22 มิ.ย. 2023 เวลา 07:42 • ไลฟ์สไตล์

Profession's quote: Deborah Anna Luepnitz (The Porcupine Dilemma)

โชเปนฮาวเออร์ (Schopenhauer) นักปรัชญาชาวเยอรมัน เล่านิทานที่รู้จักกันดีในเรื่องของ "สภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของเม่น" (the porcupine dilemma) ซึ่งกลายเป็นเรื่องราวที่ถูกนำมาเปรียบเปรยธรรมชาติของความผูกพันใกล้ชิดในมุมมองจิตวิเคราะห์ และตั้งแต่แรกเริ่มที่ถูกอ้างอิงถึงก็โดย Sigmund Freud เช่นกัน
.
"ฝูงเม่นกำลังขยับเขยื้อนตัวไปมาท่ามกลางวันที่อากาศหนาว เพื่อหลีกหนีจากความหนาวเหน็บ เหล่าสัตว์ตัวน้อยต่างขยับเข้าใกล้ชิดกันมากขึ้น เมื่อพวกมันใกล้ชิดกันมากพอจะเบียดเสียด ช่างเป็นเรื่องช่วยไม่ได้ ที่พวกมันจะเริ่มทิ่มแทงกันเองด้วยหนามของพวกมัน
และเพื่อหยุดยั้งความเจ็บปวด พวกมันกระจายตัวออก สูญเสียประโยชน์ที่ได้จากการเป็นกลุ่มก้อน และเริ่มตัวสั่นเทิ้มอีกครั้ง สิ่งนี้ทำให้พวกมันย้อนกลับมามองหากันและกัน และเกิดวงจรเดิมซ้ำ พวกมันต้องติดแหง่กอยู่กับการมองหาระยะห่างที่สะดวกสบายระหว่างความพัวพันยุ่งเหยิงและการหนาวตาย"
.
เพื่อดำรงอยู่กับธรรมชาติของความใกล้ชิด เช่นเดียวกับการแก่ชราและความตาย การ"ยอมรับ" ความรักและความเจ็บปวดจากความรัก (ความรักที่เกิดขึ้นพร้อมความเกลียดชัง) จึงเป็นสิ่งที่ควรตามหา เพื่อสร้างพื้นที่ของความรักไว้สำหรับความเกลียดชัง
ปล. ความหมายที่ไม่ซับซ้อนจนเกิดไปของโพสต์นี้คือการลดอุดมคติของชีวิตในด้านต่างๆ ได้แก่ ความคงทนถาวรของร่างกาย (ขัดแย้งกับความจริงของความแก่ชรา) ความเป็นนิรันดร์ของชีวิตอมตะ (ขัดแย้งกับความจริงของความตาย) และ ความโรแมนติกของความรัก (ขัดแย้งกับความรักที่ทั้งสุขและทุกข์ในเวลาเดียวกัน)
ปล2. การทำจิตบำบัด/ปรึกษาทางจิตวิทยา ชี้ให้เห็นความไม่ปกติของธรรมชาติและสถานการณ์ที่ควบคุมได้ และแยกมันออกมาเพื่อไม่ให้จมอยู่กับการมองความผิดปกติในฐานะสิ่งที่เป็นปกติ
โฆษณา