่เป็นเด็กดี ต่างเจอลูกหลง ได้รับบาดเจ็บจากการถูกตีผิดคนไปหลายคน
โรงเรียนเตรียมฯ ซึ่งอยู่ใกล้กับอุเทนถวาย ถัดไปก็เป็นช่างกลปทุมวัน กลับอยู่รอดปลอดภัย ไม่เคยถูกตี แม้แต่การถูกตีผิดคน
นักเรียนเตรียมฯ มีดีอย่างไร? อาจเป็นเพราะ เครื่องแบบนักเรียน และ บุคลิก ของนักเรียนเตรียม ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ แตกต่างจากนักเรียนช่างกลชัดเจน
อีกสาเหตุหนึ่ง มีการเล่ากันในหมู่นักเรียนที่ไปได้ยินเด็กช่างกลคุยกันว่า…
"ตีหัวเด็กเตรียม ตีหัวหมาดีกว่า"
คำพูดนี้ตีความได้ 2 ความหมายคือ เด็กช่างกลรักและหยิ่งในศักดิ์ศรีของตัวเอง ไม่ยอมลดตัวลงไปทำในสิ่งที่เสื่อมเสียเกียรติ ด้วยการตีหัวเด็กนักเรียนเตรียมฯ
อีกความหมาย คือคำพูดดูถูก ว่า เด็กเตรียมอ่อนแอ ขี้ขลาด กว่าเด็กช่างกล
จะมีความหมายทางใดก็ตาม ก็มีผลทำให้นักเรียนเตรียม อยู่รอดปลอดภัย
แต่วันนี้ นักเรียนเตรียมฯพัฒนาการ กลับรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย ที่เกิดจากเด็กหยก ผู้แหกกฎโรงเรียนเพียงคนเดียว
แม้กระทั่งครู และผู้บริหารโรงเรียน ก็รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย และจะรู้สึกมากขึ้น ถ้ายังจัดการปัญหานี้ไม่ได้ อาจทำให้เด็กนักเรียนคนอื่น เห็นการกระทำของเด็กหยกจนเคยชิน จะทำตามอย่างบ้าง เริ่มจากเล็กๆ ค่อยๆขยายใหญ่ขึ้น กว่าจะรู้สึกตัว ก็อาจเกิดกระบวนการนักเรียน 3 นิ้วขึ้นในโรงเรียนแล้ว
สุชัย ดารา
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย